[x] ปิดหน้าต่างนี้
KMOBECMAXSITE 1.2.1
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
เรื่อง : การดำเนินงานส่งเสริมการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545


TOP HIT
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา

- การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้าง คุณธรรม จริยธรรม มีความสำนึกในความเป็นชาติไทย ของ สพป.ลำพูน เขต 2 [ 1779 ]
- รายงานการดำเนินงานคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 [ 1409 ]
- การดำเนินงานส่งเสริมการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 [ 1244 ]
- การพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการเรียนร่วม ส่วนที่ 4 [ 884 ]
- “สัปดาห์ประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน” (Classroom Meeting) [ 883 ]

 1. ชื่อเรื่อง  การดำเนินงานส่งเสริมการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545

    ของนางชลลดา  สะอาดวงค์  ตำแหน่งนักวิชาการศึกษาชำนาญการ  ตำแหน่งเลขที่ อ 43

    เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ  ตำแหน่งเลขที่ อ 43

2. ระยะเวลาที่ดำเนินการ  ปีงบประมาณ 2558 (1 ตุลาคม 2557 – 30 กันยายน 2558) และ
                                  ตลอดปีการศึกษา 2558 (16 พฤษภาคม 2558 - 15 พฤษภาคม 2559)

3. ความรู้ทางวิชาการหรือแนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินการ

3.1  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช  2557

3.2  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545

3.3  พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545

3.4  นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล

3.5  นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ

3.6  นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3.7  แนวทางการดำเนินงานรับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3.8  นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน  เขต 2

3.9  อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

3.10  ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พุทธศักราช 2557  มาตรา 49   กำหนดว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการได้รับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 กำหนดว่า “ให้มีการศึกษาภาคบังคับ จำนวนเก้าปี  โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุอย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ...” และมาตรา 11 กำหนดว่า “บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูและได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา 17 และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง...”  ประกอบกับมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545  โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2546  ได้กำหนดให้ผู้ปกครองส่งเด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหกเข้าเรียนในสถานศึกษา เว้นแต่เด็กจะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ  การศึกษาภาคบังคับมีความสำคัญยิ่งต่อการวางรากฐานชีวิตของบุคคลให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

4.  สรุปสาระและขั้นตอนการดำเนินงาน

              การจัดการศึกษาภาคบังคับเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เป็นภารกิจหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2  ที่จะต้องจัดและส่งเสริมให้ดำเนินงานได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการจัดการศึกษาภาคบังคับเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสมดังเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว  และเพื่อให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545  ตลอดจนนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558  และเพื่อให้การดำเนินงานการรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน  เขต เป็นไปด้วยความเรียบร้อยสอดคล้องตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน  เขต 2  โดยกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา  กลุ่มงานส่งเสริมคุณภาพการศึกษา จึงได้มีการวางแผนที่จะมีการดำเนินงานในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้เข้าเรียนและเรียนต่อเนื่องจนจบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี เพื่อความร่วมมือในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเด็กที่ยังไม่ได้เข้าเรียน  หรือเด็กที่ออกกลางคันไปแล้วได้เข้าเรียน  รวมทั้งป้องกันไม่ให้เด็กที่เรียนอยู่แล้วมีแนวโน้มว่าจะออกกลางคัน  โดยได้ดำเนินการ  ดังนี้

1.   รณรงค์ให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาภาคบังคับเพิ่มขึ้น
          2.   สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียน  เรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ
          3.   ส่งเสริมการจัดการศึกษารูปแบบที่เหมาะสม
          4.   ส่งเสริมและช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสและเด็กพิการได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาภาคบังคับ

5.   จัดทำและดำเนินงานตามโครงการเพื่อสนองต่อนโยบายการจัดการศึกษา ดังนี้

      5.1 โครงการส่งเสริมและพัฒนาการรับนักเรียน

      5.2 โครงการพัฒนาเครือข่ายการติดตามเด็กเข้าเรียนตาม พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ  
                      พ.ศ.2545

      5.3 โครงการส่งเสริมและพัฒนาเด็กพิการเรียนร่วม

ขั้นตอนการดำเนินการ
         1. จัดทำข้อมูลสารสนเทศ  จำนวนประชากรวัยการศึกษาภาคบังคับ โดยการสำรวจประชากรวัยเรียน เข้าเรียนชั้น อนุบาล 1  ประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1
           2. ดำเนินการเตรียมการรับนักเรียนและการรับนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2558 ดังนี
           2.1 ประกาศส่งเด็กเข้าเรียน(ภายในเดือนเมษายน ก่อน 1 ปีการศึกษาที่เด็กจะเข้าเรียน) การจัดทำแผนการรับนักเรียน (ภายในเดือนพฤศจิกายน 2557)

  2.2  การจัดทำเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนในสังกัด  (ภายในเดือนธันวาคม 2557)

2.3  ประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน (ภายในเดือนธันวาคม 2557 – มกราคม 2558)

2.4  ประกาศคณะกรรมการรับนักเรียนเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ประกาศจัดตั้งศูนย์ประสานงานการรับนักเรียน สำนักงานเขต   พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2  (ภายในเดือนธันวาคม 2557 – มกราคม 2558)

2.5  แจ้งนโยบาย/แนวทางปฏิบัติการรับนักเรียน ให้โรงเรียนในสังกัด (ภายในเดือนมกราคม 2558)

2.6   สถานศึกษาดำเนินการรับนักเรียน (กุมภาพันธ์ มีนาคม) ตามปฏิทินการรับนักเรียน

2.7   สำรวจความพึงพอใจในการรับนักเรียนและรายงานผลความพึงพอใจการรับนักเรียนในเชิงสำรวจ (เดือนมีนาคม)

2.8   ติดตามเด็กที่ยังไม่ได้เข้าเรียน  (เดือนมีนาคม เมษายน)

2.9  การระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับนักเรียนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสรุปรายงานผลการระดมความคิดเห็น ในเชิงคุณภาพ (เดือนพฤษภาคม)

  2.10 สรุปผลการรับนักเรียนและรายงานผลการรับนักเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ภายในเดือนพฤษภาคม)

          3. การดำเนินงานตามโครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
           3.1 จัดการประชุมครูผู้รับผิดชอบงานการรับนักเรียนทุกโรงเรียน ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาการับนักเรียน ประจำปี 2558 ในวันที่ 12 มีนาคม 2558  ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการรับนักเรียน การจัดทำเอกสารหลักฐานทางการศึกษา (ปพ.) และการรายงานผลการรับนักเรียน

3.2จัดประชุมการติดตามเด็กเข้าเรียนโครงการพัฒนาเครือข่ายการติดตามเด็กเข้าเรียนตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับพ.ศ.2545 ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 5 กรกฎาคม 2558  ณ  โรงเรียนในสังกัด  ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ประธานกรรมการสถานศึกษา และตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน  เพื่อรับฟังนโยบายการจัดการศึกษาและการติดตามเด็กเข้าเรียน การประสานความร่วมมือในการส่งเสริม  สนับสนุนการจัดการศึกษาในทุกพื้นที่

     3.3 การดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนพิการเรียนร่วม 

3.3.1 การอบรมครู หลักสูตรผู้ดำเนินการคัดกรองคนพิการทางการศึกษา ให้กับครูโรงเรียนต้นแบบเรียน 4 โรงเรียน ๆ ละ 4 คน รวม 1 คน  โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม จำนวน 15 โรง ๆ ละ 3 คน รวม 45 คน และโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วมทั่วไป 69 โรง ๆ ละ 1 คน รวม 69 คน รวมทั้งสิ้น 130  คน  เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการคัดกรองคนพิการทางการศึกษา ตามประเภทความพิการ
9 ประเภท การผลิตสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และการดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วม

3.3.2 การกำกับ ติดตาม ตรวจเยี่ยมโรงเรียนต้นแบบเรียนรวม และโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 2 กันยายน 2558  เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียน รับทราบปัญหา ข้อเสนอแนะ และหาแนวทางการแก้ไขร่วมกัน

3.3.3 จัดทำเอกสารรับการประเมินเข้ารับรางวัลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ส่งเสริมการจัดเรียนร่วมดีเด่น ระดับชาติ ประจำปี 2558
4.   สรุปรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ  เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือ และรายงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

5. ผู้ร่วมดำเนินงาน 

1. นางอมรา  อนุวค์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา   สัดส่วนของผลงานร้อยละ  20

6.   ส่วนของงานที่ผู้เสนอเป็นผู้ปฏิบัติ  (ร้อยละ  80)

                   6.1   จัดทำรายละเอียดโครงการ  เพื่อเสนอขออนุมัติ      ร้อยละ  20
                   6.2   จัดทำข้อมูลสารสนเทศ  จำนวนประชากรวัยเรียน วิเคราะห์ประชากรวัยเรียน ดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ 
                           พ.ศ.  2545
   ร้อยละ  20

                   6.3 ดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ ประสานงานวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา/อบรม    ร้อยละ  30
                   6.4   ประสานงาน  สรุป   ติดตามผล  รายงานผลการดำเนินงาน     ร้อยละ  10

7. ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณ/คุณภาพ)

เชิงปริมาณ     

1. ประชากรวัยเรียนที่อายุถึงเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ  ทุกคน
          2. นักเรียนจบการศึกษาภาคบังคับและเรียนต่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          3. นักเรียนที่ออกกลางคัน  เด็กตกหล่น  เด็กไม่มีที่เรียน
          4. ผู้บริหารโรงเรียน และผู้รับผิดชอบการรับนักเรียน ทุกโรงเรียนในสังกัด
          5. นักเรียนพิการเรียนร่วมทุกคน 

          เชิงคุณภาพ
           1. ประชากรวัยเรียนในเขตพื้นที่บริการได้รับสิทธิและโอกาสอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันในการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น 
                2. นักเรียนพิการเรียนร่วมได้รับการพัฒนาตามศักยภาพของตนเอง
               3. สถานศึกษาทุกแห่งดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 อย่างถูกต้องเป็นแนวทางเดียวกัน  ส่งผลให้ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545
           4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในด้านการจัดการศึกษาภาคบังคับ การรณรงค์และส่งเสริมการแก้ไขปัญหาเด็กออกกลางคัน  โดยความร่วมมือจากของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระดับหนึ่ง  เป็นที่น่าพอใจ

          5. ลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียน  และได้ให้การดูแลช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสอย่างทั่วถึง

6. สถานศึกษาทุกแห่งดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการเรียนร่วมตามมาตรฐานและ
ตัวบ่งชี้ที่กำหนด โดยครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติต่อนักเรียนพิการเรียนร่วมอย่างเสมอภาค

ผลการดำเนินงานส่งเสริมการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545  ดังต่อไปนี้

1.  ประชากรวัยเรียนในเขตพื้นที่บริการได้รับสิทธิและโอกาสอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันในการศึกษาระดับปฐมวัย
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น  ปีการศึกษา 2558 ดังนี้

1.1 ประชากรวัยเรียนในเขตพื้นที่บริการกลุ่มอายุ 4-5 ปี จำนวนทั้งหมด  1,350  คน  เข้าเรียนในระดับปฐมวัย  จำนวนทั้งหมด  1,350  

      คน คิดเป็นร้อยละ 100
          1.2 ประชากรวัยเรียนในเขตพื้นที่บริการอายุย่างเข้าปีที่ 7  จำนวนทั้งหมด 1,368 คน เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวนทั้งหมด                           1,368 คน คิดเป็นร้อยละ 100
          1.3 ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนจบตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  จำนวนทั้งหมด  1,284  คน เรียนจบ                       ภายในเวลาที่หลักสูตรกำหนด จำนวนทั้งหมด 1,284 คน คิดเป็นร้อยละ 100
           1.4 ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนจบตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  จำนวนทั้งหมด 322 คน เรียนจบภายใน                     เวลาที่หลักสูตรกำหนด จำนวนทั้งหมด 322 คน  คิดเป็นร้อยละ 100

       2. นักเรียนที่จบการศึกษาเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น  ดังนี้
                     2.1 ผู้เรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนทั้งหมด 1,284  คน เรียนต่อ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จำนวนทั้งหมด 1,284  คน
                         คิดเป็นร้อยละ
100
                    2.2 ผู้เรียนที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนทั้งหมด 322 คน เรียนต่อ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือเทียบเท่า จำนวนทั้งหมด 300 คน คิดเป็น                                ร้อยละ 93.17
                3. การส่งเสริมนักเรียนพิการและ ผู้เรียนด้อยโอกาส   
                   3.1 นักเรียนพิการและ ผู้เรียนด้อยโอกาส  จำนวนทั้งหมด  1,318 คน ได้รับการดูแลช่วยเหลือ และส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาเต็มตาม                                   ศักยภาพ จำนวนทั้งหมด 1,318 คน คิดเป็นร้อยละ  100

      4. สถานศึกษาร้อยละ 100 ดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 อย่างถูกต้องเป็นแนวทางเดียวกัน  ส่งผลให้ครู                   และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545

      5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ได้รับความร่วมมือ และการประสานงานในด้านการจัดการศึกษาภาคบังคับ การ                  รณรงค์และส่งเสริมการแก้ไขปัญหาเด็กออกกลางคัน  โดยความร่วมมือจากของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระดับหนึ่ง  เป็นที่น่าพอใจ
     6. ผู้ปกครองนักเรียนที่ได้นำนักเรียนมาสมัครเข้าเรียนในสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ประจำปีการ         ศึกษา 2558 จำนวน 89 คน  มีความพึงพอใจในการรับนักเรียนจากผลการสำรวจความความพึงพอใจการรับนักเรียน ของสำนักงานเขตพื้นที่            การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2  ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
     7. อัตราการออกกลางคันของนักเรียนลดลง ในปีการศึกษา 2556 เปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2557 ระดับประถมศึกษา ลดลงคิดเป็น
        ร้อยละ0.02  และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลดลงคิดเป็นร้อยละ 0.23  ในภาพรวมระดับการศึกษาภาคบังคับ อัตราการออกกลางคันลดลงร้อย         ละ 0.03

    8. สถานศึกษาที่จัดการเรียนร่วม ร้อยละ 100 ดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการเรียนร่วมตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนด โดยครู            และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติต่อนักเรียนพิการเรียนร่วมอย่างเสมอภาค ส่งผลให้นักเรียนพิการได้เข้าเรียนทุกคน          และได้รับการพัฒนาตามศักยภาพตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)  ร้อยละ 100
    9. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ได้รับรางวัลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งเสริมการจัดการเรียนร่วมดีเด่น
       เหรียญทอง ระดับชาติ ประจำปี 2558

8.  การนำไปใช้ประโยชน์

                  งานส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กได้เข้าเรียนและเรียนต่อเนื่องจนจบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี  นั้น เป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน  โดยเริ่มตั้งแต่การประสานการสำรวจและรวบรวมข้อมูลประชากรวัยเรียน  การจัดทำสำมะโนนักเรียน  การสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครอง  ชุมชน  การกำหนดวิธีการและแนวทางการดำเนินการจัดการศึกษา  รวมถึงการประสานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานจัดทำได้ครอบคลุมตามที่กฎหมายกำหนดได้  จากการดำเนินงานดังกล่าวทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2  ได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานในครั้งนี้  ดังนี้

                1.  เด็กในวัยการศึกษาภาคบังคับได้เข้าเรียนและเรียนต่อเนื่องจนจบการศึกษาภาคบังคับ  สมดังเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545

                2.  ลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียนในสังกัด

                3.  สถานศึกษาในสังกัดได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนและเรียนต่อเนื่องจนจบการศึกษาภาคบังคับ 

                4.  สถานศึกษาในสังกัดได้รับการสนับสนุน  ส่งเสริม  และความร่วมมือในการให้เด็กได้เข้าเรียนและเรียนต่อเนื่องจนจบการศึกษาภาคบังคับ 

                5. นักเรียน เรียนจบการศึกษาภาคบังคับเรียนตามหลักสูตรที่กำหนดและเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น

      6. ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545

      7. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้รับทราบปัญหาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา

9.  ความยุ่งยากในการดำเนินการ / ปัญหา / อุปสรรค

      1. การดำเนินงานส่งเสริมการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545  ผู้ปฏิบัติงานต้องศึกษา กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ แนวทางการดำเนินงาน รวมถึงข้อมูลพื้นฐาน เทคนิคการประสานงาน เพื่อให้เกิดทักษะ ความรู้ ความชำนาญในงานที่ต้องดำเนินการ เพื่อวิเคราะห์จัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงาน จัดทำเอกสารประกอบการประชุม/อบรมครู ตามโครงการฯ อีกทั้งต้องค้นคว้า พัฒนางานเพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนให้คำปรึกษา ถ่ายทอดความรู้ เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติ และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินการจัดการศึกษา    

      2. การดำเนินงานส่งเสริมการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 ในด้านการส่งเสริมการจัดการศึกษา  มีความยุ่งยากในเรื่องจำนวนนักเรียนที่มีสถิติการออกกลางคันส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชาวเผ่ากระเหรี่ยง  ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอทุ่งหัวช้างและอำเภอลี้  ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่
ไม่เข้าใจ  ไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาประกอบกับมีฐานะยากจน ผู้ปกครองต้องการมีรายได้เพิ่มโดยใช้แรงงานเด็ก  อีกทั้งการย้ายถิ่นที่อยู่บ่อยของผู้ปกครอง ทำให้เด็กขาดเรียน และระบบการติดตาม  ดูแลช่วยเหลือของสถานศึกษายังไม่เป็นระบบและปฏิบัติได้อย่างชัดเจน  ทำให้การให้ความร่วมมือในส่วนของผู้ปกครองค่อนข้างจะไม่ได้รับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินงานส่งเสริมสนับสนุนการให้เด็กได้เรียนต่อและจบการศึกษาภาคบังคับดังกล่าว

10.  ข้อเสนอแนะ

          1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  ควรส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนและส่งเสริมให้สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการ  การติดตามนักเรียนที่ออกกลางคันให้ความดูแล  ช่วยเหลือและประชุมชี้แจงทำความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองและควรมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน  องค์กรเพื่อสร้างความเข้มแข็ง  ส่งเสริมให้ครอบครัวมีความรู้  ทักษะ  ประสบการณ์  สร้างรายได้เพิ่มขึ้น
             2. การประสานความร่วมมือและส่งต่อนักเรียนระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาต่อด้านอาชีพ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

               ขอรับรองว่าผลงานดังกล่าวข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ

     

                 นางชลลดา  สะอาดวงค์

                      ผู้เสนอผลงาน

           30  ธันวาคม  2558

 

 

          

| ดาวน์โหลดเอกสาร | เข้าชม : 1243 |
ผู้เขียน : ชลลดา สะอาดวงค์
หน่วยงาน : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
พุธ ที่ 30 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2558
5 stars เฉลี่ย : 5 จาก 6 ครั้ง.


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้