[x] ปิดหน้าต่างนี้
KMOBECMAXSITE 1.2.1
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
เรื่อง : รายงานการดำเนินงานคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2


TOP HIT
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา

- การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้าง คุณธรรม จริยธรรม มีความสำนึกในความเป็นชาติไทย ของ สพป.ลำพูน เขต 2 [ 1779 ]
- รายงานการดำเนินงานคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 [ 1410 ]
- การดำเนินงานส่งเสริมการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 [ 1245 ]
- การพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการเรียนร่วม ส่วนที่ 4 [ 886 ]
- “สัปดาห์ประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน” (Classroom Meeting) [ 883 ]

  1.ชื่อเรื่อง  การดำเนินงานคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

              ลำพูน เขต 2

2. ระยะเวลาที่ดำเนินการ  1 ตุลาคม 2555 – 30 กันยายน 2556

3. ความรู้ทางวิชาการหรือแนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินการ

๓.๑ ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ

แนวทางการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ

     รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ เพื่อให้ส่วนราชการมีการปรับปรุงและยกระดับคุณภาพการบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจึงต้องมีการดำเนินงานตามแผนงานโครงการที่สอดรับกับนโยบายที่สำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล ยุทธศาสตร์และเป้าหมายของประเทศไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตาม เป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด ดังนี้

     พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 3/1    บัญญัติว่า “การบริหารราชการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น    การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชนมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน   การปรับปรุงคุณภาพการให้บริการจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้การบริหารราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองตามความต้องการของประชาชน ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติราชการ การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติราชการ    ทั้งนี้ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ

     พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 12 กำหนดว่าเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)  อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรี    เพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือโดยวิธีการอื่นใด เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ และมาตรา 45   กำหนดให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของ       ส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ ก.พ.ร. กำหนด

     ๓.๒ แนวความคิดในการติดต่อ ประสานงาน และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

     การประสานงาน คือ การที่บุคคลหรือหน่วยงานในองค์กร ทำงานร่วมกับบุคคลและหน่วยงานอื่นเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน มีลักษณะเป็นกระบวนการที่ต้องกระทำต่อเนื่องสอดคล้องกันไปเพื่อให้งานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

     ในทางราชการได้มีนักวิชาการให้ความหมายไว้ว่า การประสานงาน หมายถึง "การจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ไม่ทำให้งานซ้อนกัน ขัดแย้งกัน หรือเหลื่อมล้ำกัน ทั้งนี้เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่น สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนโยบายขององค์การนั้นอย่างสมานฉันท์ และมีประสิทธิภาพ"

     ส่วนทางธุรกิจนิยมที่จะให้ความหมายว่า   การประสานงาน หมายถึง " การติดต่อสื่อสารให้เกิดความคิดความเข้าใจตรงกันในการร่วมมือปฏิบัติงานให้สอดคล้องทั้งเวลา และกิจกรรมที่จะต้องกระทำให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างสมานฉันท์เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่เกิดการทำงานซ้ำซ้อน ขัดแย้งหรือเหลี่อมล้ำกัน"

                แนวความคิด

               สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนให้ประชากรวัยเรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และมีความพร้อมในการประกอบอาชีพ สามารถเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก  ในการขับเคลื่อนและบริหารจัดการศึกษาอันเป็นภารกิจเพื่อไปสู่เป้าหมายดังกล่าวนั้น จำต้องอาศัยการปฏิบัติตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาว่ามีศักยภาพในการให้บริการแก่ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องอย่างมีคุณภาพ ตรงตามเป้าหมายที่กำหนด สามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์และผลผลิตของงานโดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย   จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงการมอบหมายงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการให้เหมาะสม สอดคล้องกับภารกิจ อำนาจหน้าที่ การแบ่งงาน และการจัดกำลังคนให้เหมาะกับงาน

               ข้าพเจ้าผู้ปฏิบัติงานคำรับรองการปฏิบัติราชการ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2  มีแนวความคิดสำคัญในการปฏิบัติตามคำรับรองการปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายความรวมถึงประสิทธิผล และประหยัดด้วย ดังนี้

                1. ประสิทธิภาพ เป็นการใช้ทรัพยากรในการดำเนินการใดๆ ก็ตามโดยมีสิ่งมุ่งหวังถึงผลสำเร็จ ซึ่งได้มาโดยการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดและการดำเนินการเป็นไปอย่างประหยัด มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

                   1.1 การบริหารผู้ปฏิบัติงานจำนวนมากต้องบริหารเป็นทีม (ทีมผู้บริหาร) ซึ่งมีผู้บริหาร   (รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา,ผู้อำนวยการกลุ่ม/หน่วย) แต่ละคนจะช่วยกำกับ ติดตาม     ดูแลงานตามตัวชี้วัดในแต่ละมิติ และกลยุทธ์

                   1.2 ผู้ปฏิบัติงานต้องเรียนรู้งานที่ได้รับมอบหมาย การรับงานใหม่มีพี่เลี้ยงคอยดูแล การรับ  ช่วงงานมีการส่งมอบงานเป็นเอกสาร และการทำความเข้าใจระหว่างผู้ส่งมอบและผู้รับมอบ และผู้ปฏิบัติงานต้องเรียนรู้ให้ลึกซึ้งในงานของตน ปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน

                   1.3 การร่วมคิด ร่วมกันทำ และร่วมกันประเมินผล ต้องทำให้เป็นวงจรที่หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา เพื่อไปสู่ความสำเร็จและความภาคภูมิใจร่วมกัน

                2. ประสิทธิผล  หมายถึง ผลสำเร็จของงานเป็นไปตามความมุ่งหวังที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย มุ่งเน้นไปที่การพิจารณาจุดสิ้นสุด คือผลสัมฤทธิ์หรือผลผลิตของการดำเนินงานว่าเป็นไปตามที่ตั้งไว้

                3. ความประหยัด หมายความรวมถึง การใช้เวลาอย่างเต็มที่ การปฏิบัติงานอย่างเต็มใจ เต็มเวลา และเต็มความรู้ความสามารถ  ใช้ต้นทุน (Cost) และทรัพยากร(Resources) ในการปฏิบัติงานน้อยแต่ได้ผลลัพธ์ (Outcome) ที่มากกว่า

 

4. สรุปสาระและขั้นตอนการดำเนินการ

               การดำเนินงานคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีตามกรอบแนวทางการประเมิน  ตาม   ตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ และตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการ จนสามารถประเมินผลและรายงานผลตามระบบ/วิธีการที่กำหนดได้อย่างครบถ้วนตรงประเด็น โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

1)      ศึกษา ระเบียบ กฎหมาย แนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์แนวทางและ

กรอบการประเมินการปฏิบัติราชการประจำปี และข้อมูลปีฐาน (based lines) และจัดทำคู่มือการดำเนินงานระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา

2)      จัดทำแผนงานโครงการ กิจกรรมการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ

ประจำปีงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2   ในแผนปฏิบัติราชการประจำปี

3)      จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการให้บุคลากร

ในหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด  เพื่อสื่อสาร สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความสำคัญของคำรับรอง  การปฏิบัติราชการที่ส่งผลต่อการปฏิบัติราชการของบุคลากรทุกคนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมถึงแนวทางการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ  การจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัด (KPI’s Template) และแนวทางการบรรลุเป้าหมายสำหรับตัวชี้วัดที่รับผิดชอบ 

    4)  วิเคราะห์รายละเอียดตัวชี้วัด จัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน และประสานงานผู้รับผิดชอบในรายละเอียดเนื้องานที่เกี่ยวข้อง และขอรายชื่อผู้กำกับดูแลตัวชี้วัดและผู้เก็บข้อมูลในแต่ละตัวชี้วัด และเสนอแต่งตั้งเป็นคณะทำงาน แล้วแจ้งผู้ที่ได้รับแต่งตั้งตามคำสั่งได้รับทราบ เพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน รายงานผลการดำเนินงานตามปฏิทินปฏิบัติงาน

                   5)  การเสนอข้อมูลภารกิจงานตามระยะเวลาปฏิทินปฏิบัติงาน ให้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  ผู้อำนวยการกลุ่ม/หน่วย เพื่อให้คำแนะนำ กำกับ ติดตาม  และเร่งรัดผู้รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูลรายงานผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด  และเพื่อให้สามารถปรับปรุง พัฒนาการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   6)  พัฒนาระบบการรายงานผลการปฏิบัติราชการตามตัวชี้วัดของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต  โดยนำนวัตกรรมที่กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้พัฒนาขึ้นมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการของเขตพื้นที่การศึกษา AMSS (Area Management Support System)

                   ๗)  ศึกษา วิเคราะห์รายละเอียดตัวชี้วัดต่างๆ เป็นประจำ แล้วจัดทำรายละเอียดประเด็นการเก็บข้อมูล เอกสารหลักฐาน แต่ละตัวชี้วัด ตามกรอบการประเมิน (รอบ 6 เดือน  9 เดือน  และ 12 เดือน)  และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของตัวชี้วัดจากระบบการรายงานผล KRS และ ARS หรือได้รับแจ้งจากกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   แจ้งผู้รับผิดชอบตามตัวชี้วัดต่างๆ จัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน ครบตามประเด็น แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาดำเนินการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลให้ตรงตามประเด็นการตรวจสอบและรับรองข้อมูล  แล้วรายงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   ๘) สรุปและรายงานผลการปฏิบัติราชการประจำปี  โดยแสดงรายละเอียดกระบวนการดำเนินงานสู่ความสำเร็จพร้อมมีเอกสารอ้างอิงแนบทุกตัวชี้วัดอย่างชัดเจน รวมทั้งระบุปัญหาอุปสรรคใน    การดำเนินงานเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาการปฏิบัติราชการต่อไป

5. ผู้ร่วมดำเนินงาน  -ไม่มี-

6. สัดส่วนของผลงานที่ผู้เสนอเป็นผู้ปฏิบัติ

                ได้ดำเนินการเองทั้งหมด 100%

7. ผลสำเร็จของงาน

                เชิงปริมาณ

                1)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 และสถานศึกษาทุกแห่ง มีคู่มือในการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556

                2)  ผู้บริหารและบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2   จำนวน 81 คน   ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงกรอบแนวทางการดำเนินงานคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ เมื่อวันที่ 9 เมษายน ๒๕๕๖

                3)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2  มีเจ้าภาพหลักและเจ้าภาพรองในการประสาน  กำกับ  ติดตามประเมิน  และรายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการตาม        คำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี และตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี

                ๔)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2  มีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการปฏิบัติราชการ ได้แก่ ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการของเขตพื้นที่การศึกษา AMSS (Area Management Support System)

                5)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต ๒ รายงานผลการปฏิบัติราชการ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (KRS) ครบทั้ง  18 ตัวชี้วัด  และตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการ(ARS) ครบทั้ง 25 ตัวชี้วัด

                เชิงคุณภาพ

                1)  ผู้บริหาร บุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2  และสถานศึกษาทุกแห่งในสังกัดมีความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการปฏิบัติราชการประจำปีร่วมกัน

                ๒)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2  และสถานศึกษาทุกแห่งในสังกัดมีการปรับปรุงกระบวนการ ลดขั้นตอนในการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ โดยการใช้ระบบAMSS เพื่อลดกระบวนการ ขั้นตอนในการรายงานผล  ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงาน(กระดาษ) บุคลากร และงบประมาณ อย่างคุ้มค่า

                ๓)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2  สามารถประเมินผลและรายงานผล การดำเนินงาน ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ผ่านระบบKRS  (KPI Report System) และผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการ   ผ่านระบบ ARS (Action Plan Report System)   ได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด (รอบ 6 เดือน  9 เดือน  และ 12 เดือน)  ได้อย่างครบถ้วน ตรงประเด็น

 

8. ประโยชน์และคุณค่าของการดำเนินงานคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2

               สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 มั่นใจในศักยภาพ และความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานว่าสามารถดำเนินการไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย และสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานให้คุ้มค่าตามภารกิจ 

9. ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่ได้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรหรือกลุ่มเป้าหมาย

               สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2  ได้บริหารจัดการตามภารกิจ   และขับเคลื่อนการปฏิบัติราชการประจำปี และรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองปฏิบัติราชการประจำปี ตามตัวชี้วัดตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด มีผลการดำเนินการ ดังนี้

               ในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 สามารถรายงานผลการปฏิบัติราชการ มีผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการและตามแผนการปฏิบัติราชการ รอบ 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน ครบถ้วนทุกตัวชี้วัดมีผลค่าคะแนน ดังนี้

                   1) ตามคำรับรองปฏิบัติราชการ(KRS)    ค่าคะแนนที่ได้ 4.58995  (ร้อยละ 91.79)

                   2) ตามแผนปฏิบัติราชการ (ARS)         ค่าคะแนนที่ได้ 4.38963  (ร้อยละ 87.79)

10.ความยุ่งยากในการดำเนินการ/ปัญหา/อุปสรรค

                จากการดำเนินการคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานและกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการที่ชัดเจน ทั้งตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ(KRS) และตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการ(ARS)  ผู้ปฏิบัติงานต้องศึกษา กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ แนวทางการดำเนินงาน รวมถึงข้อมูลพื้นฐาน เทคนิคการประสานงาน เพื่อให้เกิดทักษะ ความรู้ ความชำนาญในงานที่ต้องดำเนินการ          ดังรายละเอียดต่อไปนี้

                ๑) ผู้ปฏิบัติงาน ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน เพื่อวิเคราะห์จัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2เพื่อให้บุคลากร คณะทำงาน สถานศึกษาในสังกัดนำไปดำเนินการขับเคลื่อนตามตัวชี้วัดที่กำหนด

                ๒) ผู้ปฏิบัติงาน ต้องศึกษา ค้นคว้า เอกสารวิชาการ นวัตกรรมเพื่อนำมาพัฒนางานกำกับ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชากร ของสถานศึกษา อาทิ การศึกษาและประยุกต์ใช้ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการของเขตพื้นที่การศึกษา AMSS (Area Management Support System) โดยการทดลอง ทดสอบระบบ จนเกิดความพร้อมในการปฏิบัติงาน  รวมทั้งพัฒนาเอกสารวิชาการคู่มือการใช้นวัตกรรมสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

                3) ผู้ปฏิบัติงานต้องให้บริการ ให้คำปรึกษา แนะนำ ถ่ายทอดความรู้ เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ แนวทางการดำเนินงาน ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องละเอียดการประเมินผลตามตัวชี้วัดต่างๆ เพื่อให้ผู้รับผิดชอบ คณะทำงาน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ตรงกับกรอบการประเมินที่กำหนดไว้ และเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่างๆ ที่ขับเคลื่อนการดำเนินการตามตัวชี้วัด เพื่อให้ข้อมูลวิชาการ ประกอบการพิจารณา และตัดสินใจ

                4) ผู้ปฏิบัติงานต้องมีการประสานงานกับคณะทำงาน ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด สถานศึกษา โดยมีบทบาทในการให้ความเห็น ข้อคิด คำแนะนำ เจรจา โน้นน้าว เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดรอบระยะเวลาการรายงานผลที่กำหนด และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของการจัดเก็บข้อมูลรายตัวชี้วัด  มีการแจ้งกรอบการประเมินใหม่จากกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบระบบการรายงานอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน  จะต้องประสานงานกับผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดอย่างรวดเร็ว เพื่อให้กระบวนการในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานสมบูรณ์ ครบถ้วน

                ๕) การรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ผู้ปฏิบัติงานต้องตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อมูลว่าเป็นไปตามกรอบการประเมินที่กำหนด และต้องวิเคราะห์ สรุปค่าคะแนนจากการประเมินตนเอง โดยศึกษาเกณฑ์การประเมิน เปรียบเทียบ และสรุปประเด็นปัญหาที่จะต้องดำเนินการปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายค่าคะแนนในระดับ ๕ เต็ม

 

ข้อเสนอแนะ

                   การพัฒนางานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ  นอกจากการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีจิตสำนึกแล้ว การกำหนดเทคนิคการพัฒนาให้กับกลุ่มเป้าหมายมีความสำคัญและเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวด  โดยการเสริมสร้างสมรรถนะหลักที่เหมาะสม

                   1.  การคิดวิเคราะห์

                   2.  การวางแผนเชิงกลยุทธ์

                   3.  การดำเนินการเชิงรุก

                   4.  ความร่วมแรงร่วมใจ

1)      การประสานงานระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับผู้รับผิดชอบตามตัวชี้วัด  ในการรายงานผล      

การดำเนินงาน ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด (รอบ 6 เดือน  9 เดือน  และ 12 เดือน)  หากมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของตัวชี้วัด หรือเปลี่ยนเป้าหมายการดำเนินงานจัดเก็บข้อมูล จากกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรแจ้งประสานงานโดยเร็ว

2)       ควรมีการสนับสนุนนำนวัตกรรมที่เอื้อต่อการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการรายงานผล           

การปฏิบัติราชการของโรงเรียนในสังกัด เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ในการประมวลผลข้อมูล

 

 

                                                 นางวาสนา  ภูผา

                                                  (ผู้เสนอผลงาน)

 

 

 

ผู้เขียน : วาสนา ภูผา
หน่วยงาน : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
อังคาร ที่ 24 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2557
เข้าชม : 5922 

| เข้าชม : 1409 |
ผู้เขียน : พงศ์พล ห่อตระกูล
หน่วยงาน : สพป.ลำพูน เขต 2
พุธ ที่ 18 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้