[x] ปิดหน้าต่างนี้
KMOBECMAXSITE 1.2.1
กลุ่มอำนวยการ
เรื่อง : เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู


TOP HIT
กลุ่มอำนวยการ

- ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ(KRS+ARS)ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 มีค่าสูงเป็นลำดับที่ 7 ของประเทศ(4.61845) [ 1485 ]
- ความพึงพอใจคุณภาพการให้บริการของ สพป.ลำูพูน เขต 2 [ 1103 ]
- เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู [ 1040 ]
- การสังเคราะห์การจัดกิจกรรมจิตสาธารณะด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 [ 832 ]
- การพัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 [ 801 ]

1.ชื่อผลงาน   เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู

                ของนางปริศนา  โสภาบุญ  ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ อ.๓ เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษ อ.๒

2.ระยะเวลาที่ดำเนินการ   เริ่มตั้งแต่   1  กันยายน  2557  ถึง  30  กันยายน  2558

3.ความรู้ทางวิชาการหรือแนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินการ

          เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูจัดตั้งขึ้นตามระเบียบกระทรวง

ศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู พ.ศ. 2540 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและบรรเทาภาระหนี้สินข้าราชการครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ข้าราชการครูกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปใช้หนี้

เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูเป็นเงินทุนหมุนเวียนประเภทให้กู้ยืม

ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น อันจะส่งผลให้ข้าราชการครูมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานทำให้คุณภาพการเรียนการสอนดีขึ้น โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรเงินงบประมาณประจำปีให้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อใช้ในการดำเนินงานตามโครงการตามวัตถุประสงค์กำหนด

          แนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินการงานเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการ

ครู คือ  การทำงานแบบมีส่วนร่วม  เป็นการทำงานที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานได้เข้ามามีส่วนร่วมกันคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน อันจะก่อให้เกิด

                    1.รูปแบบคณะกรรมการเพื่อการปรึกษาหารือ (Consultine Management) ในการดำเนินงาน ปรึกษาหารือเพื่อช่วยตัดสินใจ เป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำงานและร่วมภาคภูมิใจในความสำเร็จ

                    2.รูปแบบการร่วมเสนอแนะ(Suggestion System) เป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วม โดยวิธีการจัดประชุมรับฟังข้อเสนอแนะ การเสนอแนะในแบบคำขอกู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู

                    3.รูปแบบการมีส่วนร่วมโดยการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นทีม (Team Working) เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนร่วมคิด ร่วมทำโดยใช้กระบวนการทำงานเป็นทีม              

4. สรุปสาระและขั้นตอนการดำเนินการ

                    สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้ดำเนินงานโครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูตามนโยบายของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการครู(ผู้สอน)กู้ยืมไปชำระหนี้โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำอันเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนจากภาระหนี้สิน รวมทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ข้าราชการครูเพื่อปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ                                                                                                  

                    ขั้นตอนการดำเนินการ

                    1.ประชาสัมพันธ์และประกาศให้ข้าราชการครูในสังกัดทราบเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ตามระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการให้กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งแจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการยื่นคำขอกู้ยืม ตามแบบคำขอกู้ยืม (ทป.1) ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

                       2.รวบรวมคำขอกู้ยืมเงินจากข้าราชการครูให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับแต่วันครบกำหนดการยื่นคำขอกู้ยืมและตรวจสอบคุณสมบัติ

                    3.สำเนาคำขอกู้ยืม (ทป.1) ส่ง ธ.ก.ส.จังหวัดลำพูน เพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์สถานภาพทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ยืมพร้อมเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเขตพื้นที่การศึกษา

                     4.ดำเนินการจัดประชุมคณะอนุกรกรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเขตพื้นที่การศึกษา ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู เพื่อพิจารณาการจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนฯ โดยต้องมีผู้แทน ธ.ก.ส.เข้าประชุมด้วยทุกครั้ง

                    5.จัดส่งเอกสารหลักฐานของผู้ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมให้สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดลำพูน เพื่อดำเนินการต่อไป ภายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่พิจารณาอนุมัติ ดังนี้       

                              5.1 คำขอกู้ยืม (ทป.1) ต้นฉบับ

                              5.2 หนังสือยินยอมให้ส่วนราชการ/หน่วยงานหักเงินชำระหนี้สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สำหรับผู้กู้) และ (สำหรับผู้ค้ำประกัน)

                              5.3 แบบคำรับรองของหน่วยงานต้นสังกัดในการหักเงินเดือนหรือเงินอื่นใด เพื่อชำระหนี้เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู

                              5.4 บัญชีรายชื่อข้าราชการครูผู้ได้รับอนุมัติให้กู้ยืม พร้อมรายชื่อผู้ค้ำประกัน (ตามแบบ สป.-สท.)

                    6.ส่งบัญชีรายชื่อข้าราชการครูผู้ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมพร้อมผู้ค้ำประกัน (ตามแบบ สป.-สท.) พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันทั้ง 3 ราย สำเนาบันทึกเรื่องการมอบหมายข้าราชการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ และรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ในครั้งที่มีการพิจารณาอนุมัติจัดสรรให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการทราบ

                    7.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 แจ้งข้าราชการครูผู้ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมทราบ และให้ไปทำสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกัน ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่คณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเขตพื้นที่การศึกษา ได้อนุมัติ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าสละสิทธิ์

                    8.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ได้รับแจ้งผลการอนุมัติจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้แจ้งข้าราชการครูผู้ได้รับอนุมัติประสาน ธ.ก.ส. ที่แต่ละรายที่ทำสัญญากู้ยืมไว้ เพื่อนัดรับเงินกู้ต่อไป

              9.กำกับ ติดตาม เจ้าหน้าที่ในสังกัดให้ดำเนินการหักเงินเดือนและเงินได้อื่นของผู้กู้ยืม (ยอดตามใบแจ้งหนี้จาก ธ.ก.ส.) เพื่อชำระหนี้เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ตามคำรับรองของสำนักงานเขตพื้นที่ในการหักเงินชำระหนี้และปฏิบัติตามแนวทางและขั้นตอนการรับชำระหนี้

                   10.ให้ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ กำกับ ติดตาม และประสาน ธ.ก.ส.จังหวัด จัดส่งรายชื่อข้าราชการครู ที่ได้รับเงินกู้ยืมตามแบบรายงานของ ธ.ก.ส. และจัดส่งใบแจ้งหนี้ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป

5.ผู้ร่วมดำเนินการ

                    ไม่มี  

 6. ส่วนของงานที่ผู้เสนอเป็นผู้ปฏิบัติ (ระบุรายละเอียดของผลงานพร้อมทั้งสัดส่วนของผลงาน)

                    1.ประชาสัมพันธ์เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ให้ครูผู้สอนทราบ

                    2.จัดการประชุมเพื่อพิจารณาผู้ประสงค์กู้ยืมเงิน และผ่านคุณสมบัติในการให้กู้ยืมเงินกองทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู

             3.ประสานงานกับ สำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดลำพูน เพื่อตรวจสอบเอกสาร และกำหนดวัน เวลา ในการประชุมเพื่อพิจารณาผู้ผ่านเกณฑ์ตามคุณสมบัติที่กำหนด                                                    

                    4.สรุปผลการดำเนินการไปยัง สำนักงาน ก.ค.ศ. และ สำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดลำพูน เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

                   5.ประสานข้าราชการครู (ผู้สอน) ผู้ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู เพื่อรอการประสานจาก สำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดลำพูน ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป            

สัดส่วนของการดำเนินงานที่ปฏิบัติ ผลงานร้อยละ 100

   7.ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณ/คุณภาพ)

          เชิงปริมาณ

                    1.ข้าราชการครู (ผู้สอน) ผู้ประสงค์กู้ยืมเงินกองทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู มีความพึงพอใจที่ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงินกองทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู(ผู้สอน)

                    2.ข้าราชการครู (ผู้สอน) ผู้ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ได้แบ่งเบาภาระหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมเงินประเภทอื่น 

           เชิงคุณภาพ

                    1.ข้าราชการครู (ผู้สอน) ผู้ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน

ข้าราชการครู มีวิถีชีวิตในการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น สามารถปฏิบัติหน้าที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลก่อให้เกิดผลดีต่อการจัดการเรียนการสอนของนักเรียน

                   2.ข้าราชการครู (ผู้สอน) ที่ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู สามารถลดภาระหนี้สินได้ และไม่ไปก่อหนี้ผูกพันกับสถาบันการเงินอื่น ๆ เพิ่มเติมแต่อย่างใดทำให้มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น

  8.การนำไปใช้ประโยชน์

                    1.เป็นสื่อกลางในการประสานงานการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ในการให้ข้าราชการครูกู้ยืมเพื่อแก้ไขปัญหา และบรรเทาภาระหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2

                    2.เป็นสื่อกลางในการประสานงานระหว่าง สำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดลำพูน กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูในสังกัด

  3.เป็นการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ                                               

9.ความยุ่งยากในการดำเนิน/ปัญหา/อุปสรรค

                การประชาสัมพันธ์ให้ข้าราชการครู (ผู้สอน) ยังไม่ครอบคลุมกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดได้ เนื่องจากข้าราชการครู (ผู้สอน) บางรายไม่ทราบถึงแนวทางการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู (ผู้สอน) จากแนวทางการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้มีการประสานงานทางโทรศัพท์ ทำให้เกิดความล่าช้าในการจัดส่งเอกสาร เนื่องจากระยะเวลาการดำเนินการส่งเอกสารถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต  2  มีระยะเวลาจำกัด เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความรวดเร็วทันต่อการดำเนินการที่ สำนักงาน ก.ค.ศ. กำหนด

                การดำเนินการงานเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู มีปัญหาด้านคุณสมบัติของผู้กู้ ส่วนมากผู้ที่ประสงค์กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ส่วนมากมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งเหลือเพียงไม่กี่ปี ทำให้ความสามารถในการผ่อนชำระหนี้หากได้รับการอนุมัติกู้เงิน จำนวนเงินชำระมาก เนื่องจากงวดการชำระลดน้อยลง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินอื่น ๆ มาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน และยังไม่เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของแนวทางเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู

             อุปสรรคในการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู คือ การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง คุณสมบัติของการกู้ยืมเงินมีข้อจำกัดมาก เช่น ระยะเวลาผ่อนชำระเงินเพียง 96 งวด จำนวนเงินให้กู้ยืมเงินเพียงคนละไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งเป็นเงินจำนวนน้อยมากหากเทียบกับสภาเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน ทำให้ไม่มีข้าราชการครู (ผู้สอน) ประสงค์กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู และหันไปทำนิติกรรมกับสถาบันการเงินอื่นแทน

10.ข้อเสนอแนะ

                    การดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู มีแนวทางการดำเนินงานที่ดีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการครู (ผู้สอน) กู้ยืมไปชำระหนี้โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำอันเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนจากภาระหนี้สิน รวมทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ข้าราชการครูเพื่อปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ  แต่การดำเนินงานดังกล่าวยังมีแนวทางการดำเนินงานจากในอดีตซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาวะสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากจำนวนเงินให้กู้ยืมเงินมีจำนวนไม่พอกับความต้องการในการชำระหนี้ และคุณสมบัติในการให้กู้ยืมมีข้อจำกัดมากไม่ครอบคลุมกับความต้องการของข้าราชการครู (ผู้สอน) ทำให้การดำเนินงานดังกล่าวมักไม่มีข้าราชการครู (ผู้สอน) ให้ความสนใจในเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูแต่อย่างใด

                              ขอรับรองว่าผลงานดังกล่าวข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ

                                                  นางปริศนา  โสภาบุญ

                                           วันที่  30 ธันวาคม   พ.ศ.  2558

                    

| ดาวน์โหลดเอกสาร | เข้าชม : 1039 |
ผู้เขียน : ปริศนา โสภาบุญ
หน่วยงาน : กลุ่มอำนวยการ สพป.ลำพูน เขต 2
พุธ ที่ 30 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2558
4 stars เฉลี่ย : 4 จาก 5 ครั้ง.


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้