[x] ปิดหน้าต่างนี้
KMOBECMAXSITE 1.2.1
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
เรื่อง : best ระดับปฐะมวัย 2555 แก้ไขเพิ่มเติม


TOP HIT
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ [ 1984 ]
- รายงานผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบ ร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [ 1686 ]
- การพัฒนากระบวนการคิดโดยใช้แบบฝึก [ 1383 ]
- best ระดับปฐะมวัย 2555 แก้ไขเพิ่มเติม [ 1170 ]
- รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [ 1050 ]

 

แบบการนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย
หรือรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัยที่ดี
 
1. ชื่อผลงาน  :  กิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ
                      เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
2. ชื่อผู้นำเสนอผลงาน:  นางอรอุมา อุดหนุน  ตำแหน่ง  ครู
                ที่อยู่  โรงเรียนบ้านแม่แนต สพป.ลำพูน เขต 2
                อีเมล   onma_ma@windowslive.com
3. หลักการเหตุผล/ความเป็นมา
                จากการประเมิน สมศ.รอบที่สองในปีการศึกษา 2550 ด้านคุณภาพเด็ก ในระดับชั้นอนุบาล มาตรฐานที่ 4 เด็กสามารถคิดรวบยอด คิดแก้ปัญหาและคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดใตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับพอใช้ คณะกรรมการสมศ.ได้เสนอแนะให้ครูใช้เทคนิควิธีการสอนใหม่ๆในการจัดการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กพัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารญาณ และสร้างสรรค์ประกอบโรงเรียนบ้าน         แม่แนตเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่มีอยู่ในบริเวณโรงเรียนมากมาย  และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่ใกล้ตัวเด็ก คือต้นไม้ต้นหญ้าแมลงสมุนไพรผลไม้พืชผักหินดินและทรายซึ่งเหมาะสมแก่การจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย จึงมีความสนใจที่จะส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยผ่านการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติในโรงเรียนบ้านแม่แนตและนำวัสดุที่ได้จากการสำรวจสังเกตสัมผัสมาออกแบบสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างอิสระตามจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ของตนเองยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้คิดที่จะออกแบบเรียนรู้ปฏิบัติเองและสร้างผลงานด้วยตนเองและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง พัฒนาสู่การคิดในระดับสูงต่อไปขณะเดียวกันก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้โดยผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ประจำวันสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะได้แก่ปั้นฉีกตัดปะติดวาดภาพระบายสีพิมพ์ภาพพ่นสีประดิษฐ์และร้อย ดังที่อธิฐานพูลศิลป์ศักด์กุล ( 2546 อ้างถึงในสุชนม์ ปิยพงศ์โกวิทและชลาธิป สมาหิโต2552: 110 ) กล่าวว่าเพื่อฝึกได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบและตกแต่งผลงานของตนเองอย่างอิสระที่สำคัญคือกิจกรรมศิลปะ เป็นกิจกรรมที่ประกอบด้วยการใช้ทักษะมือหลายประการเพราะขั้นตอนการประดิษฐ์นั้นได้รวมเอาทักษะหลายอย่างเข้าด้วยกันทั้งการระบายสีการพับการตัดฉีกการร้อยหรือการปั้นการบีบและการฉีกเด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงมีประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า การส่งเสริมให้เด็กคิดค้นหาคำตอบจากการปฏิสัมพันธ์กับวัสดุที่หลากหลายและส่งผลให้เด็กมีสติปัญญาที่ดีขึ้นสอดคล้องกับจันทร์ทิม คำผาที่กล่าวไว้ว่ากิจกรรมศิลปะทั้งในและนอกห้องเรียนล้วนมีค่าต่อการพัฒนาเด็กทั้งร่างกายอารมณ์สังคมสติปัญญาทั้งยังเป็นเครื่องมือในการสื่อสารความเข้าใจของเด็กรวมทั้งส่งเสริมกระบวนการกลุ่มและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยเฉพาะกิจกรรมที่ผู้เรียนได้มีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติตลอดจนมีสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระและเต็มไปด้วยความสนุกสนาน (จันทร์ทิม คำผา 2547: 26) จากที่ประโยชน์และความเหมาะสมและบริบทภายในบริเวณโรงเรียนบ้านแม่แนต ที่เอื้ออำนวยทางด้านแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติดังกล่าวแก่เด็กปฐมวัย ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่ใช้กิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
4. วัตถุประสงค์
               เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ 
5. แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
นักการศึกษาให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ไว้อย่างหลากหลายกิลฟอร์ดกล่าวว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะความคิดอเนกนัย (Divergent Thinking ) คือความคิดหลายทิศทางหลายแง่มุมคิดได้กว้างไกลซึ่งลักษณะความคิดเช่นนี้จะนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่รวมถึงการคิดค้นพบวิธีการแก้ปัญหาได้สำเร็จความคิดอเนกนัยประกอบด้วยลักษณะความคิดริเริ่มความคล่องตัวความยืดหยุ่นทางความคิดและความคิดละเอียดลออ ( Guilford, 1950 อ้างถึงในวลี กรุงมณี 2548: 26 )
ทอแรนซ์ ( Torrance อ้างถึงในกรมวิชาการ 2542: 108 ) ได้ศึกษาความคิดสร้างสรรค์แบบกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยการตั้งสมมติฐานแล้วรวบรวมข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานตามขั้นตอนดังนี้
1.        การค้นหาข้อเท็จจริง (Fact-finding) เริ่มจากความรู้สึกกังวลสับสนวุ่นวาย                 ขึ้นในใจแต่ไม่ทราบสาเหตุ
2. การค้นพบปัญหา (Problem- finding) พิจารณาด้วยความมีสติจนเข้าใจและพบว่านั่นคือปัญหา
3. การค้นพบแนวคิด (Idea-finding) คิดและตั้งสติสมมติฐานตลอดจนรวบรวมข้อมูลต่างเพื่อทดสอบความคิด
4. การค้นพบคำตอบ (Solution- finding) ทำการทดสอบสมมติฐานจนสามารถพบคำตอบ
5. ยอมรับผลจากการค้นพบ (Acceptance- finding) ยอมรับคำตอบที่ค้นพบเผยแพร่และคิดต่อไปว่าการค้นพบนี้จะนำไปสู่หนทางที่ตนจะทำให้เกิดแนวคิดหรือสิ่งใหม่ต่อไปอีก
จากแนวคิดของทอแรนซ์ กระบวนการคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือการค้นพบข้อเท็จจริงการค้นพบปัญหาการค้นพบแนวคิดการค้นพบคำตอบและการยอมรับผลจากการค้นพบ
6. การดำเนินงาน/กระบวนการ/วิธีการปฏิบัติ
1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 
2. ศึกษาเอกสารตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการจัดกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ  และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
3. สำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติภายในโรงเรียนบ้านแม่แนต  
4. ออกแบบกรอบการจัดกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ  และเหมาะสมกับเด็กปฐมวัยสอดคล้องตามมาตรฐานการเรียนของเด็กปฐมวัยสาระการเรียนรู้ 4 สาระหลักโดยแต่ละกิจกรรมมีองค์ประกอบในกิจกรรม 24 กิจกรรมดังนี้กำหนดแนวคิดแต่ละกิจกรรมกิจกรรมศิลปะและแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติในโรงเรียนบ้านแม่แนตวัสดุอุปกรณ์ วิธีดำเนินกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ  และการวัดผลประเมินผล
5. จัดทำคู่มือการจัดกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ  เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัยโดยมีองค์ประกอบดังนี้
      5.1   หลักการและเหตุผล
      5.2   จุดมุ่งหมายของกิจกรรม
      5.3  ลักษณะของกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ 
      5.4   หลักการจัดกิจกรรม
      5.5   บทบาทของเด็ก
      5.6   บทบาทครู
      5.7   การวัดผลและประเมินผลการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ  
                          5.8    ความสอดคล้องของกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ สาระการเรียนรู้ หน่วย และกิจกรรม
                        5.9   ความสอดคล้องระหว่างกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ กิจกรรมศิลปะ  
และแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติในโรงเรียนบ้านแม่แนต 
                                  5.10 กิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ             ได้กำหนดดังนี้
    กิจกรรมที่ 1    ตำลึงแตะสี
    กิจกรรมที่ 2    เห็ดเห็ดเห็ด
    กิจกรรมที่ 3   มะระขี้นก
    กิจกรรมที่ 4    มะละกอก็สวย
    กิจกรรมที่ 5    ลำไยใครทำก็สวย
    กิจกรรมที่ 6   ฝรั่งฝรั่ง
    กิจกรรมที่ 7    ต้นหญ้าในสนาม
    กิจกรรมที่ 8    ดอกหญ้าที่หน้าห้อง
    กิจกรรมที่ 9   ต้นหญ้าหน้าเสาธง
    กิจกรรมที่ 10  ดอกรำเพย
    กิจกรรมที่ 11  ดอกเข็มเข็ม
    กิจกรรมที่ 12  ดอกกระดุมทอง
    กิจกรรมที่ 13  ใบไม้หาต้น (ใบกล้วยและใบโกศล)
    กิจกรรมที่ 14  ใบไม้หาต้น ( ใบลำไย)
    กิจกรรมที่ 15   ใบไม้หาต้น (ใบดอกเข็มและใบชาทอง)
    กิจกรรมที่ 16   แมลงปอ
    กิจกรรมที่ 17  มดแดงมดแดง
    กิจกรรมที่ 18  ผีเสื้อแสนงาม
    กิจกรรมที่ 19   หินสร้างสรรค์
    กิจกรรมที่ 20  ทรายสร้างภาพ
    กิจกรรมที่ 21    ดินจัดสวน
    กิจกรรมที่ 22    ขมิ้นแต่งสี
    กิจกรรมที่ 23    ใบเตยแปลงร่าง
    กิจกรรมที่ 24    ข่าสร้างสรรค์
6.             จัดทำแผนการจัดกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ด้วยวิธีการสำรวจแหล่ง
เรียนรู้ทางธรรมชาติจำนวน24 กิจกรรมรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์สอดคล้องตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546
7.             กระบวนการจัดกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ด้วยวิธีการสำรวจแหล่ง
เรียนรู้ทางธรรมชาติ
1.       สนทนาซักถามระหว่างเด็กและครูนำกิจกรรมด้วยการใช้เพลงหรือท่องคำคล้องจองแบ่งกลุ่มเด็ก
2.       เด็กและครูวางแผนสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่มีอยู่ในโรงเรียนบ้านแม่แนต
3.       ออกสำรวจ ในบริเวณโรงเรียนโดยมีเกม การสังเกตสัมผัสและใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ระหว่างสำรวจ
4.               เด็กเลือกวัสดุที่เป็นส่วนของประกอบหรือสิ่งที่พบเห็นจากการสำรวจไปสร้างสรรค์ผลงานในห้องเรียน พร้อมอุปกรณ์ที่กำหนด
5.       เด็กลงมือออกแบบตกแต่งผลงานตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ
6.       เด็กและครูสนทนาซักถามเกี่ยวกับผลงานของตนเองด้วยคำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กเล่าเกี่ยวกับผลงานของตนเอง
7.               เด็กและครูเด็กและครูร่วมกันสรุปถึงกิจกรรมและนำผลงานไปจัดแสดงไว้ในมุมศิลปะในห้องเรียน
7. แผนการดำเนินงาน/ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ดำเนินการจัดกิจกรรมกับกลุ่มประชากร คือ เด็กปฐมวัย ระดับอนุบาล 1 และ 2 โรงเรียนบ้านแม่แนตตามตารางกิจกรรมประจำวันในกิจกรรมสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย สัปดาห์ละ 3 วัน วันจันทร์ พุธ ศุกร์                       รวม 8 สัปดาห์ ใช้เวลาวันละ 30 นาที รวม 24 วัน
8. ผลการปฏิบัติงาน
1. ด้านผู้เรียน ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยทุกด้านสูงขึ้น โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมของความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดคล่องแคล่วความคิดริเริ่มและความคิดละเอียดลออสูงขึ้นหลังจากการจัดกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ (แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยรูปภาพแบบก. ของทอแรนซ์ซึ่งแปลและปรับปรุงโดยอารีรังสินันท์ )
2. ด้านครู ได้ใช้วิธีการที่หลากหลายโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
3. ด้านผู้ปกครอง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน เช่น ปรับปรุงแหล่งเรียนรู้           โรงเพาะเห็ด หลังคาศาลา
4. ด้านโรงเรียน ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง โรงเรียนขนาดเล็กใกล้เคียง เช่น ร่วมกิจกรรมเข้าค่ายบูรณาการการเรียนรู้สู่เด็กปฐมวัยร่วมกัน ชุมชนสนับสนุนงบประมาณกิจกรรมต่างๆ เช่น จัดทอดผ้าป่า
 
9. ปัจจัยที่ทำให้วิธีการประสบผลสำเร็จ
         ด้านการบริหารจัดการ              ผู้บริหารส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
        ด้านผู้เรียน                            มีความกระตือรือร้นและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี มีความสุขและสนุกกับการสำรวจส่งผลให้จัดกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติสำเร็จได้ด้วยดี
         ด้านการจัดการเรียนการสอน       คณะครูให้คำแนะนำ และมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง ในการสำรวจ สังเกต แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติในโรงเรียนบ้านแม่แนต
         ด้านสื่อ แหล่งเรียนรู้                 แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรม หาง่ายในบริเวณโรงเรียนบ้านแม่แนต สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย และเด็กมีส่วนร่วมในการจัดหาวัสดุ
         ด้านการประสานชุมชน             ได้รับความร่วมมือในการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น เป็น ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ให้แก่เด็กในโรงเรียนบ้านแม่แนต เช่น นำกล้า ผัก สมุนไพรมาให้ สร้างโรงเพาะเห็ด
 
10. บทเรียนที่ได้รับ
1.  ได้กิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพใช้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. เป็นแนวทางสำหรับครูปฐมวัยในการใช้กิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติในการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กปฐมวัย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เอกสารอ้างอิง
 
 
จันทร์ทิม คำผา. (2547). การจัดกิจกรรมศิลปะนอกห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วลี กรุงมณี. (2548). การใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนชุมชนบ้านวังดินจังหวัดลำพูน.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิตแขนงวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
วิชาการ, กรม. (2542). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กรุงเทพฯกระทรวงศึกษาธิการ.
สุชนม์ ปิยพงศ์โกวิทและชลาธิป สมาหิโต. (2552). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ที่มีต่อทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือของเด็กปฐมวัยวิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาคผนวก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ 
ด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
กิจกรรมที่ 14     :    ใบไม้หาต้น (ต้นลำไย)
***************************************************************************
แนวคิด      
ต้นไม้ในโรงเรียนบ้านแม่แนต มีมากมายหลายชนิดมีสีมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันเมื่อผ่านกระบวนการสำรวจสังเกตค้นหา และเลือกนำใบลำไยมาตกแต่งให้สวยงามอย่างอิสระเป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง
 
จุดประสงค์
      1  เด็กสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่สำรวจโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากเดิมและแปลกใหม่มีรายละเอียด ของผลงานที่สมบูรณ์
      2.   เด็กสามารถบอกรายละเอียดของสิ่งที่สำรวจได้อย่างสร้างสรรค์
      3.   เด็กสามารถร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้
      4.   เด็กสามารถตั้งชื่อผลงานและเล่าเกี่ยวกับผลงานได้
 
สื่อ วัสดุ – อุปกรณ์
1.       แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนต้นลำไย
2.       ใบลำไย
3.       สีเทียน
4.       กระดาษวาดเขียน
 
วิธีดำเนินกิจกรรม
1.       สนทนาซักถามระหว่างเด็กและครูนำกิจกรรมด้วยการใช้เพลงหรือท่องคำคล้องจอง                            แบ่งกลุ่มเด็กกลุ่มละ 3 – 4 คน
2.       เด็กและครูวางแผนสำรวจต้นไม้แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่มีอยู่ในโรงเรียนบ้านแม่แนตเล่นเกมทายใบไม้โดยนำใบไม้มาให้เด็กดูและค้นหาใบไม้ที่เหมือนตัวอย่าง
3.       ออกสำรวจต้นลำไยโกศลในบริเวณโรงเรียนโดยการสังเกตสัมผัสและใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ระหว่างสำรวจ
4.       เด็กเลือกเก็บใบลำไยไปสร้างสรรค์ผลงานในห้องเรียน พร้อมอุปกรณ์ที่กำหนด
5.       เด็กลงมือออกแบบตกแต่งผลงานตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเอง
6.       เด็กและครูสนทนาซักถามเกี่ยวกับผลงานของตนเองด้วยคำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กเล่าเกี่ยวกับผลงานของตนเอง
7.       เด็กและครูเด็กและครูร่วมกันสรุปถึงกิจกรรมและนำผลงานไปจัดแสดงไว้ในมุมศิลปะในห้องเรียน
 
 
 
การวัด / ประเมินผล
    วิธีการวัด
1. การสังเกต
  1.1  การใช้กล้ามเนื้อมือในการทำกิจกรรมศิลปะ
                          1.2 การทำกิจกรรมกับผู้อื่น
                 1.3 การตั้งชื่อผลงานและการเล่าเกี่ยวกับผลงาน
                 1.4 การสนทนาระหว่างสำรวจแหล่งเรียนรู้
            2. ตรวจผลงาน
       การคิดสร้างสรรค์ผลงาน
หมายเหตุ    การวัดและการประเมินผล เป็นการกระตุ้นให้เด็กรู้ถึงความสามารถของตนเองว่าอยู่ในระดับใด 
                เพื่อให้เด็กได้พัฒนาตนเองและผู้ที่จัดกิจกรรมจัดให้เหมาะสมกับเด็กเป็นรายบุคคล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ 
ด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ     : ชั้นอนุบาล1 และ 2
สาระการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ชื่อหน่วย ต้นไม้   กิจกรรม ใบไม้หาต้น (ลำไย)
สอนวันที่ ............เดือน .............................พ.ศ............. เวลา  .............................. น. รวม 30 นาที
******************************************************************************************
ความสัมพันธ์กับมาตรฐาน         มฐ.2.1, มฐ.3.2, มฐ.4.1, มฐ.7.1, มฐ.9.1, มฐ.11.2, มฐ.12.1  
สาระสำคัญ
ต้นไม้ในโรงเรียนบ้านแม่แนต มีมากมายหลายชนิดมีสีมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันเมื่อผ่านกระบวนการสำรวจสังเกตค้นหา และเลือกนำใบลำไยมาตกแต่งให้สวยงามอย่างอิสระเป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง
 
จุดประสงค์การเรียนรู้
      1  เด็กสามารถสร้างสรรค์ผลงานจากใบไม้ที่สำรวจโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากเดิมและแปลกใหม่ มีรายละเอียดของผลงานที่สมบูรณ์
      2.   เด็กสามารถบอกรายละเอียดของสิ่งที่สำรวจได้อย่างสร้างสรรค์
      3.   เด็กสามารถร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้
      4.   เด็กสามารถตั้งชื่อผลงานและเล่าเกี่ยวกับผลงานได้
สาระการเรียนรู้
1.  สาระที่ควรรู้
                   สร้างสรรค์ผลงานจากการสำรวจใบไม้ ต้นไม้ในโรงเรียน การขูดสีจากใบไม้ ( ใบลำไย )
2.  ประสบการณ์สำคัญ
                   2.1   ด้านร่างกาย  :   การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็ก
                   2.2   ด้านอารมณ์  จิตใจ สุนทรียภาพ  :  การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม  
                   2.3   ด้าน สังคม   : การเรียนรู้ทางสังคม วางแผน ตัดสินใจ เลือก ลงมือ ปฏิบัติ 
                   2.4  ด้านสติปัญญา    :   การคิด สร้างสรรค์ ผ่านสื่อวัสดุต่าง ๆ 
                                                       :   เล่าเรื่องราวจากผลงานของตนเอง
วิธีการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ   1. เด็กและครูร่วมกันร้องเพลง กิ่ง ก้าน ใบ  พร้อมทำท่าประกอบเพลง แบ่งเด็กออกเป็น                      กลุ่มย่อย 2 กลุ่ม แล้วให้เด็กนั่งลง สนทนาพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ในโรงเรียน มีต้นอะไรบ้าง 
 
ขั้นกิจกรรม 
          2. นำใบไม้จากต้นไม้ 1 ต้น มาให้เด็กดู คนละ 1 ใบ (ต้นลำไย) (โดยยังไม่บอกชื่อให้เด็กดู) จากนั้นให้เด็กนำใบไม้ที่กำหนดไปสำรวจ ค้นหา จาการสังเกต เปรียบเทียบจากใบของต้นไม้ที่เด็กคุ้นเคยในโรงเรียน เมื่อเจอต้นที่ถูกต้องแล้ว ใช้แนวคำถาม ดังนี้
               2.1   ชื่อต้นไม้นี้ชื่อว่าอะไรใครรู้จักบ้าง ลักษณะต้นเป็นอย่างไร
             2.2   ใบไม้มีรูปร่าง ลักษณะของเป็นอย่างไร 
            2.3  นำใบลำไยหลายใบให้เด็กสังเกตเปรียบเทียบขนาดของใบลำไย
          3. เด็กเลือกใบลำไยคนละ 2 ใบ ไปสร้างสรรค์ผลงาน โดยครูใช้คำถาม “เด็กๆจะทำอย่างกับใบไม้ทั้งสองชนิดนี้ให้ออกมาเป็นผลงานที่สวยงาม จากนั้นนำเด็กกลับห้องเรียน
         4. โดยเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาตกแต่งให้แก่เด็ก และใบลำไยที่เด็กนำมา กระตุ้นให้เด็กสร้างผลงานโดยการขูดสีจากใบไม้ หากพบว่าเด็กไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ หรือสร้างโดยการลอกเลียนแบบครูควรกระตุ้น ด้วยคำพูด “เด็กๆ ลองสร้างผลงานจากใบลำไยที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร และมันจะเป็นผลงานที่ดีมากด้วย”
         5.   เมื่อเด็กแต่ละคนสร้างสรรค์ผลงานจากใบลำไย เสร็จแล้ว ให้เลือกทำกิจกรรมเป่าสี ระบายภาพด้วยสีเทียน หรือพิมพ์ภาพ ตามความสนใจอีก   2   กิจกรรม  
      6. ในขณะที่เด็กทำกิจกรรม ครูคอยดูแลและสังเกตพฤติกรรมการทำงานอย่างใกล้ชิด
        7. ก่อนหมดเวลา ประมาณ 5 นาที ให้สัญญาณเด็กช่วยกันเก็บวัสดุอุปกรณ์ ทำความสะอาดบริเวณที่ทำกิจกรรมให้เรียบร้อย
ขั้นสรุป
8. เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับผลงานของเด็ก ด้วยแนวคำถาม ดังนี้
8.1   เด็ก ๆ นำใบลำไยมาสร้างสรรค์ผลงานมีชื่ออะไรบ้าง
8.2   เราจะมีวิธีการทำผลงานจากใบลำไยอย่างไรให้สวยงามมากกว่านี้
8.3   นอกจากใบลำไยนำมาสร้างผลงานแล้ว นำไปทำอะไรได้อีก
                                      ฯลฯ
        9. เด็กและครูร่วมกันสรุปถึงกิจกรรม และนำเสนอผลงานไปแสดงไว้มุมศิลปะในห้องเรียน 
สื่อการเรียนการสอน
1.       แหล่งเรียนรู้ต้นลำไยในบริเวณโรงเรียน
2.       เพลง “กิ่ง ก้าน ใบ”
3.       ใบลำไย
2.       สีเทียน
3.       กระดาษวาดเขียน
การวัดผลและประเมินผล
1. วิธีการวัด
1.1การสังเกต
 1.1.1 การใช้กล้ามเนื้อมือในการทำกิจกรรมศิลปะ
                          1.1.2 การทำกิจกรรมกับผู้อื่น
                 1.1.3 การตั้งชื่อผลงานและการเล่าเกี่ยวกับผลงาน
                 1.1.4 การสนทนาระหว่างสำรวจแหล่งเรียนรู้
1.2 ตรวจผลงาน
       การคิดสร้างสรรค์ผลงาน
2. เครื่องมือวัด
 แบบสังเกตการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน
 
 
       3. เกณฑ์การวัด
เกณฑ์การให้ค่าคะแนนดังนี้
3.1 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ระดับ 1   สร้างผลงานด้วยตนเองไม่ได้ต้องทำตามคำแนะนำของครู
ระดับ 2   สร้างผลงานด้วยตนเองแต่เหมือนตัวอย่างหรือเลียนแบบผู้อื่น
ระดับ 3   สร้างผลงานด้วยตนเองผลงานมีความแปลกใหม่มีการตกแต่ง /        
                มีรายละเอียดของภาพ
    3.2 การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
 ระดับ1    หยิบจับใช้อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะไม่ได้ครูต้องให้
                 ความช่วยเหลือ
 ระดับ2    หยิบจับใช้อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะได้แต่ไม่มั่นคง                                      ครูต้องให้คำแนะนำช่วยเหลือบ้าง 
       ระดับ3   หยิบจับ / ใช้อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมศิลปะได้อย่างมั่นคงคล่องแคล่วด้วยตนเอง
3.3 การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
          ระดับ 1    ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนตามคำแนะนำของครู 
          ระดับ 2    ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้บางช่วงเวลาของการทำกิจกรรม                              ครูต้องเตือน / ให้คำแนะนำ 
           ระดับ 3    ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้อย่างมีความสุขตลอดช่วงเวลา                          ของการทำกิจกรรม
3.4 การเล่าเรื่องเกี่ยวกับผลงาน
ระดับ 1 บอกรายละเอียดของสิ่งที่สำรวจบอกชื่อและเล่าเรื่องผลงานไม่ได้
ระดับ 2 บอกรายละเอียดของสิ่งที่สำรวจบอกชื่อและเล่าเรื่องผลงานโดยครูชี้แนะ
ระดับ 3 บอกรายละเอียดของสิ่งที่สำรวจบอกชื่อและเล่าเรื่องผลงานได้ด้วยตนเอง
 
เกณฑ์การสรุปผลการประเมิน
          คะแนน   9 - 12       ระดับคุณภาพ     3          หมายถึง    ดี
คะแนน   5 - 8         ระดับคุณภาพ     2          หมายถึง    ปานกลาง
คะแนน   1 - 4         ระดับคุณภาพ     1          หมายถึง    พอใช้
 
 
 
 
 
 
 
 
                                              เพลง “กิ่ง ก้าน ใบ”
                             (ไม่ทราบผู้แต่ง)
กิ่ง ก้าน ใบ                ชะ ชะ ใบ ก้าน กิ่ง
     ฝนตกลงมาจริง (ซ้ำ 1 รอบ)  ชะเอยแม่กิ่ง ก้าน ใบ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
แบบสังเกตการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน   ระดับชั้นอนุบาลและ2
กิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ  ด้วยวิธีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ  
   กิจกรรมที่14     :   ใบไม้หาต้น (ลำไย)
คำชี้แจง : ให้ผู้สังเกตประเมินเป็นค่าตัวเลข1,2,3 ลงในช่องรายการประเมิน          
 
 
 
ที่
 
 
 
ชื่อ -สกุล
รายการการประเมิน
 
 
 
รวม
 
 
 
เฉลี่ย
 
 
 
ระดับคุณภาพ
 
 
 ความคิดสร้างสรรค์
การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
 การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
การเล่าเรื่องเกี่ยวกับผลงาน
3
3
3
3
12
3
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รวม
 
 
 
 
 
 
 
 
ผลการสรุปการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน
เด็กมีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี               จำนวน           คน     คิดเป็นร้อยละ 
เด็กมีผลการประเมินอยู่ในระดับ ปานกลาง     จำนวน           คน     คิดเป็นร้อยละ    
เด็กมีผลการประเมินอยู่ในระดับ ปรับปรุง      จำนวน            คน     คิดเป็นร้อยละ     
ลงชื่อ                                 ผู้ประเมิน
                                                    (.........................................)
ความคิดเห็นของผู้บริหาร
.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
 
         ลงชื่อ………………………..
                      (                         )
                                        
 
บันทึกหลังการสอน/ผลการสอน
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
 
ข้อเสนอแนะ/ปัญหา/วิธีการแก้ปัญหา
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
 
                                 ลงชื่อ ....................................ผู้ประเมิน
                                          (                                                        )
 
 
ผู้เขียน : อรอุมา อุดหนุน
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านแม่แนต
พุธ ที่ 17 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2555
เข้าชม : 24136 

 

| เข้าชม : 1169 |
ผู้เขียน : พงศ์พล ห่อตระกูล
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านแม่แนต
อังคาร ที่ 17 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้