[x] ปิดหน้าต่างนี้
KMOBECMAXSITE 1.2.1
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
เรื่อง : การใช้หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


TOP HIT
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

- การใช้หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 [ 6297 ]
- ผลการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ [ 1956 ]
- รายงานการนิเทศ ติดตามผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE [ 1761 ]
- รายงานผลการพัฒนาครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ต (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้กระบวนการนิเทศเชิงระบบ [ 1737 ]
- การนิเทศครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อยกระดับการเรียนการสอน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สพป.ลำพูน เขต 2 [ 987 ]

 ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งในปีการศึกษา 2553 โรงเรียนทั่วประเทศจะใช้หลักสูตรดังกล่าวเป็นปีแรก นั้น สพฐ.ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความเข้าใจการใช้หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (ชั้น ป.1 ป.4 ม.1 และ ม.4) ตามหลักสูตรแกนกลางฯ ให้แก่ศึกษานิเทศก์ภาษาไทย เพื่อนำความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อการเรียนการสอนไปขยายผลให้แก่ครูผู้สอน                                                 สรุปสาระสำคัญของการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการดังนี้


 สพฐ.ชี้แจงวัตถุประสงค์ ของการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ คือ
1. การทำความเข้าใจในการใช้หนังสือเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในระดับ ประถมศึกษา (ป.1 และ ป.4) และระดับมัธยมศึกษา (ม.1 และ ม.4) ที่จะใช้พร้อมกันทั่วประเทศในปีการศึกษา 2553 
2. การดำเนินงานตาม ตามโครงการสร้างจิตสำนึกความเป็นไทยเพื่อพัฒนาเด็กไทยยั่งยืน (SP2) กิจกรรมพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย
การอภิปราย “แนวทางการพัฒนาคุณภาพหนังสือเรียนภาษาไทย” 
โดย อ.ปริญญา ฤทธิ์เจริญ นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สถาบันการสอนภาษาไทย ดังนี้
1. สภาพสื่อการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย จะใช้เกณฑ์คุณภาพในการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนภาษาไทย ทุกสำนักพิมพ์
2. ผู้ผลิตสื่อการเรียนรู้ แบ่งเป็น 3 ระดับคือ
2.1 ระดับชาติ
• สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
• สำนักพิมพ์เอกชน
• สส.วท.
2.2 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
2.3 ระดับสถานศึกษา
ในส่วนของหนังสือเรียนภาษาไทย มีสำนักฯ และบริษัท ที่จัดทำ ส่งมาตรวจยัง สพฐ. จำนวน 6 แห่ง 
41 รายการ (ใน Website ของ สวก.)
3. ระบบประกันคุณภาพสื่อการเรียนการสอน ของผู้ผลิตเอกชน ดำเนินการ ดังนี้
3.1 มีคณะผู้ตรวจ 3 คน
3.2 บรรณาธิการอย่างน้อย 1 คน
โดยมีเกณฑ์คุณภาพของ ผู้เขียน ผู้ตรวจ และผู้ใช้
4. การประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ (หนังสือเรียน) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
4.1 เนื้อหาสาระ
• เนื้อหาตรงกรอบ ครอบคลุมและครบถ้วนตามหลักสูตรแกนกลางฯ
• การใช้เนื้อหาปราศจากอคติด้านเพศ ศาสนา เชื้อชาติ และชนกลุ่มน้อย
• ไม่ขัดต่อความมั่นคงของชาติและคุณธรรมจริยธรรม
• เนื้อหาเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
4.2 ด้านการนำเสนอเนื้อหาสาระ
• นำเสนอเนื้อหาสาระกระตุ้นความสนใจให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
• นำเสนอบทอ่านในรูปแบบที่หลากหลาย
• นำเสนอเนื้อหาเชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน
• เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ได้ด้วยตนเอง
4.3 ด้านการใช้ภาษา
• ใช้ภาษาถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาไทย
• สื่อความหมายชัดเจน เข้าใจง่าย ชวนติดตาม
• ใช้ภาษาไพเราะสละสลวย
• การใช้ภาษาและคำศัพท์มีระดับความยากง่ายเหมาะสมกับวุฒิภาวะและวัยของผู้เรียน
4.4 ด้านคุณค่าต่อการจัดการเรียนการสอน
• สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้
• สอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน ส่งเสริมทักษะการคิด และเปิดโอกาสให้ค้นคว้าเพิ่มเติม
4.5 ด้านรูปแบบหนังสือและการพิมพ์
• แผนภูมิการใช้ภาษา ตาราง ถูกต้องสอดคล้องกับเนื้อหา
• มีเอสารอ้างอิง แหล่งข้อมูลเป็นปัจจุบัน เชื่อถือได้
• การจัดรูปเล่มดึงดูดความสนใจ สบายตา น่าอ่าน
• รูปแบบตัวอักษร และขนาดรูปเล่มเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
คำแนะนำสำหรับครู
- ควรเลือกหนังสือหลายเล่มใช้ประกอบกัน 
อภิปราย “การใช้หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 และ 4 กลุ่มหลักภาษาและการใช้ภาษาไทย” โดย ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ร.ศ.ววรรณ พันธุเมธา นางรัตนา ด่านศิริสมบูรณ์  นางพิศวาท น้อยมณี


แนวคิดในการจัดทำ หนังสือวิวิธภาษา
1. การเรียนรู้ได้จากการอ่าน การทำความเข้าใจเรื่องที่อ่าน การวิเคราะห์และการฝึกฝน
2. ภาษาเป็นสื่อสำคัญในการเรียนรู้ ภาษาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเรียนรู้ การคิด การวิเคราะห์ และการนำไปใช้
3. ในโลกปัจจุบัน การอ่านเป็นสิ่งสำคัญในระบบการศึกษา จึงควรสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่ผู้เรียน ด้วยการให้เห็นประโยชน์จากการอ่านมากที่สุด
4. ความรู้เรื่องของภาษา และหลักภาษา สำคัญน้อยกว่าความเข้าใจภาษากับความสามารถในใช้ภาษาได้ตามที่ตนต้องการ แต่ในฐานะนักเรียน
ลักษณะการใช้ภาษาใน หนังสือวิวิธภาษา
1. บทอ่านเป็นเรื่องสั้น นิทาน บทสนทนา บทความ ร้อยแก้ว จดหมาย ฯลฯ
2. เนื้อหาของบทอ่าน หลากหลาย เข้าใจง่าย อ่านได้อย่างสนุกและเพลิดเพลิน
3. เนื้อหาของบทอ่านมีข้อคิดจากเรื่อง คือ ประเด็นให้คิด และแนะแนวทาง หรือหลักการให้ยึดถือเป็นแบบอย่าง ส่วนมากจะมีแนวทางให้คิดให้ปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคม
*** ในระดับมัธยมนักเรียนต้องอ่านได้คล่องแล้ว จึงเน้นการอ่านของเรื่อง อ่านจับใจความ จับประเด็นสำคัญและคิดวิเคราะห์เรื่องที่อ่านได้
4. มีคำอธิบายลักษณะทางภาษา หรือการใช้ภาษาเฉพาะที่สำคัญแต่อธิบายอย่างละเอียดครบครัน เกี่ยวกับการอ่านคำพิเศษ ลักษณะพยางค์หนัก พยางค์เบา ชนิดของคำที่น่าสนใจ คำพ้อง คำประสม คำสมาส การใช้คำเชื่อม สำนวนความเปรียบ เป็นต้น
5. ท้ายบทมีหัวข้อคิดกรองลองทำดู เพื่อเสนอแนวทางการใช้บทเรียน
6. บางบทมีหัวข้อคิดเพิ่มเติมสาระ

ลักษณะการสอนภาษาไทยที่ดี
1. ครูภาษาไทยต้องไม่สอนภาษาไทยอย่างเดียว ต้องสอนการอนุรักษ์ภาษาไทย มารยาทการใช้และการสืบทอดทางภาษาไทย
2. นักเรียนอ่านผิด / เขียนผิด ครูต้องรีบแก้ไขทันที

อภิปราย “การใช้หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 และ 4 กลุ่มหลักภาษาและการใช้ภาษาไทย” โดย ร.ศ.ปิตินันท์ สุทธสาร ผศ.กิติยวดี บุญซื่อ นางสุชาดา วัยวุฒิ น.ส.ละเอียด สดคมขำ

แนวทางพัฒนาหนังสือ / กลุ่มหลักภาษาและการใช้ภาษาไทย ป.1 และป.4

ป.1 ภาษาพาที แนวคิด คือ อยากให้เด็กรักการอ่าน
1. การเลือกตัวละครในการดำเนินเรื่อง
2. สอดแทรก อนุรักษ์ธรรมชาติ การอยู่ร่วมกัน
3. ความรู้ เหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดในบ้านเมือง
4. สอดแทรกคุณธรรมค่านิยม ส่งเสริมความรักของครูผู้สอนกับเด็ก ส่งเสริมความคิดและ
จินตนาการของเด็ก
5. มีการผสมผสานคำคล้องจองสั้น ๆ
6. สอดแทรกเนื้อหาบูรณาการ คำนึงถึงความสามารถและความสนใจของเด็ก ส่งเสริมความคิดและจินตนาการ ต่อยอดความรู้และสอดคล้องกับหลักสูตร โดยเน้นทักษะ 5 ด้าน คือ การฟัง
การพูด การอ่าน การเขียน และหลักภาษา/การใช้ภาษา
ที่สำคัญ คือ จะต้องเรียนรู้ความเป็นไทย วัฒนาธรรมทางภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา
(วรรณวดี) และวรรณกรรมต่าง ๆ ที่มาจากโบราณกาล
ครูต้องอ่านหลักสูตรฯ และวิเคราะห์หลักสูตรฯให้ได้ โดยดูที่ตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นหลัก
ส่วนประกอบของบทเรียน ภาษาพาที ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551                             ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้
1. บทอ่าน (สนุก / เด็กท่องจำได้ / ใช้ภาษาง่าย ๆ)
2. บทอ่านเสริม
3. อ่านเพิ่มเติมความหมาย (คำศัพท์ / คำยาก)
4. อธิบายเพิ่ม เติมความรู้ (ความรู้ของหลักภาษา / การใช้ภาษา)
5. กิจกรรมชวนกันคิด ช่วยกันตอบ และกิจกรรมอื่น ๆ (อยากให้เด็กทำงานร่วมกัน)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 เนื้อเรื่องต่อเนื้องสอดคล้องกัน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 เนื้อเรื่องเป็นเรื่อง ๆ จบเป็นตอน

การใช้วรรณคดีลำนำ (ทุกชั้นจะแยกเล่ม)
จุดมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้เรียน
1. มีจินตนาการ
2. ซาบซึ้งในรสของวรรณคดีไทย ช่วยกล่อมเกลาจิตใจและอารมณ์
3. เข้าถึงคุณค่าของวรรณคดีในแง่มุมต่าง ๆ (เนื้อหาสาระ พลังของภาษา คติธรรม 
ภูมิปัญญา วิถีชีวิต)
การใช้ ทักษะภาษา 
จุดมุ่งหมาย
ฝึกทักษะภาษาไทย เชื่อมโยง สัมพันธ์กับภาษาพาทีและวรรณคดีลำนำ ทั้งในด้าน
1. ความเข้าใจในเนื้อเรื่องที่อ่าน
2. การหาความหมายอธิบายและฝึกการใช้คำ
3. การเขียน การคัดลายมือ
4. หลักการใช้ภาษา
5. การสื่อสารในชีวิตประจำวัน
หนังสือเสนอแนะ
1. วรรณกรรมปฏิสัมพันธ์ ( สำหรับช่วงชั้น ป.1 – ป.3 )
2. ทักษะปฏิสัมพันธ์ ( สำหรับช่วงชั้น ป.4 – ป.6 )

อภิปราย “การนำหนังสือเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับประถมศึกษา ไปใช้สอนนักเรียน”
หนังสือที่ใช้เรียน
1. ภาษาพาที
2. วรรณคดีลำนำ
3. แบบฝึกหัด
4. ทักษะภาษา
5. วรรณกรรมปฏิสัมพันธ์ / ทักษะปฏิสัมพันธ์ 
วิธีการใช้หนังสือเรียนภาษาไทย (สำหรับครู)
1. อ่านคำแนะนำ
- นำไปใช้สอน
- นำไปประกอบการสอน
- นำไปเป็นสื่อทางวัฒนาธรรม
- นำไปเพิ่มพูนความคิด
- ทำให้เด็กรักษาไทย
2. อ่านเรื่องก่อน
3. อ่านกิจกรรม
4. อ่านชั้นที่ต่อขึ้นไป
5. อ่านชั้นที่ส่งขึ้นมา
แนวทางการนำไปใช้สอน
1. ครูต้องแบ่งครึ่งบทที่สอน เป็นภาคเรียน
2. ห้ามสอนแยกกันโดยเด็ดขาด อาจสลับบทเรียนระหว่างวรรณคดีลำนำกับภาษาพาที
3. การจัดการเรียนการสอนต้องเผื่อเวลา การวัดประเมินผล และเหลือเดือนสุดท้ายเพื่อทบทวน
 

แนวทางการใช้ “วรรณคดีและวรรณกรรม” ระดับประถมศึกษา โดย อ.ปราณี ปราบริปู
ลักษณะหนังสือเรียนวรรณคดีลำนำ ระดับประถมศึกษา
1. เสนอแบบมีตัวละครจะพาไปสู่โลกวรรณคดี
2. มีเรื่องวรรณคดีมากกว่าหนังสือรุ่นก่อน ๆ
3. มีการเพิ่มคำศัพท์มากขึ้น
สรุป การเลือกใช้หนังสือเรียนในภาพรวม
1. ต้องเลือกคุณภาพ
2. มีคำอธิบาย / คำชี้แจงหรือไม่
3. สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดหรือไม่
4. ใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมหรือไม่
5. ให้ใช้หนังสืออย่างหลากหลาย

ผู้เขียน : จิราพร ไกรพล
หน่วยงาน : สพป.ลำพูน เขต 2
พฤหัสบดี ที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ.2553

| เข้าชม : 6296 |
ผู้เขียน : พงศ์พล ห่อตระกูล
หน่วยงาน : -
อังคาร ที่ 17 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558
4 stars เฉลี่ย : 4 จาก 6 ครั้ง.


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้