[x] ปิดหน้าต่างนี้
KMOBECMAXSITE 1.2.1
การบริหารสถานศึกษา
เรื่อง : การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2


TOP HIT
การบริหารสถานศึกษา

- การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาคุณธรรมและความโปร่งใสของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 [ 299 ]
- การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 [ 133 ]
- โครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 [ 129 ]

 ชื่อเรื่องวิจัย การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2

ชื่อผู้วิจัย นายพิเชษฐ์  บุญสุ

ปีที่รายงานวิจัย 2565

 

บทคัดย่อ

 

การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัญหาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง 2) เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง ในด้านการพัฒนาสภาพแวดล้อม ด้านกายภาพ การพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านวิชาการ และการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านการบริหารจัดการ และ 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง ในด้านผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ ผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านวิชาการ และผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านการบริหารจัดการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง ปีการศึกษา 2561-2564 ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน 2) ครู จำนวน 10 คน 2) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และ 4) ผู้แทนผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ จำนวน 5 ฉบับ โดยคุณภาพของเครื่องมือมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 คือ 0.90 และ 0.91 และ 0.91 ตามลำดับ รวบรวมข้อมูลจากรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รายงานการประเมินตนเอง สารสนเทศของโรงเรียน และการสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สรุปผลการวิจัย

1. ปัญหาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง ปีการศึกษา 2561 มีดังนี้ (1) ปัญหาสภาพแวดล้อมด้านกายภาพและแนวทางการพัฒนา ได้แก่ ด้านอาคารสถานที่ จำนวน 10 รายการ และด้านระบบเทคโนโลยีและการสื่อสาร จำนวน 4 รายการ (2) ปัญหาสภาพแวดล้อมด้านวิชาการและแนวทางการพัฒนา ได้แก่ ด้านหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 4 รายการ ด้านสื่อการเรียนการสอน จำนวน 5 รายการ ด้านการจัดการเรียนการสอน        จำนวน 6 รายการ ด้านการวัดและประเมินผล จำนวน 5 รายการ และด้านการนิเทศการเรียนการสอน จำนวน 5 รายการ และ (3) ปัญหาสภาพแวดล้อม  ด้านการบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนา ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร จำนวน 3 รายการ และด้านการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ จำนวน 4 รายการ

          2. การดำเนินงานพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง ปีการศึกษา 2562 - ปีการศึกษา 2564 ดังนี้

2.1 ปีการศึกษา 2562 (ระยะที่ 1) ได้แก่ (1) ผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ พบว่ามีการพัฒนาด้านอาคารสถานที่ จำนวน 10 รายการ ด้านระบบเทคโนโลยีและการสื่อสาร จำนวน 4 รายการ (2) ผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านวิชาการ พบว่า มีการพัฒนาด้านหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 4 รายการ ด้านสื่อการเรียนการสอน จำนวน 5 รายการ ด้านการจัดการเรียน การสอน จำนวน 6 รายการ ด้านการวัดและประเมินผล จำนวน 5 รายการ ด้านการนิเทศการเรียนการสอน จำนวน 2 รายการ และ (3) ผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านการบริหารจัดการ พบว่า มีการพัฒนาด้านการพัฒนาบุคลากร จำนวน 3 รายการ และด้านระบบการบริหารจัดการ จำนวน 4 รายการ

2.2 ปีการศึกษา 2563 (ระยะที่ 2) ได้แก่ (1) ผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ พบว่า มีการพัฒนาด้านอาคารสถานที่ จำนวน 5 รายการ ด้านระบบเทคโนโลยีและการสื่อสาร จำนวน 1 รายการ (2) ผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านวิชาการ พบว่า มีการพัฒนาด้านหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 4 รายการ  ด้านสื่อการเรียนการสอน จำนวน 5 รายการ ด้านการจัดการเรียนการสอน จำนวน 6 รายการ ด้านการวัดและประเมินผล จำนวน 5 รายการ ด้านการนิเทศการเรียนการสอน จำนวน 5 รายการ และ (3) ผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านการบริหารจัดการ พบว่า มีการพัฒนาด้านการพัฒนาบุคลากร จำนวน 3 รายการ และด้านระบบการบริหารจัดการ จำนวน 4 รายการ

2.3 ปีการศึกษา 2564 (ระยะที่ 3) ได้แก่ (1) ผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ พบว่า มีการพัฒนาด้านอาคารสถานที่ จำนวน - รายการ ด้านระบบเทคโนโลยีและการสื่อสาร จำนวน รายการ (2) ผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านวิชาการ พบว่า มีการพัฒนาด้านหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 3 รายการ ด้านสื่อการเรียนการสอน จำนวน 5 รายการ ด้านการจัดการเรียน การสอน จำนวน 6 รายการ ด้านการวัดและประเมินผล จำนวน 5 รายการ ด้านการนิเทศการเรียนการสอน จำนวน 2 รายการ และ (3) ผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านการบริหารจัดการ พบว่า มีการพัฒนาด้านการพัฒนาบุคลากร จำนวน 3 รายการ และด้านระบบการบริหารจัดการ จำนวน 4 รายการ

3. ผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง ปีการศึกษา  2561-2564 มีดังนี้

3.1 ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง ก่อนการพัฒนาในปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับคุณภาพดี และหลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2564 มีระดับคุณภาพดีเลิศทุกปีการศึกษา

3.2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นไปตามเกณฑ์ (ผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป) ก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในปีการศึกษา 2564 (หลังการพัฒนา) สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2561 (ก่อนการพัฒนา)

3.3 ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ ก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนา พบว่า ร้อยละผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นไปตามเกณฑ์หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาร้อยละ 5.98

3.4 ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะสำคัญของนักเรียนตามหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์ ก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนา พบว่า ร้อยละผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียน ตามหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาร้อยละ 5.78

3.5 ผลการเปรียบเทียบการอ่าน เขียน และคิดวิเคราะห์ เป็นไปตามเกณฑ์ ก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนา ร้อยละผลการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียนเป็นไปตามเกณฑ์หลังการพัฒนา สูงกว่า ก่อนพัฒนาร้อยละ 1.36

     3.6 ผลการเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนที่มีผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นไปตามเกณฑ์ระดับดีขึ้นไป ก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนา พบว่า ร้อยละจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีขึ้นไป ตามผลการทดสอบระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาร้อยละ 2.02

 3.7 ผลการเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนที่มีค่าเฉลี่ยผลการการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เป็นไปตามเกณฑ์ระดับดีขึ้นไป ก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนา ร้อยละจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีขึ้นไปตามผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาร้อยละ 2.15

3.8 ประสิทธิผลการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2564

นักเรียนได้รับรางวัลระดับชาติ จำนวน  9 รางวัล ระดับภาค 2 รางวัล ระดับจังหวัด 6 รางวัล และระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 7 รางวัล และระดับเครือข่ายสถานศึกษา จำนวน 4 รางวัล ครูได้รับรางวัลระดับชาติ จำนวน 7 รางวัล ระดับจังหวัด 5 รางวัล และระดับ เขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 11 รางวัล และระดับเครือข่ายสถานศึกษา จำนวน 3 รางวัล ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับรางวัลระดับชาติ จำนวน 4 รางวัล และโรงเรียนได้รับรางวัลระดับชาติ              จำนวน 9 รางวัล ระดับจังหวัด 1 รางวัล และระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 5 รางวัล

3.9 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง เปรียบเทียบปีการศึกษา 2563 กับปีการศึกษา 2562 และเปรียบเทียบปีการศึกษา 2564 กับปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวม มีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเฉลี่ย +0.17 และ +0.30 ตามลำดับ

| ดาวน์โหลดเอกสาร | เข้าชม : 132 |
ผู้เขียน : นายพิเชษฐ์ บุญสุ
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง
ศุกร์ ที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ.2565
5 stars เฉลี่ย : 5 จาก 2 ครั้ง.


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้