[x] ปิดหน้าต่างนี้
KMOBECMAXSITE 1.2.1
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
เรื่อง : การประกวดแข่งขันงานศิลปหตถกรรมนักเรียน ปีการศึกาา 2565 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2


TOP HIT
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา

- การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้าง คุณธรรม จริยธรรม มีความสำนึกในความเป็นชาติไทย ของ สพป.ลำพูน เขต 2 [ 1899 ]
- รายงานการดำเนินงานคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 [ 1504 ]
- การพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการเรียนร่วม ส่วนที่ 2 [ 1365 ]
- การดำเนินงานส่งเสริมการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 [ 1337 ]
- การพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการเรียนร่วม ส่วนที่ 4 [ 1059 ]

 

สรุปสาระสำคัญ ขั้นตอนการดำเนินงาน และเป้าหมายของงาน

          สรุปสาระสำคัญ

งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่จะส่งเสริมให้นักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาได้ลงมือฝึกปฏิบัติ เรียนรู้และแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี และเป็นการส่งเสริมนักเรียน ครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความสามารถด้านต่าง ๆ ได้มีโอกาสแสดงออกอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์และสามารถเป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันในระดับชาติ สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2

ขั้นตอนการดำเนินงาน

          1. การวางแผน (P : Plan) ศึกษาวิเคราะห์งาน แผนงาน/โครงการ นโยบาย เป้าหมายระเบียบ กฎหมาย ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1) จัดทำโครงการการประกวดแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ปีการศึกษา 2565 เพื่อประมาณการค่าใช้จ่าย และกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน

2) พิจารณาเกณฑ์การแข่งขันแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ระดับชาติ (ภาคเหนือ)

          2. การดำเนินการ (D : Do) ดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ และปฏิทินที่กำหนด ดังนี้

1) นัดประชุมตัวแทนเครือข่าย นักวิชาการศึกษา ศึกษานิเทศก์ เพื่อเตรียมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ระดับเครือข่ายและระดับเขตพื้นที่การศึกษา

                    2) ร่างเกณฑ์การแข่งขันระดับเครือข่ายและระดับเขตพื้นที่การศึกษา

3) จัดทำเอกสารประกอบการประชุม ประสานสถานที่ประชุม จัดเตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์
สำหรับใช้ในการประชุม จดบันทึกการประชุม จัดทำรายงานการประชุม

4) ประชุมชี้แจงการจัดทำเว็บไซต์ฯ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเครือข่ายสถานศึกษา และระดับเขตพื้นที่การศึกษา

5) นำเกณฑ์การแข่งขันทุกประเภท ลงในเว็บไซต์ของสพป. ลำพูน เขต ๒

6) แจ้งให้ประธานศูนย์เครือข่าย ส่งรายชื่อนักเรียนตัวแทนแข่งขันในแต่ละรายการและครู
ผู้ฝึกสอน

7) แจ้งให้ประธานศูนย์เครือข่าย ส่งรายชื่อครูเพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการ ตรวจสอบ
และทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน

8) จัดประชุมคณะกรรมการตามคำสั่ง เพื่อชี้แจงรายละเอียดของการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

9) ประสาน/แจ้งหน่วยงานและสถานศึกษา เพื่อจัดกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมาย

10) จัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ณ เครือข่ายสถานศึกษาผู้เป็นเจ้าภาพ

11) รวบรวมข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้อง และประกาศผลการแข่งขัน ผ่านทางเว็บไซต์

12) ส่งนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกระดับเขตพื้นที่การศึกษาร่วมแข่งขันงานศิลปหัตถกรรม ระดับชาติ (ภาคเหนือ)

          3. ประเมินและสรุปผล (C : Check) สรุปผลการแข่งขันในระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยจัดทำประกาศผลการแข่งขันและนำข้อมูลเผยแพร่บนเว็บไซต์ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ปีการศึกษา 2565 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา สพป. ลำพูน เขต 2 https://north70.sillapa.net/sp-lpn2/ และตรวจสอบผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้

          4. การปรับปรุง (A : Action) นำโปรแกรมหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนา ปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน เพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

เป้าหมายของงาน

นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ได้แสดงความรู้ ความสามารถ และผลงาน ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน และเป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ ภาคเหนือ ตามลำดับ

ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณ/คุณภาพ)

เชิงปริมาณ  1) สถานศึกษาและศูนย์เครือข่ายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 78 โรงเรียน

2) นักเรียนในสังกัด จำนวน 1,574 คน ได้เป็นตัวแทนของเครือข่ายสถานศึกษา เข้าร่วมแข่งขันระดับเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง จำนวน 505 คน รองชนะเลิศอันดับที่ ๑ จำนวน 311 คน รองชนะเลิศอันดับที่ ๒ จำนวน 243 คน และอื่น ๆ จำนวน 515 คน

3) นักเรียนในสังกัด จำนวน 501 คน ได้เป็นตัวแทนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เข้าร่วมแข่งขันระดับชาติ ภาคเหนือ ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง จำนวน 16 คน รองชนะเลิศอันดับที่ ๑ จำนวน 12 คน รองชนะเลิศอันดับที่ ๒ จำนวน 4 คน และอื่น ๆ จำนวน 469 คน

เชิงคุณภาพ  นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ได้แสดงความรู้ ความสามารถ และผลงาน ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน
และเป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ ภาคเหนือ ตามลำดับ

การนำไปใช้ประโยชน์/ผลกระทบ

          นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการสนับสนุนความสามารถทางวิชาการ วิชาชีพ
และความสามารถพิเศษ
เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน มีการพัฒนาทักษะในด้านวิชาการ วิชาชีพ สุนทรียภาพทางดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ การแสดง และสิ่งประดิษฐ์ มีเวทีในการแสดงออกถึงความสามารถ ทางวิชาการ วิชาชีพ และความสามารถพิเศษ

ความยุ่งยากและซับซ้อนในการดำเนินการ

          การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเครือข่ายสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ (ภาคเหนือ) ทำให้การดำเนินงานมีหลายขั้นตอนและค่อนข้างยุ่งยากในการเตรียมการ อีกทั้งยังต้องติดตามเกณฑ์การแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดและการเสียโอกาสในการเข้าแข่งขันของนักเรียนในสังกัด รวมถึงการดำเนินการบันทึกข้อมูลจำนวนมากผ่านระบบออนไลน์

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ

          การดำเนินงานในขั้นตอนต่าง ๆ มีความซับซ้อนและต่อเนื่องกันเป็นลำดับ จึงใช้เวลาในการเตรียมการกรอกข้อมูล แต่งตั้งคณะกรรมการ และดำเนินการจัดงานในแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดค่อนข้างมาก

ข้อเสนอแนะ

          ควรกำหนดระยะเวลาในการจัดการแข่งขันเป็นระยะเวลาเดิมทุก ๆ ปี เพื่อให้ผู้บริหาร ครู และนักเรียนสามารถวางแผนการฝึกซ้อมได้

| ดาวน์โหลดเอกสาร | เข้าชม : 173 |
ผู้เขียน : Norrawit นางสาวภีมฟ้า รัศมีเนตร
หน่วยงาน : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
ศุกร์ ที่ 6 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2566
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้