การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคดิจิทัลส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการบริหารจัดการภาครัฐและภาคการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำ เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การจัดเก็บข้อมูล และการสนับสนุนการตัดสินใจในเชิงนโยบาย ตามนโยบาย Digital Transformation มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการศึกษาและบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ยุทธศาสตร์การศึกษาชาติซึ่งเน้นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า โดยบูรณาการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจและการวางแผนที่แม่นยำ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้พัฒนา ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา (School Management Support System: SMSS) ขึ้น เพื่อรองรับการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการให้มีความเป็นระบบ โปร่งใส ทันสมัย และสามารถตรวจสอบได้ ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการสถานศึกษา สร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อรองรับการวิเคราะห์เชิงลึก และใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการ ซึ่งมีนโยบายโรงเรียนคุณภาพ (Quality School Policy) เน้นการสร้างโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงาน พร้อมทั้งมีระบบสารสนเทศที่สามารถติดตามและประเมินผลการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ
ระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองนโยบายดิจิทัลของ กระทรวงศึกษาธิการ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบที่สามารถรองรับการดำเนินงานที่หลากหลายของสถานศึกษา ครอบคลุมตั้งแต่การจัดการข้อมูลบุคลากร ข้อมูลนักเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเงิน การพัสดุ และงานสารบรรณ
ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา (School Management Support System: SMSS) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานภายในสถานศึกษา โดยมีจุดเริ่มต้นจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เล็งเห็นความสำคัญของการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาใช้ในกระบวนการจัดการศึกษา เพื่อให้โรงเรียนสามารถเก็บรวบรวม ประมวลผล และนำเสนอข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร ครู บุคลากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การจัดการข้อมูลแบบเดิม (Manual) ที่ใช้เอกสารจำนวนมาก มีความซ้ำซ้อน และใช้เวลานาน ทำให้การดำเนินงานล่าช้าและขาดประสิทธิภาพ ดังนั้น สพฐ. จึงได้พัฒนาระบบ SMSS เพื่อให้สถานศึกษาทั่วประเทศสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีมาตรฐาน เชื่อมโยงข้อมูลไปยังหน่วยงานภาครัฐและส่วนกลางได้สะดวกยิ่งขึ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายผ่านโครงการ