บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านปฏิกิริยาเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 2) เพื่อประเมินด้านการเรียนรู้ของครูที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 3) เพื่อประเมินด้านพฤติกรรมของครูที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 และ 4) เพื่อประเมินด้านผลลัพธ์ ที่เกิดต่อองค์กรของครูที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลผลการประเมินด้านปฏิกิริยา ผลการประเมินด้านการเรียนรู้ ผลการประเมินด้านพฤติกรรม คือครูที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการและผ่านการอบรม จำนวน 80 คน กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลผลการประเมินด้านผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์กร คือ ผู้บริหารโรงเรียนที่มีครูเข้ารับการอบรมและผ่านการอบรม จำนวน 64 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) (บุญชม ศรีสะอาด, 2560 : 43) ใช้รูปแบบการประเมินประสิทธิผลโครงการอบรมของเคิร์กแพทริค เนื่องจากต้องการสารสนเทศที่เป็นผลของโครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ มีจำนวน 5 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ฉบับที่ 2 แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจของครูที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ตามโครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ฉบันที่ 3 แบบสอบถามประโยชน์ต่อการนำไปใช้ของครูที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 และฉบับที่ 5 แบบประเมินด้านผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์กรของครูผู้สอนที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการทั้งก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 และมีการติดตามผลภายหลังสิ้นสุดการอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมิน
1. ด้านปฏิกิริยาความพึงพอใจตามตัวชี้วัดในภาพรวม มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาในแต่ละตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัวชี้วัด มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
2. ด้านการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดในภาพรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านการประเมินตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และเมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดทั้ง 2 ตัวชี้วัด มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
3. ด้านพฤติกรรมของครูที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการตามตัวชี้วัด ในภาพรวมมีผล การประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และเมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัด ทั้ง 2 ตัวชี้วัด มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน ที่กำหนดไว้
4. ด้านผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์กร ตามตัวชี้วัดในภาพรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทั้ง 2 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดด้านการเปลี่ยนแปลง ในการจัดการเรียนการสอนของครู มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และตัวชี้วัดครูที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการนำความรู้จากการอบรมไปขยายผล ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพของโครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านการประเมินตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด ผลการประเมินด้านปฏิกิริยาความพึงพอใจ จำนวน 5 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์การประเมินครบทุกตัวชี้วัด ผลการประเมินด้านการเรียนรู้ของครูที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 ตัวชี้วัด ผ่านการประเมินตามเกณฑ์การประเมินครบทุกตัวชี้วัด ผลการประเมินด้านพฤติกรรมจำนวน 2 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์การประเมินครบทุกตัวชี้วัด และผลการประเมินด้านผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์กรจำนวน 2 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์การประเมินครบทุกตัวชี้วัด รวมจำนวน 11 ตัวชี้วัด ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ครบทุกตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
จากการประเมิน มีประเด็นที่สำคัญที่ผู้ประเมินขอเสนอเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ควรนำผลการประเมินเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ควรมีการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินของโรงเรียนการส่งเสริมพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับโรงเรียนที่นำเสนอสื่อ นวัตกรรมที่ประสบผลสำเร็จ ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เช่น การชื่นชมให้กำลังใจ การมอบโล่ และการมอบเกียรติบัตร เป็นต้น
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 อาจใช้รูปแบบการประเมินโครงการโดยใช้ทฤษฎีอื่น ๆ เพื่อให้การประเมินครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ระดับโรงเรียน
1. โรงเรียนควรส่งเสริม สนับสนุนและช่วยเหลือ ครูผู้สอนให้สามารถประยุกต์ใช้สื่อ นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
2. โรงเรียนควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการใช้สื่อ นวัตกรรมส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น