[x] ปิดหน้าต่างนี้
KMOBECMAXSITE 1.2.1
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
เรื่อง : รายงานการพัฒนาสถานศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 2


TOP HIT
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

- การใช้หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 [ 6320 ]
- ผลการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ [ 1961 ]
- รายงานการนิเทศ ติดตามผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE [ 1765 ]
- รายงานผลการพัฒนาครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ต (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้กระบวนการนิเทศเชิงระบบ [ 1741 ]
- การนิเทศครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อยกระดับการเรียนการสอน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สพป.ลำพูน เขต 2 [ 990 ]

 รายงานการพัฒนาสถานศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองด้วยกระบวนการพัฒนาแบบผสมผสาน

ชื่อผู้จัดทำ นางอโนทัย กัญญสาย 
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต ๒
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อรายงานผลการดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
โดยใช้กระบวนการพัฒนาแบบผสมผสาน
๒. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโครงการเตรียมความพร้อมสถานศึกษาเพื่อรองรับ การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง 
ประชากร
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตประชากรเฉพาะสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต ๒ ที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองและได้รับการรับรองผลจาก สมศ. แล้วในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ จำนวน ๘ แห่ง
วิธีการดำเนินการ
ในการดำเนินการพัฒนา สถานศึกษาดังกล่าว ผู้รายงานได้กำหนดกระบวนการพัฒนาแบบผสมผสาน ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ๕ กิจกรรม ได้แก่
๑. การวางแผนการพัฒนาสถานศึกษา
๒. การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาและการรายงานผลการประเมินคุณภาพภายใน
๓. การประชุมปฏิบัติการอบรมให้ความรู้
๔. การนิเทศ ติดตาม กำกับ 
๕. การประชุมสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้
สรุปผล
จากการประเมินรายมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนในการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า
• ด้านคุณภาพผู้เรียน มี สถานศึกษาที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก จำนวน ๑ แห่ง ระดับดี จำนวน ๘ แห่ง ระดับพอใช้ จำนวน ๒ แห่ง
• ด้านการจัดการเรียนการสอน มี สถานศึกษาที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก จำนวน ๒ แห่ง ระดับดี จำนวน ๔ แห่ง ระดับพอใช้ จำนวน ๕ แห่ง
• ด้านการบริหารและการจัดการ มี สถานศึกษาที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก จำนวน ๔ แห่ง ระดับดี จำนวน ๗ แห่ง 
• ด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ มี สถานศึกษาที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก จำนวน ๓ แห่ง ระดับดี จำนวน ๗ แห่ง ระดับพอใช้ จำนวน ๑ แห่ง
ผลการประเมินภาพรวมของสถานศึกษา 
จากผลการประเมินภาพรวมของสถานศึกษา พบว่า มีสถานศึกษาที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก จำนวน ๒ แห่ง ระดับดี จำนวน ๙ แห่ง
ผลการนิเทศโดยใช้แบบประเมินสภาพการดำเนินงานของสถานศึกษา พบว่า
- สถานศึกษาทุกแห่งมีแผนพัฒนาสถานศึกษา/แผนปฏิบัติราชการประจำปี
- มีสถานศึกษาจำนวน ๒ แห่ง จัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาโดยกำหนดมาตรฐาน (๑๘ ++) เป็นเป้าหมายในการดำเนินงาน และมีจำนวน ๙ แห่ง ที่ไม่ได้กำหนดมาตรฐาน (๑๘ ++)
- ในแผนปฏิบัติการ การกำหนดโครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์และตัวบ่งชี้ ความสำเร็จในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย ของสถานศึกษาทุกแห่งไม่ชัดเจน
- ในแต่ละมาตรฐานที่เป็นเป้าหมายของแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาทุกแห่งไม่มีตัวบ่งชี้อย่างน้อย ๓ ใน ๔ ของตัวบ่งชี้ของมาตรฐานสำหรับประเมินภายนอก
- การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี/โครงการ/กิจกรรมสถานศึกษาทุกแห่ง ไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด
-สถานศึกษาทุกแห่งไม่มีการประเมินผลสำเร็จในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี/โครงการ/กิจกรรมที่กำหนดให้อย่างชัดเจน
- การดำเนินงานของสถานศึกษาทุกแห่งไม่บรรลุตัวบ่งชี้ทุกตัวในมาตรฐาน/เป้าหมายตามแผน
ผลการประเมินโดยแบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์และความเป็นเอกภาพของแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
๑. สถานศึกษาส่วนมากมีข้อมูลสารสนเทศที่ไม่ครบถ้วน ขาดความสมบูรณ์ตามรายงานของสถานศึกษา
๒. สถานศึกษาส่วนมากขาดข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันและไม่ครบถ้วนตามภาระงานของสถานศึกษา (๑๘++) 
๓. ปรัชญาของสถานศึกษาทุกแห่ง ไม่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ความต้องการในการพัฒนาของชุมชน เพราะเป็นปรัชญาที่ทำมานานแล้ว
๔. คำขวัญของสถานศึกษาทุกแห่ง ไม่สอดคล้องกับปรัชญา
๕. คำขวัญของสถานศึกษาทุกแห่ง ไม่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ความต้องการในการพัฒนาของชุมชน เพราะทำมานานแล้ว ที่มาเป็นอย่างไรไม่ทราบ
๖. วิสัยทัศน์ของสถานศึกษาทุกแห่งไม่ครอบคลุมปรัชญา คำขวัญ มาตรฐาน (๑๘++)
๗. วิสัยทัศน์ของสถานศึกษาทุกแห่งกำหนดวิธีการในการพัฒนาไว้ไม่ครอบคลุมและชัดเจน
๘. พันธกิจของสถานศึกษาทุกแห่งไม่ครอบคลุมวิสัยทัศน์ (ปรัชญา + คำขวัญ +๑๘++)
๙. การกำหนดเป้าหมายตามแผน หรือตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนของสถานศึกษาทุกแห่งไม่ครอบคลุมพันธกิจ
๑๐. สถานศึกษาทุกแห่งไม่มีการกำหนดกลยุทธ์ วิธีการ มาตรการในการพัฒนาเพิ่มเติม
๑๑. โครงการ/กิจกรรม/มาตรฐานสถานศึกษาทุกแห่ง ไม่ครอบคลุมพันธกิจและส่วนมากไม่ครอบคลุมนโยบายและเป้าหมาย
๑๒. โครงการ/กิจกรรม (ใช้วิเคราะห์พัฒนาโครงการ/กิจกรรม) ของสถานศึกษาส่วนมาก มีหลักการและเหตุผล/ไม่ชัดเจน
- การกำหนดวัตถุประสงค์ของสถานศึกษาส่วนมาก ไม่ถูกต้องและไม่ชัดเจน
- การกำหนดเป้าหมาย ไม่ครอบคลุมวัตถุประสงค์และไม่ชัดเจน
- การกำหนดวิธีการดำเนินการ กำหนดรายละเอียดของสถานศึกษาส่วนมาก ขาดความเป็นไปได้
- สถานศึกษาทั้งหมดสามารถระบุ งบประมาณ ระบุจำนวนเงินและแหล่งที่มา
- วิธีการวัดและประเมินของสถานศึกษาทุกแห่ง ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
- ตัวชี้วัดความสำเร็จของสถานศึกษาทุกแห่งไม่ถูกต้องตามหลักการ
๑๓. โครงการ/กิจกรรม ที่มีอยู่ในแผนพัฒนาฯ ในภาพรวมของสถานศึกษาส่วนมากไม่มีความเป็นเอกภาพและความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน
๑๔. การบริหารแผนการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทุกแห่งในรอบปีที่ผ่านมาไม่ครบวงจรคุณภาพเด็มมิ่ง (PDCA)
จากตารางการประเมินสภาพการดำเนินงานของสถานศึกษาแบบอิงสถานศึกษา พบว่า ในด้านมี/บรรลุ มีเพียงข้อเดียวคือ ข้อ ๑ สถานศึกษามีแผนพัฒนาสถานศึกษา/แผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยสถานศึกษาทั้งหมด ส่วนที่เหลือทุกข้อสถานศึกษามีสภาพการดำเนินงานไม่มี/ไม่บรรลุ โดยเรียงลำดับได้ดังนี้ สถานศึกษาทั้งหมดมีสภาพการดำเนินงานไม่มี/ไม่บรรลุ ในข้อ ๔ ในแต่ละมาตรฐานที่เป็นเป้าหมายของแผนปฏิบัติการ มีตัวบ่งชี้อย่างน้อย ๓ ใน ๔ ของตัวบ่งชี้ ของมาตรฐานสำหรับประเมินภายนอก, ข้อ ๕ สถานศึกษามีการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี/โครงการ/กิจกรรมที่กำหนดไว้ครบถ้วน, ข้อ ๖ สถานศึกษามีการประเมินผลสำเร็จในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี/โครงการ/กิจกรรมที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และข้อ ๗ การดำเนินงานของสถานศึกษาบรรลุตัวบ่งชี้ทุกตัวในมาตรฐาน/เป้าหมายตามแผน ส่วนข้อ ๒ สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาโดยกำหนดมาตรฐาน (๑๘++) เป็นเป้าหมายในการดำเนินงาน และข้อ ๓ ในแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาได้กำหนดให้มีโครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์และตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่ชัดเจน สถานศึกษาส่วนใหญ่ (จำนวน ๙ แห่ง) มีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับไม่มี/ไม่บรรลุ
ข้อเสนอแนะ
๑. ควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผน
๒. ควรจัดอบรมการจัดทำสมัชชาธรรมนูญโรงเรียนให้เข้าใจตรงกัน
จากตารางการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และความเป็นเอกภาพของแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา พบว่า ในรายข้อ ส่วนใหญ่มีการวิเคราะห์อยู่ในด้านไม่ใช่ ในทุกข้อโดยสถานศึกษาทุกแห่งระบุว่า ไม่ใช่ จำนวน ๗ ข้อ คือ ข้อ ๔ คำขวัญที่มีอยู่สอดคล้องกับปรัชญาหรือไม่ ข้อ ๕ คำขวัญที่มีอยู่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ความต้องการในการพัฒนาของชุมชน ข้อ ๖ วิสัยทัศน์ครอบคลุมปรัชญา คำขวัญ และมาตรฐาน (๑๘++) ข้อ ๗ วิสัยทัศน์กำหนดวิธีการในการพัฒนาไว้ครอบคลุมและชัดเจนหรือไม่ ข้อ ๘ พันธกิจครอบคลุมวิสัยทัศน์ (ปรัชญา+คำขวัญ+๑๘++) ข้อ ๑๐ มีการกำหนดกลยุทธ์ วิธีการ มาตรการในการพัฒนาเพิ่มเติม และ ข้อ ๑๔ การบริหารแผนการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา เป็น PDCA 
ส่วนรายกรณีข้อย่อยมีเพียง ๒ ข้อย่อยเท่านั้น ที่สถานศึกษาส่วนใหญ่เลือกอยู่ในระดับใช่ คือ ข้อ ๑๒.๕ งบประมาณระบุจำนวนเงินและแหล่งที่มา และ ข้อ ๑๓.๒ มีความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน
ในด้านผลการประเมินในรอบแรกนั้น สามารถสรุปผลการประเมินได้ดังนี้
ด้านผู้เรียน
มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ มาตรฐานที่ ๖ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองรักการเรียนและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานที่ ๙ ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพที่สุจริต และมาตรฐานที่ ๑๒ ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรีและกีฬา โรงเรียนส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี ส่วนมาตรฐานที่ ๕ ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร และมาตรฐานที่ ๑๐ ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี โรงเรียนส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ ส่วนมาตรฐานที่ ๔ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ โรงเรียนส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับปรับปรุง
ด้านครู
ทั้ง ๒ มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ ๒๒ ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมาตรฐานที่ ๒๔ ครูมีคุณวุฒิ/ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบและมีครูเพียงพอ โรงเรียนส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี
ด้านผู้บริหาร
ในมาตรฐานที่ ๑๔ สถานศึกษาส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา มาตรฐานที่ ๑๘ สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมาตรฐานที่ ๒๐ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหารจัดการ โรงเรียนส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี ส่วนมาตรฐานที่ ๑๓ สถานศึกษามีการจัดองค์กร/โครงสร้าง และการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจรให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา และมาตรฐานที่ ๒๕ สถานศึกษามีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้
ส่วนในรอบที่ ๒ นั้น สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
ด้านผู้เรียนมี ๖ มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ ๒ ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี มาตรฐานที่ ๓ ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรีและกีฬา มาตรฐานที่ ๔ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ มาตรฐานที่ ๕ ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรมาตรฐานที่ ๖ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองรักการเรียนและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และมาตรฐานที่ ๗ ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพที่สุจริต ส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีทุกมาตรฐาน ส่วนมาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก 
ด้านครู มาตรฐานที่ ๘ ครูมีคุณวุฒิ/ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบและมีครูเพียงพอ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี และระดับพอใช้เท่ากัน ส่วนมาตรฐานที่ ๙ ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี 
ด้านผู้บริหาร มาตรฐานที่ ๑๑ สถานศึกษามีการจัดองค์กร/โครงสร้างและการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจรให้บรรลุเป้าหมายการศึกษาสำคัญ มาตรฐานที่ ๑๒ สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมาตรฐานที่ ๑๓ สถานศึกษามีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี ส่วนมาตรฐานที่ ๑๐ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหารจัดการ และมาตรฐานที่ ๑๔ สถานศึกษาส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีและระดับดีมาก ในจำนวนที่เท่ากัน คือ ๔ แห่ง

ด้านผู้เรียน เปรียบเทียบผลการประเมินรอบแรกกับรอบที่สอง พบว่า ด้านผู้เรียน ทุกมาตรฐานมีผลการประเมินระดับไม่ได้การรับรองลดลงในทุกมาตรฐาน โดยมาตรฐานที่มีผลการประเมินในระดับไม่ได้การรับรองลดลงมากที่สุด เมื่อคิดเป็นร้อยละ คือ มาตรฐานที่ ๕ ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร มาตรฐานที่ ๔ ผู้เรียนมีสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณมีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ มาตรฐานที่ ๖ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ส่วนมาตรฐานที่ ๒ ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และ มาตรฐานที่ ๗ ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี มีการเปลี่ยนแปลงเท่ากัน
ด้านครู เปรียบเทียบผลการประเมินรอบแรกกับรอบที่สอง พบว่า ผลการประเมินที่อยู่ในระดับไม่ได้รับการรับรองลดลงทั้งสองมาตรฐาน โดย มาตรฐานที่ ๘ ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย ด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา จากไม่ได้การรับรอง ๕ แห่ง (ร้อยละ ๖๒.๕๐) รอบที่สองรับรองทั้งหมด ส่วนมาตรฐานที่ ๙ ครูมีคุณธรรมจริยธรรม มีวุฒิ/ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบหมั่นพัฒนาตนเอง เข้ากับชุมชนได้ดีและมีครูพอเพียง รอบแรกไม่ได้การรับรอง ๕ แห่ง (ร้อยละ ๖๒.๕๐) รอบที่สองไม่ได้การรับรอง ๑ แห่ง (ร้อยละ ๑๒.๕๐)
ด้านผู้บริหาร เปรียบเทียบผลการประเมินรอบแรกกับรอบที่สอง พบว่า ทั้ง ๕ มาตรฐาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับลดลงทั้ง ๕ มาตรฐาน โดยไม่มีมาตรฐานใดที่ไม่ได้การรับรอง
ในภาพรวม พบว่าในรอบสอง สถานศึกษาทั้ง ๘ แห่ง มีผลการประเมินอยู่ในระดับได้รับการรับรองทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินรอบแรกและรอบที่สองอบว่า สถานศึกษามีผลการประเมินคงที่ ๑ แห่ง (ร้อยละ ๑๒.๕๐) สูงขึ้น ๗ แห่ง (ร้อยละ ๘๗.๕๐)

| ดาวน์โหลดเอกสาร | เข้าชม : 526 |
ผู้เขียน : พงศ์พล ห่อตระกูล
หน่วยงาน : -
ศุกร์ ที่ 30 เดือน มกราคม พ.ศ.2558
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้