การดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่ 2 ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมความมีจิตสาธารณะ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์นั้น ผลการดำเนินการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 มีดังนี้
1.ข้อมูลจำนวนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จำนวนทั้งสิ้น 92 โรงเรียน
1.1 โรงเรียนที่ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมความมีจิตสาธารณะ ความรับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 92 โรงเรียน
1.2 โรงเรียนดำเนินการจัดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 92 โรงเรียน
2. การดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมความมีจิตสาธารณะ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน2.1 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2จำนวน 92 โรงเรียน ได้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมความมีจิตสาธารณะ จำนวน 92โรงเรียน หรือคิดเป็นร้อยละ 100 พบว่า มีกิจกรรมจำนวน 387 กิจกรรม โดยแบ่งออกเป็น- กิจกรรมที่เกี่ยวกับจิตสาธารณะด้านความรับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 218 กิจกรรม - กิจกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 169 กิจกรรม 2.1 โรงเรียนที่จัดกิจกรรมเป็นแบบอย่างในการจัดกิจกรรมส่งเสริมความมีจิตสาธารณะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม และด้านภัยพิบัติของโรงเรียนที่เป็นแบบอย่าง จำแนกเป็นรายด้านของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2จำนวน 4 โรงเรียน
การสังเคราะห์การจัดกิจกรรมส่งเสริมความมีจิตสาธารณะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและด้านสิ่งแวดล้อมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ประกอบด้วย
1) ด้านกิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างชุมชนและสถานศึกษา (ร้อยละ 90.35) และกิจกรรมที่ดำเนินการในสถานศึกษา (ร้อยละ 9.65) เมื่อพิจารณาด้านกิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างชุมชนและสถานศึกษา กิจกรรมที่มีจำนวนโรงเรียนดำเนินการมากที่สุดคือ การบำเพ็ญประโยชน์พัฒนาบ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน ที่เกี่ยวกับการทำความสะอาด การให้บริการต่าง ๆและกิจกรรมทางศาสนา (ร้อยละ 52.38) รองลงมาได้แก่ การร่วมกับชุมชน รณรงค์ไปใช้สิทธิการเลือกตั้งรณรงค์กำจัดยุงลาย (ร้อยละ 25.46) กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารีและกิจกรรมค่ายคุณธรรม (ร้อยละ 22.16)
2) กิจกรรมที่ดำเนินการในสถานศึกษาที่มีการดำเนินการมากที่สุด ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา (ร้อยละ 8.25 ) รองลงมาได้แก่ กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารีและกิจกรรมค่ายคุณธรรมจริยธรรม และกิจกรรมจิตอาสา (ร้อยละ 7.24)
ด้านสิ่งแวดล้อมประกอบด้วยในด้านสิ่งแวดล้อม โรงเรียนมีกิจกรรมหลักประกอบด้วยการประหยัดน้ำ การประหยัดไฟ การลดปริมาณขยะ การใช้กระดาษสองหน้า ลดการใช้พลาสติก การปลูกต้นไม้ รอบโรงเรียนซึ่งในกิจกรรมหลักดังกล่าวพบว่าโรงเรียนมีการดำเนินการมากที่สุด (ร้อยละ95.79) รองลงมาได้แก่กิจกรรมเน้นแนวทางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสร้างความตระหนัก การใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การปรับภูมิทัศน์ จิตอาสา โครงงานคุณธรรม (ร้อยละ 4.21)
การดำเนินงานของโรงเรียนที่แสดงถึงผลสำเร็จจุดเด่นจุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะ/แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาที่เป็นแบบอย่างให้แก่โรงเรียนอื่นและผู้สนใจทั่วไป
1. โรงเรียนที่จัดกิจกรรมด้านจิตสาธารณะความรับผิดชอบต่อสังคมประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนที่ผู้บริหารสถานศึกษาผู้ปกครองและชุมชนรวมทั้งวัดคือสามารถประสานความร่วมมือเป็นบวร (บ้านวัดโรงเรียน) เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ส่งผลให้โรงเรียนได้รับการช่วยเหลือในการนำนักเรียนไปทำกิจกรรมจิตสาธารณะไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลาเรื่องทรัพย์สินหรือสิ่งของและการที่โรงเรียนจะบรรลุเป้าหมายได้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้บริหารโรงเรียนต้องเป็นผู้มีจิตสาธารณะมีความเสียสละและเห็นคุณค่าของการทำกิจกรรมด้านจิตสาธารณะพร้อมทั้งลงมือทำอย่างจริงจัง
2. โรงเรียนที่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรมีปัจจัยหลายประการที่ทำให้การดำเนินกิจกรรมด้านจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อสังคมไม่บรรลุเป้าหมายสรุปได้ดังนี้
1) ผู้บริหารสถานศึกษาไม่เห็นความสำคัญของกิจกรรมจิตสาธารณะ
2) บุคลากรในโรงเรียนไม่ให้ความร่วมมือเนื่องจากไม่ได้รับการปลูกฝังให้เห็นคุณค่าของจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม
3) โรงเรียนปฏิบัติกิจกรรมด้านจิตสาธารณะแบบไม่เข้าใจคือคิดแต่เพียงว่า จิตสาธารณะคือการบริจาคสิ่งของหรือการช่วยเหลือสังคมเท่านั้นไม่ได้คิดว่าหมายความรวมถึง การคิดถึงส่วนรวมการทำสิ่งที่ส่งผลหรือเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมไม่ทำลายผู้อื่นไม่ทำลายประเทศชาติในทุกๆเรื่องแม้กระทั่งไม่ทำลายด้วยคำพูดเช่นกันการคิดดีพูดดีไม่ทำลายบุคคลสังคมและวัฒนธรรมก็เป็นจิตสาธารณะอย่างหนึ่งเช่นกัน
4) โรงเรียนขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติกิจกรรมด้านจิตสาธารณะเนื่องจากการที่จะให้เกิดจิตสาธารณะนั้นเกิดจากทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในจำเป็นต้องใช้เวลาและต้อง ค่อยเป็นค่อยไปต้องอาศัยการกล่อมเกลาและสะสมอยู่ในส่วนของการรับรู้ทีละเล็กทีละน้อยทำให้เกิดสำนึกที่มีรูปแบบหลากหลายภาวะแวดล้อมทางสังคมนี้เริ่มตั้งแต่พ่อแม่พี่น้องญาติเพื่อนครูสื่อมวลชนบุคคลทั่วไปตลอดจนระดับองค์กรวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อกฎหมายศาสนารวมทั้งภาวะแวดล้อมด้านสื่อสารมวลชนและส่วนที่กำกับสำนึกของบุคคลคือการได้สัมผัสจากการใช้ชีวิตที่มีพลังต่อการเกิดสำนึกอาทิการไปโรงเรียนไปทำงานดูละครฟังผู้คนสนทนากันเป็นต้นดังนั้นโรงเรียนจึงจำเป็นต้องจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ให้กับนักเรียนให้เอื้อต่อการเกิดจิตสาธารณะซึ่งโรงเรียนที่ไม่ประสบความสำเร็จจึงเกิดจากสาเหตุดังกล่าวข้างต้นเสียส่วนใหญ่
3. โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จด้านการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนที่ทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งระบบคือนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตนั่นเองและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการคิดหรือสอดแทรกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปในทุกขั้นตอนของการดำเนินกิจกรรรมเช่นกิจกรรมทานอาหารของนักเรียนต้องเริ่มตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบที่นำมาใช้ประกอบอาหารต้องมองให้ลึกลงไปถึงที่มาของวัตถุดิบเหล่านั้นเช่นการเลือกซื้อเนื้อหมูก็จำเป็นต้องพิจารณาเลือกซื้อเนื้อหมูที่ชำเหละในจังหวัดหรือในท้องถิ่นนั้นซึ่งจะไม่สิ้นเปลืองพลังงานในการขนส่งหรือไม่เลือกเนื้อหมูที่แช่แข็งเพราะต้องเปลืองพลังงานในการแช่แข็งเป็นต้น
ปัญหาและอุปสรรค
1. ครูและบุคลากรมีภาระงานมาก ภาระงานซ้ำซ้อน ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่
2. ครูยังไม่เข้าใจในเรื่องการพัฒนาจิตสาธารณะของผู้เรียนที่แท้จริง
3. การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการพัฒนาจิตสาธารณะของผู้เรียนไม่ชัดเจน
4. ขาดความรู้ทางด้านจิตวิทยาเด็ก
5. กิจกรรม การพัฒนาจิตสาธารณะ ยังไม่ชัดเจน
ข้อเสนอแนะ
1. ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายด้านการส่งเสริมจิตสาธารณะ ความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานระดับที่สูงขึ้น
2. ควรมีการเสริมแรงด้านการทำกิจกรรมจิตสาธารณะ ความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมเช่น การหาบุคคลต้นแบบด้านจิตสาธารณะ ความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแรงบันดาลใจแก่นักเรียนในการทำกิจกรรม เป็นต้น
3. ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ควรปฏิบัติตนเป็นต้นแบบในการทำกิจกรรมด้านจิตสาธารณะ ความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
|