เรื่อง การดำเนินงานโครงการงานชุมนุมครบรอบ ๑๐๐ ปี ลูกเสือไทย ร่วมใจฉลองครบรอบ ๘๔ พรรษา มหาภูมิพล พ.ศ. ๒๕๕๔
ของ นายธนกร คำเฟื่องฟู
เพื่อ ประกอบการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา ชำนาญการพิเศษ
ลูกเสือ เนตรนารี เป็นกิจกรรมในสถานศึกษาที่ส่งเสริมให้เยาวชนเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย อันดีงาม มุ่งเน้นให้เป็นผู้นำ รู้จักช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น ซึ่งเป็นไปตาม พระราชบัญญัติลูกเสือ พุทธศักราช ๒551 กลยุทธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต ๒ หลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม ระหว่างหน่วยงาน สถานศึกษา องค์กรชุมชน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและสิ่งแวดล้อม ชุมชน ชาติบ้านเมืองมั่นคงและความยั่งยืน หลักการดำเนินงานลูกเสือ ๓ D ได้แก่ Democracy(ประชาธิปไตย) Decency (คุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย) และ Drug-Free (ภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด )
การดำเนินงานโครงการงานชุมนุมครบรอบ ๑๐๐ ปี ลูกเสือไทย ร่วมใจฉลองครบรอบ ๘๔ พรรษา มหาภูมิพล ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ จะต้องมีขั้นตอนดำเนินงานให้เกิดศักยภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด จำเป็นต้องมีกระบวนการดำเนินงาน โดยการบริหารงานเชิงระบบ PDCA ดังนี้
1. ขั้นการวางแผน (P)
- อำนวยการ ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต้นสังกัด สถานศึกษา และองค์ภาครัฐและเอกชน ชุมชน
- วางแผนการดำเนินงาน โดยการแต่งตั้งคณะดำเนินงาน ได้แก่ คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการฝ่ายอาคารสถานที่ การเงิน บัญชี พัสดุ ธุรการ ทะเบียน และการรับรายงานตัว
2. ขั้นการลงมือปฏิบัติ (D)
- ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักและเข้าใจในกระบวนการจัดกิจกรรมชุมนุมลูกเสือ เนตรนารี
- ดำเนินงานกิจกรรมตามระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้
(๑) คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ
(๒) จัดเตรียมสถานที่ชุมนุมลูกเสือ เนตรนารี
(๓) ดำเนินงานชุมนุมลูกเสือเนตรนารี ระหว่างวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ – ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
3. ขั้นการติดตามตรวจสอบ (C)
- กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานทุกขั้นตอน
- สรุปผลการดำเนินงาน ตรวจสอบ
4. ขั้นการรายงานผล (A)
- สรุปผลการดำเนินงาน
- รายงานผลการดำเนินแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
การนำไปใช้ประโยชน์
การดำเนินงานโครงการงานชุมนุมครบรอบ ๑๐๐ ปี ลูกเสือไทย ร่วมใจฉลองครบรอบ ๘๔ พรรษา มหาภูมิพล ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ มีการนำประโยชน์ไปใช้ในระดับสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ชุมชน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต ๒ สามารถสรุปได้ดังนี้
๑. สถานศึกษาสามารถดำเนินงานลูกเสือ เนตรนารี ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดคุณภาพ
๒. ครูและบุคลากรทางการศึกษา เกิดความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะ ในการจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี
๓. ผู้เรียน เป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
๔. ชุมชน องค์กรท้องถิ่น สถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต ๒ เกิดความรักความสามัคคี จากการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมจนเกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา
ข้อเสนอแนะ
เพื่อให้การดำเนินงาน โครงการงานชุมนุมครบรอบ ๑๐๐ ปี ลูกเสือไทย ร่วมใจฉลองครบรอบ ๘๔ พรรษา มหาภูมิพล ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา สามารถสรุปข้อเสนอแนะได้ดังนี้
1. ควรมีการส่งเสริมพัฒนาค่ายลูกเสือ เนตรนารี ให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
2. ควรให้มีการสนับสนุนงบประมาณ และทรัพยากรในการพัฒนาอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงานของค่ายลูกเสือ เนตรนารี
3. จัดหาสถานที่ให้เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรม
4. พัฒนาบุคลากรให้มีวุฒิ และประสบการณ์ทางด้านกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี
นายธนกร คำเฟื่องฟู
นักวิชาการศึกษา ชำนาญการ
ผู้เขียน : ธนากร คำเฟื่องฟู
หน่วยงาน : กลุ่มส่งเสริมการศึกษา สพป.ลำพูน เขต ๒
อังคาร ที่ 26 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2555