“E-learning ไทยในยุค Gen Y”
ลภัสรดา ฝั้นแยง
ประเทศไทยเรานั้นได้มีการนำเอาเทคโนโลยีที่ช่วยในการเรียนการสอน เข้ามาใช้เป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว โดยระยะแรกการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็พัฒนามาเป็น สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนามาเป็น WBI หรือการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ ซึ่งสามารถเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็วมากกว่าสื่อ CAI และเทคโนโลยีล่าสุดก็คือ e-learning สำหรับตัวเจ้า e-learning นี้ในไทยเราได้มีการนำมาใช้มานานแล้ว และปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ แต่ยุคสมัยได้เปลี่ยนไป ตอนนี้เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุครุ่น Gen Y บทความนี้จะนำท่านไปทำความรู้จักกับ รูปแบบ e-learning ที่จะเกิดขึ้นในยุครุ่น Gen Y ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับความหมายของ e-learningกันก่อน
การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-เลิร์นนิ่ง (e-learning) ที่กล่าวถึงนั้น หมายถึง การเรียนรู้บนฐานเทคโนโลยี (Technology-based learning) ซึ่งครอบคลุมวิธีการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น การเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ (computer-based learning) การเรียนรู้บนเว็บ (web-based learning) ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual classrooms) และความร่วมมือดิจิทั่ล (digital collaboration) เป็นต้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น อินเทอร์เน็ต(internet) อินทราเน็ต(intranet) เอ็กซ์ทราเน็ต(extranet) การถ่ายทอดผ่านดาวเทียม (satellite broadcast)แถบบันทึกเสียงและวิดีทัศน์ (audio/video tape) โทรทัศน์ที่สามารถโต้ตอบกันได้ (interactive TV) และซีดีรอม (CD-ROM)(เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ : วารสาร IFD)
การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-learning เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่น ๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย (e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime) และเพื่อรองรับการเรียนรู้ของคนในยุค Gen Y ด้วย แล้ว ยุค Gen Y คืออะไร? กลุ่มคนประเภทไหนบ้างที่เป็น Gen Y?
Gen Y ย่อมาจากคำเต็มว่า Generation Y ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เกิดหลังปี 2520 ที่กอดคอและเติบโตขึ้นมากับมือถือ โน้ตบุ๊ก ไอพอด เอ็มพี 3 กูเกิล เอ็มเอสเอ็น ไฮไฟฟ์ และเฟซบุ๊ก ว่ากันว่า เฉพาะคน Gen Y ในประเทศไทยมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 20ล้านคน หรือเท่ากับ 30% ของคนทั้งประเทศ พวกเขาเกิดในช่วงเวลาที่บ้านเมืองสงบสุข และเติบโตมาในยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างมากของสภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เป็นวัยที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน มีลักษณะนิสัยชอบแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบอยู่ในกรอบและไม่ชอบเงื่อนไข Gen Yเป็นคนทันสมัย ไม่ตกยุค และมักเบื่อง่าย พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่ทันโลก ทันเทคโนโลยี สามารถใช้อุปกรณ์และเครื่องมือได้คล่องแคล่ว มักมีความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หลากหลาย สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและพร้อมพัฒนาตนเองอยู่เสมอ พฤติกรรมเด่นของคนในรุ่น Gen Y มีดังนี้
1. มีความมั่นใจในตัวเองสูง
2. กล้าแสดงออก ไม่หวั่นกับคำวิจารณ์
3. ชอบทางลัด สะดวก รวดเร็ว และ High Technology เป็นที่สุด
4. ทุกคำถามมีคำตอบในโลกอินเตอร์เน็ต
5. คุยกันทางอินเตอร์เน็ตแทนการคุยทางโทรศัพท์
6. มี I pod, I phone ติดตัว มีเสียงเพลงเป็นเพื่อน
7. ดูทีวีและฟังวิทยุน้อยลง แต่ไปเพิ่มที่การสื่อสารแบบไร้สาย และการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต
8. ชื่นชอบสีสันสดใส
9. รักความบันเทิง
10.รักบรรยากาศสนุกสนาน มีชีวิตชีวา
11.ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี แต่กลับรู้สึกท้าทายและมองการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในแง่บวก
จากลักษณะเด่นของคนในยุค Gen Y จะเห็นว่าคนในยุคนี้จะนิยมใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น MySpace Facebook YouTube และ LinkedIn ทำให้มีความหลากหลายมากกว่าในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เลือกชม Clip VDO ค้นหาและDownload เพลงหรือภาพยนตร์ สร้างเครือข่ายสังคม และการสนทนา (Chat) ที่ผ่านระบบส่งข้อความทันที (Instant Messaging) ฉะนั้นเทคโนโลยีทางด้าน e-learning ก็ต้องมีการพัฒนาให้เหมาะกับความสามารถ ความสนใจ และพฤติกรรมในการเรียนรู้ของคนในยุค Gen Y ด้วย
การใช้สื่อการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนที่อยู่ในรุ่น Gen Y จะต้องเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถศึกษาได้เองโดยไม่จำเป็นต้องมีผู้บรรยาย สื่อที่จะนำมาใช้นั้นต้องเป็นสื่อประสม ชนิดมัลติมีเดีย มีทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง อาจเป็นวิดีโอ หรืออนิเมชั่น ทั้งนี้เพราะสื่อการเรียนแบบใดแบบหนึ่งเพียงแบบเดียว นั้น จะไม่สามารถดึงดูดความสนใจของคน Gen Y ได้ สำหรับคนรุ่น Gen Y อินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ มีส่วนสำคัญกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่อย่างมาก และด้วยความที่คน Gen Y มี ลักษณะที่ทะเยอทะยาน เรียกร้อง และตั้งคำถามกับทุกสิ่ง หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง ติดเพื่อน ชอบทำหลายๆ อย่างพร้อมกันเ ป็นเหตุให้การเรียนรู้ของคน Gen Y ต้องมีลักษณะ ใช้เวลาน้อย เรียนรู้ได้เร็ว มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกัน รวมถึงการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันด้วย สื่อการเรียนการสอนที่ดีที่จะสามารถใช้กับคนรุ่นนี้ได้อย่างได้ผลนั้น ต้องไม่น่าเบื่อ แปลกใหม่ มีรูปแบบท้าทาย ไม่จำเจ ต้องสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว และใช้งานได้ง่ายอีกด้วย รวมถึงความสวยงามก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันจึงตอบสนองต่อการประยุกต์เข้ากับการ เรียนการสอนได้เป็นอย่างดี การเรียนการสอนแบบออนไลน์นี้ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนอะไรก็ได้ เรียนเวลาใดก็ได้ตามความเหมาะสม พวกเขาจะพอใจกับการเรียนรู้ที่มีความอิสระและคล่องตัว ระบบ E-learning จะทำให้ลดเวลาการเรียนรู้ได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าระบบการสอนแบบเดิม
วิธีการใช้ E-learning สำหรับคน Gen Y นั้น มีหลายวิธี ประกอบด้วย (teaching Gen Y:ออนไลน์)
- e-Book คือ การสร้างหนังสือหรือเอกสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ประโยชน์กับระบบการเรียนการสอนบนเครือข่าย
- Virtual Lab คือ การสร้างห้องปฏิบัติการจำลองที่ผู้เรียนสามารถเข้ามาทำการทดลอง การทดลองอาจใช้วิธีการทางsimulationหรืออาจให้ผู้เรียนทดลองจริงตามคำแนะนำที่ให้
- Video และการกระจายแบบ Real/audio/video เป็นการสร้างเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอ หรือบันทึกเป็นเสียงเพื่อเรียกผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- Virtual Classroom เป็นการ สร้างห้องเรียนจำลองโดยใช้กระดานข่าวบนอินเทอร์เน็ต กระดานคุย หรือแม้แต่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์การเรียนรู้ผ่านเครือข่าย
- Web base training การสร้างโฮมเพจหรือเว็บเพ็จเพื่อประโยชน์การเรียนการสอน
- e-Library การสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการบนเครือข่ายได้
จากบทความดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปของไทย ทำให้การเรียนการสอนด้วยระบบ e-learningต้องมีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย และเราจะพบว่าคนรุ่น Gen Y ในปัจจุบันจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และคนรุ่นเหล่านี้ก็จะเป็นตัวแปรที่สำคัญของระบบการเรียนการสอนของไทย ด้วยที่ว่าคนรุ่นหล่านี้มีพฤติกรรมที่ทันโลก ทันสมัย และทันเทคโนโลยี จึงส่งผลให้ ระบบ e-learning ของไทยต้องมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน e-learning ในรุ่นนี้จึงต้องมีลักษณะที่ใช้เวลาน้อย เรียนรู้ได้เร็ว มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกัน รวมถึงการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันด้วย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่จะสามารถตอบสนองพฤติกรรมทางด้านการเรียนรู้ของรุ่นนี้ได้เป็นอย่างดี และระบบ e-learning ของไทยก็จะมีประสิทธิภาพและช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
เอกสารอ้างอิง
ชัชวาลย์. 2553. จูงใจคน GEN-Y (ตอนแรก). (ออนไลน์). เข้าถึงจาก
http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2530ทิพวัลย์ สินนิธิถาวร. 2553. Generation Y. (ออนไลน์). เข้าถึงจาก
http://sites.google.com/site/490880tippawansinnititaworn/examinatio/generation-y
ผู้จัดการรายสัปดาห์. 2553.เปิดผลวิจัย Gen Y ใครว่าเป็นตัวป่วนองค์กร. (ออนไลน์). เข้าถึงจาก http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?page=sub&category=110&id=10173
พสุ เดชะรินทร์. 2552. “การทำความเข้าใจกับคน Gen Y”. กรุงเทพธุรกิจ.
(28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552).
รัชฎา อสิสนธิสกุล. 2549. “เตรียมรับ Generation Y คลื่นลูกใหม่ขององค์การ”.
Productivity World. (มกราคม - กุมภาพันธ์ 2549).
มัทนา เกษตระทัต. 2553. Teaching Gen Y: (ออนไลน์) เข้าถึงจาก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/349145
วรัญญา ศรีเสวก. 2553. เหตุผลที่ไม่มีเหตุผลของคน Gen Y. (ออนไลน์).
เข้าถึงจาก http://www.wiseknow.com/blog/2009/08/31/3289/
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เครือข่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2548.
ความรู้เกี่ยวกับ SMEs เบื้องต้น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://home.kku.ac.th/uac/sme/smebasic.htm
เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์ . 2550. “Generation Y ตบเท้าเข้าสู่โลกธุรกิจ”.
Positioning Magazine. (มิถุนายน, 2550). (ออนไลน์). เข้าถึงจาก
http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=60546
อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์. 2551. มัดใจ Gen Y ด้วยดีไซน์ โดนๆ. (ออนไลน์). เข้าถึงจาก
http://www.marketingoops.com/brand-marketing/strategy-brand-marketing/gen-y/
อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา. 2553. รับมือกับคน Gen Y. (ออนไลน์). เข้าถึงจาก
http://www.orchidslingshot.com/modx/index.php?id=1357
ผู้เขียน : ลภัสรดา จารุสิทธิกุล
หน่วยงาน : นิสิตปริญญาโท ม.นเรศวร
ศุกร์ ที่ 18 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2555