[x] ปิดหน้าต่างนี้
KMOBECMAXSITE 1.2.1
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
เรื่อง : การพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการเรียนร่วม ส่วนที่ 2


TOP HIT
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา

- การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้าง คุณธรรม จริยธรรม มีความสำนึกในความเป็นชาติไทย ของ สพป.ลำพูน เขต 2 [ 1902 ]
- รายงานการดำเนินงานคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 [ 1505 ]
- การพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการเรียนร่วม ส่วนที่ 2 [ 1372 ]
- การดำเนินงานส่งเสริมการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 [ 1338 ]
- การพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการเรียนร่วม ส่วนที่ 4 [ 1061 ]

 

การพัฒนาสมรรถภาพเด็กพิการเรียนร่วม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2

 

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการแต่ละประเภท

1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น

    เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึงเด็กที่มองไม่เห็น (ตาบอดสนิท) หรือพอเห็นแสงเลือนรางและมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง โดยมีความสามารถในการเห็นได้ไม่ถึงหนึ่งส่วนสองของคนสายตาปกติ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น จำแนกได้ 2 ประเภท คือ

1.       เด็กตาบอด หมายถึง เด็กที่มองไม่เห็น หรืออาจจะมองเห็นบ้างไม่มากนัก แต่ไม

        สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในการเรียนได้

2.       เด็กสายตาเลือนลาง หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นแต่ไม่

                     เท่ากับเด็กปกติ

การให้ความช่วยเหลือ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นครูจึงควรปฏิบัติต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นตามโอกาสและสถานการณ์ดังนี้

1.ไม่ควรพูดกับเด็กโดยคิดว่าเด็กหูหนวก การที่เด็กมีความบกพร่องทางการเห็นไม่ได้หมายความว่าหูตึงไปด้วย การใช้เสียงและน้ำเสียงที่มีความไพเราะอ่อนโยนจะสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับเด็ก เด็กจะรับรู้ถึงน้ำเสียงของคนพูดได้มากและรับรู้ถึงอารมณ์ของผู้พูดจากน้ำเสียงด้วย

1.       หากต้องการจะพูดเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กและเด็กที่อยู่ที่นั่นด้วย ต้องพูดกับเขา

                     โดยตรง ไม่ควรพูดผ่านคนอื่นเพราะคิดว่าเด็กจะไม่เข้าใจหรือรู้ได้ไม่หมด

2.       ไม่ควรพูดแสดงความสงสารให้เด็กได้ยินหรือรู้สึก

3.       หากครูเข้าไปในห้องที่มีเด็กอยู่ควรพูดหรือทำให้รู้ว่าครูเข้ามาแล้ว

4.       การช่วยให้เด็กนั่งเก้าอี้ ให้จับมือวางที่พนักหรือที่เท้าแขนเด็กจะนั่งเองได้

 

การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นกับเด็กปกติ

ในการสอนวิชาสามัญทั่วไปเด็กปกติเรียนตามหลักสูตรในโรงเรียนนั้น ส่วนใหญ่แล้วเด็กมีความบกพร่องทางการเห็น สามารถเรียนรู้ได้เท่าหรือเกือบเท่าเด็กปกติ ถ้าครูใช้สื่อและวิธีการเหมาะสมจากการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสที่เด็กมีความบกพร่องทางการเห็นมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศึกษา เกษตรและดนตรี เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นก็สามารถเรียนรู้ได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะครอบคลุมทุกเรื่องทุกเนื้อหา ในบางเรื่องอาจมีข้อจำกัดที่เด็กกลุ่มนี้ทำไม่ได้หรือทำได้น้อย เช่น วิชาพลศึกษา วิชาคัดลายมือ และนาฏศิลป์ เป็นต้น

การประเมินผล

                เด็กที่มีความบดพร่องทางการเห็น ควรได้รับการประเมินผลการเรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ เช่นเดียวกับเด็กปกติทั่วไป แต่เขาอาจต้องการแบบจัดหรือข้อสอบที่แตกต่างจากเด็กปกติอยู่บ้าง เช่นอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ขยายหากบอดสนิท หรือบกพร่องรุนแรงก็อาจใช้อักษรเบลล์ หรือฟังแถบบันทึกเสียง ผู้ที่ทำการประเมินต้องคำนึงถึงศักยภาพเป็นรายบุคคล ตลอดถึงต้องยืดหยุ่นเรื่องเวลาในการทำข้อสอบให้มากกว่าเด็กปกติ 20%

 

2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

                เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินไม่สามารถรับฟังเสียงได้เหมือนเด็กปกติ ซึ่งอาจเป็นเด็กหูตึงหรือเด็กหูหนวกก็ได้ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมี 
2 ประเภท คือ

1. เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่มีการได้ยินเหลืออยู่บ้าง สามารถได้ยินได้ไม่ว่าจะใส่เครื่องช่วยฟัง หรือไม่ก็ตามเด็กหูตึงจะมีระดับการได้ยินในหูที่ดีกว่าอยู่ระหว่าง 26-89 เดซิเบล ซึ่งคนปกติจะมีระดับการได้ยินอยู่ระหว่าง 0-25 เดซิเบล

2. เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างที่ดีตั้งแต่ 90 เดซิเบลขึ้นไป
ไม่สามารถได้ยินเสียงพูดดัง อาจรับรู้เสียงบางเสียงได้จากการสั่นสะเทือน

การให้ความช่วยเหลือ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีปัญหาทางการได้ยิน จึงไม่สามารถได้รับประโยชน์จากการฟัง-การพูดได้อย่างเต็มที่ ต้องใช้การสื่อสารวิธีอื่นแทนการใช้ภาษาพูด วิธีการสื่อความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินอาจแบ่งเป็น 6 วิธี คือ

1. การพูด เหมาะสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินไม่มากนัก

2. ภาษา เหมาะสำหรับเด็กที่สูญเสียการได้ยินมากหรือหูหนวกซึ่งไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ด้วยการพูดจึงใช้ภาษามือแทน

3. การใช้ท่าทาง หมายถึง การใช้ท่าทางที่คิดขึ้นเองมักเป็นไปตามธรรมชาติโดยไม่ใช้ภาษามือและไม่ใช้น้ำเสียงแต่ใช้สายตาในการรับภาษา

4. การสะกดนิ้วมือ คือการที่บุคคลใช้นิ้วมือเป็นรูปต่างๆ แทนตัวพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตลอดจนสัญลักษณ์อื่นของภาษาประจำชาติเพื่อสื่อภาษา5. การอ่านริมฝีปาก  เป็นวิธีการที่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินรับภาษาพูดจากผู้อื่น ดังนั้น การอ่านริมฝีปากจึงเป็นสิ่งแรกที่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จะต้องเรียนรู้วิธีการอ่านตั้งแต่คำแรกที่เรียนภาษาและเป็นสิ่งแรกที่เด็กต้องใช้ตลอดชีวิต

6. การสื่อสารรวม คือการสื่อสารตั้งแต่สองวิธีขึ้นไป เพื่อให้ผู้ฟังเดาความหมายในการแสดงออกของผู้พูดได้ดียิ่งขึ้นนอกจากการพูด การใช้ภาษามือ การแสดงท่าทางประกอบแล้วก็อาจใช้วิธีอ่านริมฝีปาก การอ่าน การเขียนหรือวิธีอื่นก็ได้

 

การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินกับเด็กปกติ

                เมื่อมีเด็กมีความบกพร่องทางการได้ยินเข้ามาเรียนร่วมในชั้นเรียน ครูผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้

1.       ควรให้เด็กที่มีความบกพร่องนั่งในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นและได้ยินผู้สอนได้

ชัดเจน

2.       ใช้ท่าทางประกอบคำพูดเพื่อให้เด็กเข้าใจคำพูดของครูแต่ไม่ควรแสดงท่าทางมาก

จนเกินไป

3.       ครูควรเขียนกระดานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่มีความสำคัญ เช่น

นิยาม คำสั่ง หรือการบ้าน เป็นต้น

4.       อย่าพูดขณะเขียนกระดานเพราะเด็กไม่สามารถอ่านปากของครูได้

5.       เมื่อต้องการพูดคุยกับเด็กควรใช้วิธีเรียกชื่อ ไม่ควรใช้วิธีแตะสัมผัส เป็นการฝึกให้เด็ก

รู้จักฟัง

6.       จัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)

7.       ก่อนลงมือสอนควรตรวจเช็คเครื่องช่วยฟังว่าทำงานหรือไม่

8.       ให้โอกาสแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินออกมารายงานหน้าชั้น ทั้งนี้เพื่อให้

เด็กได้มีโอกาสแสดงออกด้วยการพูด และขณะเดียวกัน ก็เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กปกติได้ฝึกฟังการพูดภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

9.       หากเด็กปกติออกมาพูดหน้าชั้น ครูผู้สอนควรสรุปสิ่งที่เด็กปกติพูดให้เด็กที่มีความ

บกพร่องทางการได้ยินฟังด้วย

การประเมินผล

                การประเมินผลสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ของนักเรียนแต่ละคนอย่างน้อยภาคเรียนละหนึ่งครั้ง วิธีจัดและประเมินผลก็ทำเช่นเดียวกันกับการจัดผลประเมินผลปกติ คือใช้แบบทดสอบ การสังเกตการสนทนา ให้ลงมือปฏิบัติตามคำสั่ง ทดสอบปากเปล่า ซึ่งจุดมุ่งหมายสำคัญเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลจะกำหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล

 
ผู้เขียน : ชลลดา สะอาดวงค์
หน่วยงาน : กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
พฤหัสบดี ที่ 15 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2553
| เข้าชม : 1371 |
ผู้เขียน : พงศ์พล ห่อตระกูล
หน่วยงาน : -
พุธ ที่ 11 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้