[x] ปิดหน้าต่างนี้
KMOBECMAXSITE 1.2.1
กลุ่มอำนวยการ
เรื่อง : รายงานผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตนักเรียน


TOP HIT
กลุ่มอำนวยการ

- ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ(KRS+ARS)ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 มีค่าสูงเป็นลำดับที่ 7 ของประเทศ(4.61845) [ 1607 ]
- การพัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 [ 1235 ]
- ความพึงพอใจคุณภาพการให้บริการของ สพป.ลำูพูน เขต 2 [ 1198 ]
- เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู [ 1166 ]
- การสังเคราะห์การจัดกิจกรรมจิตสาธารณะด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 [ 963 ]

 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

รายงานผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตนักเรียน
ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2

วัตถุประสงค์การศึกษาผลการดำเนินงาน
1. เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ ผลการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 ทุกแห่ง โดยใช้แบบประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตนักเรียน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน 
เขต 2 
2. เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยใช้แบบประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตนักเรียน ของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 
3. เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปเป็นภาพรวมของสำนักงานงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้แบบประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตนักเรียน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2
4. เพื่อจัดลำดับและเปรียบเทียบผลการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาโดยใช้แบบประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตนักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2

ประชากร
การรายงานผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตนักเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตประชากร ได้แก่ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 จำนวน 104 แห่ง คณะกรรมการประเมินระดับศูนย์เครือข่ายสถานศึกษา
จาก 7 ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษา ๆ ละ 6 คน และคณะกรรมการประเมินระดับเขตพื้นที่จำนวน 11 คน รวม 53 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากการประเมินผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับ
ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาและระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินและ
แบบประเมินซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลการรายงาน
ตามโครงการครั้งนี้
สรุปผลการรายงาน
1. ผลการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับศูนย์เครือข่ายสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้แบบประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตนักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 สรุปผลดังนี้
1.1 ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาทั้ง 7 แห่งมีผลการประเมินรวมทุกองค์ประกอบตามเกณฑ์การตัดสิน จากตารางที่ 1 – 7 พบว่า 
ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาที่มีผลการประเมินระดับดีมากได้แก่
1) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงหนองล่อง
2 ) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงเจดีย์
3 ) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาทุ่งหัวช้าง
4 ) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงกานต์บ้านโฮ่ง
ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาที่มีผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสินระดับดี ได้แก่
1) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาศรีเวียงชัย
2) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษารัตนมิตร
3) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาแม่ตืนศรีวิชัย
1.2 ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาทั้ง 7 แห่ง มีผลการประเมินแยกรายองค์ประกอบตามเกณฑ์การตัดสิน จากตารางที่ 8 – 12 สรุปผลได้ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 น้ำดื่ม พบว่าสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( 104 แห่ง ) มีผลการประเมิน
ตามเกณฑ์การตัดสินระดับดีมาก 80 แห่ง ระดับดี 17 แห่ง และผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นพื้นฐาน 7 แห่ง ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาที่มีผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสินระดับดีมากมีจำนวน 2 ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาคือ ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงกานต์บ้านโฮ่งและศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงหนองล่อง มีสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 14, 13 แห่ง ตามลำดับ ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาแม่ตืนศรีวิชัย ในองค์ประกอบที่ 1 น้ำดื่ม สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 แห่ง มีผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสินระดับ
ดีมาก 5 แห่ง ระดับดี 3 แห่ง และผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นพื้นฐาน 7 แห่ง 
องค์ประกอบที่ 2 สุขาน่าใช้ พบว่าสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( 104 แห่ง ) มีผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสินระดับดีมาก 64 แห่ง ระดับดี 28 แห่ง และผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นพื้นฐาน 12 แห่ง ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงกานต์บ้านโฮ่ง พบว่า สถานศึกษา 14 แห่งมีผลการประเมินตามเกณฑ์
การตัดสินระดับดีมากทั้ง 14 แห่ง ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาแม่ตืนศรีวิชัย พบว่าสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 แห่ง มีผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสิน ระดับดีมาก 4 แห่ง ระดับดี 2 แห่ง และผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นพื้นฐาน 9 แห่ง 
องค์ประกอบที่ 3 อาหารและโภชนาการ พบว่าสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( 104 แห่ง ) มีผล
การประเมินตามเกณฑ์การตัดสินระดับดีมาก 94 แห่ง ระดับดี 4 แห่ง และผ่านเกณฑ์ประเมิน
ขั้นพื้นฐาน 6 แห่ง ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาแม่ตืนศรีวิชัย พบว่า สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 แห่ง 
มีผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสินระดับดีมาก 6 แห่ง ระดับดี 3 แห่ง และผ่านเกณฑ์ประเมิน
ขั้นพื้นฐาน 6 แห่ง 
องค์ประกอบที่ 4 อุบัติภัย พบว่า สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( 104 แห่ง ) มีผลการประเมิน
ตามเกณฑ์การตัดสินระดับดีมาก 65 แห่ง ระดับดี 36 แห่งและผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นพื้นฐาน 3 แห่ง
องค์ประกอบที่ 5 มลพิษ พบว่า สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( 104 แห่ง ) มีผลการประเมิน
ตามเกณฑ์การตัดสินระดับดีมาก 84 แห่ง ระดับดี 15 แห่งและผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นพื้นฐาน 5 แห่ง

2. ผลการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับเขตพื้นที่การศึกษาโดยใช้แบบประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตนักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 จากตารางที่ 13 พบว่า สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสินระดับดีเยี่ยมได้แก่โรงเรียนบ้านเหล่ายาว ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษารัตนมิตร และระดับดีเด่นดังนี้
1) โรงเรียนบ้านห้วยงูสิงห์ ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาทุ่งหัวช้าง
2) โรงเรียนบ้านแม่หว่าง ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาศรีเวียงชัย
3) โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ตืน ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาแม่ตืนศรีวิชัย
4) โรงเรียนธีรกานท์บ้านโฮ่ง ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงกานต์บ้านโฮ่ง
5) โรงเรียนวัดบ้านดง ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงหนองล่อง
6) โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงเจดีย์

3. ผลการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสรุปเป็นภาพรวมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้แบบประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 จากตารางที่ 14 พบว่า การประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั้ง 7 ศูนย์เครือข่าย
สถานศึกษา สรุปเป็นภาพรวมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 ตามเกณฑ์การตัดสิน
รวมทุกองค์ประกอบ ระดับดีมาก ( ร้อยละ 83.46 ) 
การประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั้ง 7 ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษา สรุปเป็นภาพรวมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 ตามเกณฑ์การตัดสินแยกรายองค์ประกอบได้ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 น้ำดื่ม ระดับดีมาก ( ร้อยละ 85.58 )
องค์ประกอบที่ 2 สุขาน่าใช้ ระดับดี ( ร้อยละ 77.41 )
องค์ประกอบที่ 3 อาหารและโภชนาการ ระดับดีมาก ( ร้อยละ 87.99 )
องค์ประกอบที่ 4 อุบัติภัย ระดับดี ( ร้อยละ 80.63 )
องค์ประกอบที่ 5 มลพิษ ระดับดีมาก ( ร้อยละ 85.68 )

4. การจัดลำดับและเปรียบเทียบผลการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับศูนย์เครือข่ายสถานศึกษา โดยใช้แบบประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตนักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 จากตารางที่ 15 พบว่า การประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับศูนย์เครือข่ายสถานศึกษามีผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้
ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาที่มีผลการประเมินระดับดีมาก เรียงตามลำดับ ดังนี้
1) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงหนองล่อง ( ร้อยละ 89.10 )
2) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงเจดีย์ ( ร้อยละ 88.17 )
3) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาทุ่งหัวช้าง ( ร้อยละ 87.83 )
4) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงกานต์บ้านโฮ่ง ( ร้อยละ 85.95 )
ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาที่มีผลการประเมินระดับดี เรียงตามลำดับ ดังนี้
1) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาศรีเวียงชัย ( ร้อยละ 82.73 )
2) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษารัตนมิตร ( ร้อยละ 79.87 ) 
3) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาแม่ตืนศรีวิชัย ( ร้อยละ 70.55 )

ผลการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาแยกเป็นรายองค์ประกอบ 
ที่ 1 – 5 ได้ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 น้ำดื่ม มีผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสิน 3 ลำดับแรก ดังนี้
1) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาทุ่งหัวช้าง ระดับดีมาก ( ร้อยละ 98.33 )
2) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงหนองล่อง ระดับดีมาก ( ร้อยละ 97.42 )
3) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงเจดีย์ ระดับดีมาก ( ร้อยละ 89.50 )
องค์ประกอบที่ 2 สุขาน่าใช้ มีผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสิน 3 ลำดับแรก ดังนี้
1) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงเจดีย์ ระดับดีมาก ( ร้อยละ 85.50 )
2) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงกานต์บ้านโฮ่ง ระดับดีมาก ( ร้อยละ 83.92 )
3) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาทุ่งหัวช้าง ระดับดี ( ร้อยละ 80.00 )
องค์ประกอบที่ 3 อาหารและโภชนาการ มีผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสิน
3 ลำดับแรก ดังนี้
1) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงหนองล่อง ระดับดีมาก ( ร้อยละ 95.50 )
2) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาทุ่งหัวช้าง ระดับดีมาก ( ร้อยละ 93.33 )
3) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาศรีเวียงชัย ระดับดีมาก ( ร้อยละ 91.67 )


องค์ประกอบที่ 4 อุบัติภัย มีผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสิน 3 ลำดับแรก ดังนี้ คือ
1) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงเจดีย์ ระดับดีมาก ( ร้อยละ 86.00 )
2) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงหนองล่อง ระดับดีมาก ( ร้อยละ 85.92 )
3) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงกานต์บ้านโฮ่ง ระดับดีมาก ( ร้อยละ 85.75 )
องค์ประกอบที่ 5 มลพิษ มีผลการประเมินตามเกณฑ์การตัดสิน 3 ลำดับแรก ดังนี้
1) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงกานต์บ้านโฮ่ง ระดับดีมาก ( ร้อยละ 89.92 )
2) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเวียงหนองล่อง ระดับดีมาก ( ร้อยละ 89.75 )
3) ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาทุ่งหัวช้าง ระดับดีมาก ( ร้อยละ 89.58 )

สรุปผลการจัดลำดับและเปรียบเทียบผลการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับ
ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาเรียงตามลำดับผลการประเมินรายองค์ประกอบตามเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้
1) องค์ประกอบที่ 3 อาหารและโภชนาการ ระดับดีมาก ( ร้อยละ 87.99 )
2) องค์ประกอบที่ 5 มลพิษ ระดับดีมาก ( ร้อยละ 85.68 )
3) องค์ประกอบที่ 1 น้ำดื่ม ระดับดีมาก ( ร้อยละ 85.58 )
4) องค์ประกอบที่ 4 อุบัติภัย ระดับดี ( ร้อยละ 80.63 )
5) องค์ประกอบที่ 2 สุขาน่าใช้ ระดับดี ( ร้อยละ 77.41 )

การนำผลการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินไปใช้
จากการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาครอบคลุมทุกแห่ง ทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานจากการประเมินทุกองค์ประกอบ ตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินและแบบประเมินโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตนักเรียน
ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องสร้างความตระหนักในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

ข้อเสนอแนะ
ผลการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2
พบว่าองค์ประกอบที่ 2 สุขาน่าใช้ และองค์ประกอบที่ 4 อุบัติภัย สมควรได้รับการพิจารณา
ในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาเป็นลำดับแรก โดยพิจารณาภาพรวมจากผลการประเมินตามเกณฑ์
การตัดสินเป็นสำคัญ
ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานครั้งต่อไป
การดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตนักเรียน ควรมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและ
ให้ครอบคลุมตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินและแบบประเมิน 5 องค์ประกอบ และ 23 ตัวชี้วัด

| ดาวน์โหลดเอกสาร | เข้าชม : 723 |
ผู้เขียน : พงศ์พล ห่อตระกูล
หน่วยงาน : -
ศุกร์ ที่ 30 เดือน มกราคม พ.ศ.2558
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้