[x] ปิดหน้าต่างนี้
KMOBECMAXSITE 1.2.1
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
เรื่อง : รายงานการประเมินโครงการฝึกอบรมICT


TOP HIT
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

- การใช้หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 [ 6918 ]
- ผลการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ [ 2104 ]
- รายงานการนิเทศ ติดตามผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE [ 1951 ]
- รายงานผลการพัฒนาครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ต (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้กระบวนการนิเทศเชิงระบบ [ 1832 ]
- การนิเทศครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อยกระดับการเรียนการสอน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สพป.ลำพูน เขต 2 [ 1062 ]

 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

 

 
ชื่อเรื่อง              รายงานการประเมินโครงการการฝึกอบรม IC เพื่อการเรียน
                           การสอน โรงเรียน ในโครงการ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน
                           สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 
                        โดยใช้คู่มือฝึกอบรม ICT เพื่อการเรียนการสอน
ผู้จัดทำ              นายประสิทธิ์ ภูมาศ
ปี พ.ศ.               2551
 
                การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการฝึกอบรม ICT เพื่อการเรียนการสอน ครูโรงเรียนในโครงการ หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้คู่มือฝึกอบรม ICT เพื่อการเรียนการสอน ดังนี้ 
1. ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ 2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 3. ด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการ 4. ด้านผลผลิตของโครงการ 5.   ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับ ICT เพื่อการเรียนการสอน ก่อนและหลังการฝึกอบรม    6. เปรียบเทียบความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับ ICT เพื่อการเรียนการสอน ก่อนและหลังการฝึกอบรม 7. ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมระหว่างการฝึกอบรม 8. การนิเทศ ครู ก่อนและหลังการฝึกอบรม 9.  เปรียบเทียบผลการนิเทศครูก่อนและหลังการฝึกอบรม 10.  ผลกระทบของโครงการด้านการพัฒนาทักษะการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอนไปปฏิบัติจริง 11. ผลกระทบของโครงการด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน ไปปฏิบัติจริง   
วิธีดำเนินการนำเสนอ 2 ประเด็นคือ วิธีดำเนินการตามกิจกรรมโครงการ ได้แก่ จัดทำหลักสูตร
การอบรม จัดทำเอกสารประกอบการอบรม ประสานงานและเชิญวิทยากร รับสมัครครูเข้ารับการอบรม ดำเนินการอบรม และนิเทศติดตามผลหลังการอบรม ส่วนอีกประเด็นหนึ่ง คือ วิธีดำเนินการประเมินโครงการ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ครูผู้สอน โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 ปีการศึกษา 2550 กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง คือ ครูที่สมัครเข้ารับการอบรม จำนวน 56 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 7 คน และนักเรียนที่เรียนกับครู ที่ผ่านการฝึกอบรม ICT เพื่อการเรียนการสอน   ปีการศึกษา 2550    จำนวน448 คน ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์
และเพิ่มการประเมินผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการ  จำนวน 7 ฉบับ ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้นเองโดยการศึกษาตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำไปขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและหาค่าความเชื่อมั่นก่อนนำไปใช้จริง ผู้ประเมินนำเครื่องมือไปขอความร่วมมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียน และนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืนมาครบทุกฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ   ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Microsoft Excel
 
ผลการประเมินพบว่า
1. ครูส่วนใหญ่ไม่เคยเรียนวิชาคอมพิวเตอร์เป็นวิชาเอกหรือวิชาโท  จัดการเรียนการสอนที่บูรณาการด้วย ICT เพื่อการเรียนการสอน มากกว่าสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง    ส่วนใหญ่โรงเรียนมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง  และเคยผ่านการฝึกอบรม ICT เพื่อการเรียนกาสอน 1 ครั้ง 
2. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของโครงการ รายการผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับคุณภาพมาก  มีค่าเฉลี่ยสูงกว่ารายการอื่น
3. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ รายการ สถานที่ฝึกอบรมเหมาะสม และกำหนดระยะเวลาการฝึกอบรมเหมาะสม อยู่ในระดับคุณภาพมาก และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ารายการอื่น
4. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการ รายการที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วม
ในการฝึกปฏิบัติ และการนิเทศ ติดตามผลหลังการฝึกอบรมของศึกษานิเทศก์  มีผลต่อการพัฒนา อยู่ในระดับคุณภาพมาก  และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ารายการอื่น
5. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ  รายการ กำลังใจที่ได้รับจากการนิเทศติดตามผลหลังการอบรม เป็นสิ่งจำเป็น อยู่ในระดับคุณภาพมาก และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ารายการอื่น
6. ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับ   ICT กับการเรียนรู้ เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับ   ICT กับการเรียนรู้ ก่อนการฝึกอบรม   อยู่ในระดับคุณภาพปานกลาง
        7. ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับ    การวางแผนการจัดการเรียนรู้ เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว 
การประเมินความรู้ความสามารถของครูเกี่ยว การวางแผนการจัดการเรียนรู้ ก่อนการฝึกอบรม อยู่ในระดับคุณภาพน้อย
        8. ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับการใช้สื่อ ICT เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับการใช้สื่อ ICT ก่อนการฝึกอบรม อยู่ในระดับคุณภาพน้อย
9. ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับ การการวัดการประเมินผล เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับ การการวัดการประเมินผล ก่อนการฝึกอบรม   อยู่ในระดับคุณภาพปานกลาง
10. ความรู้ความสามารถของครู เกี่ยวกับ   ICT กับการเรียนรู้ เมื่อพิจารณาภาพรวมความรู้ความสามารถของครู เกี่ยวกับ ICT กับการเรียนรู้  หลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับคุณภาพมาก
11. ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับ การวางแผนการจัดการเรียนรู้    เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ หลังการฝึกอบรม อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด
12. ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับ การใช้สื่อ ICT    เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว    ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับ การใช้สื่อ ICT หลังการฝึกอบรม อยู่ในระดับคุณภาพมาก
13. ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับ    การวัดผลประเมินผล เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับ การวัดผลประเมินผล หลังการฝึกอบรม อยู่ในระดับคุณภาพมาก
14. เปรียบความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับ ICT กับการเรียนรู้ ก่อนและหลังการฝึกอบรม   ก่อนการฝึกอบรม ในภาพรวมทุกรายการพบว่า มีระดับคุณภาพปานกลาง   หลังการฝึกอบรม ทุกรายการมีระดับคุณภาพมาก   
15. เปรียบเทียบความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ก่อนและหลังการฝึกอบรม ก่อนการฝึกอบรม ในภาพรวมพบว่า มีระดับคุณภาพน้อย หลังการฝึกอบรม ในภาพรวมมีระดับคุณภาพมากที่สุด  
16.    เปรียบเทียบความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับการใช้สื่อ ICT ก่อนและหลังการฝึกอบรม ก่อนการฝึกอบรม ในภาพรวมพบว่า มีระดับคุณภาพน้อย  หลังการฝึกอบรม ในภาพรวมมีระดับคุณภาพมาก  
17.    เปรียบเทียบข้อมูลความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับ การวัดผลประเมินผล ก่อนและหลังการฝึกอบรม  ผลก่อนการฝึกอบรม ในภาพรวมพบว่า มีระดับคุณภาพปานกลาง  หลังการฝึกอบรม ในภาพรวมมีระดับคุณภาพมาก  
                18. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับความเหมาะสมของกิจกรรมระหว่างการฝึกอบรม ICT เพื่อการเรียนการเมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับความเหมาะสมของกิจกรรมฝึกอบรม ICT เพื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับคุณภาพมาก
19.   ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน 
ก่อนการฝึกอบรม  เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว แผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน ก่อนการฝึกอบรม   อยู่ในระดับคุณภาพปานกลาง
20. การนิเทศเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน เมื่อพิจารณาในภาพรวมก่อนการฝึกอบรม อยู่ในระดับคุณภาพน้อย
21. การนิเทศแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว แผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน หลังการฝึกอบรม   อยู่ในระดับคุณภาพมาก
22. การนิเทศเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู ที่ใช้  ICT เพื่อการเรียนการสอน เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว ข้อมูลการนิเทศเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู ที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน   อยู่ในระดับคุณภาพมาก
23.    เปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน
ของครู ก่อนและหลัง การฝึกอบรมแล้วสรุปผล  ก่อนการฝึกอบรม ในภาพรวมพบว่า มีระดับคุณภาพปานกลาง หลังการฝึกอบรม ในภาพรวมมีระดับคุณภาพ
24. เปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ของครู ก่อนและหลัง การฝึกอบรมแล้วสรุปผล ก่อนการฝึกอบรม ในภาพรวมพบว่า มีระดับคุณภาพน้อย หลังการฝึกอบรม ในภาพรวมมีระดับคุณภาพมาก      
25. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการ   ด้านการพัฒนาทักษะการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน ไปปฏิบัติจริง ทุกรายการมีระดับคุณภาพมากกว่าเดิม 
26. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการ   ด้านด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ ICT  เพื่อการเรียนการสอน ไปปฏิบัติจริง ทุกรายการมีระดับคุณภาพมากกว่าเดิม 
27. ความคิดเห็นของผู้บริหารเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการ   ด้านการพัฒนาทักษะการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน ไปปฏิบัติจริงทุกรายการมีระดับคุณภาพมากกว่าเดิม 
28. ความคิดเห็นของผู้บริหารเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ ICT  เพื่อการเรียนการสอน ไปปฏิบัติจริง ทุกรายการมีระดับคุณภาพมากกว่าเดิม 
  29. ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการ   ด้านการพัฒนาทักษะการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน ไปปฏิบัติจริงทุกรายการมีระดับคุณภาพมากกว่าเดิม 
30. ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ ICT  เพื่อการเรียนการสอน ไปปฏิบัติจริง ทุกรายการมีระดับคุณภาพมากกว่าเดิม
 
ข้อเสนอแนะ
1. ควรจัดให้มีการอบรมเพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างต่อเนื่อง การเข้ารับ
การอบรมควรเป็นไปด้วยสมัครใจ พยายามหลีกเลี่ยงการบังคับ
2. ควรจัดให้มีการอบรมหรือประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ รวมทั้ง
ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้แบบต่าง ๆ เพิ่มเติมด้วย
 3. ควรจัดให้มีการอบรมหรือประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวการสร้างและใช้สื่อ ICT เพื่อการเรียนการสอน
 4. ควรเผยแพร่ขยายผลรูปแบบการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน ไปสู่โรงเรียนอื่น หรือชั้นเรียนอื่นด้วย
5. ควรนำรูปแบบการนิเทศที่เป็นระบบ ในการติดตามผลการพัฒนาหลังการอบรม โดยใช้กระบวนการนิเทศ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา และควรมีกระบวนการนิเทศติดตามความก้าวหน้าทุกโครงการด้วย
| เข้าชม : 670 |
ผู้เขียน : พงศ์พล ห่อตระกูล
หน่วยงาน : -
ศุกร์ ที่ 30 เดือน มกราคม พ.ศ.2558
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้