เรื่อง การพัฒนากระบวนการคิดโดยใช้แบบฝึก
1. หลักการและเหตุผล
จากการประเมินภายนอกของสถานศึกษาปรากฏว่า นักเรียนยังขาดทักษะในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ ไตร่ตรอง คิดสร้างสรรค์ และคิดมีวิสัยทัศน์ ทางโรงเรียนจึงได้หาแนวทางในการพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียน โดยการจัดทำแบบฝึกกระบวนการคิดสำหรับนักเรียนขึ้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาแบบฝึกกระบวนการคิดสำหรับนักเรียน
2. เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียน
3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกกระบวนการคิด
3. เป้าหมาย
นักเรียนในช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 45 คน มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ ไตร่ตรอง คิดสร้างสรรค์ และมีวิสัยทัศน์
4. กิจกรรมและผลผลิตตามกิจกรรม
ให้นักเรียนฝึกกระบวนการคิด โดยใช้แบบฝึก จำนวน 25 แบบฝึก แบบฝึกละ 1 ชั่วโมง ซึ่งประกอบด้วย
1) แบบฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ มี 5 แบบฝึก ใช้เวลาในการฝึกแบบฝึกละ
1 ชั่วโมง รวม 5 ชั่วโมง มีลักษณะดังนี้
แบบฝึกที่ 1 ฝึกการคิดเชิงลึก คิดอย่างละเอียดจากเหตุไปหาผล ตลอดจน
เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในเชิงเหตุผล
แบบฝึกที่ 2 ฝึกวิเคราะห์ตนเอง วิเคราะห์องค์ประกอบ วิเคราะห์
ความสัมพันธ์รูปภาพประเภทการทำนาย
แบบฝึกที่ 3 ฝึกคิดวิเคราะห์แก้โจทย์ปัญหา
แบบฝึกที่ 4 วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง
แบบฝึกที่ 5 วิเคราะห์ความสัมพันธ์
2) แบบฝึกกระบวนการคิดสังเคราะห์ มี 5 แบบฝึก ใช้เวลาในการฝึกแบบฝึกละ
1 ชั่วโมง รวม 5 ชั่วโมง มีลักษณะดังนี้
แบบฝึกที่ 1 ฝึกคิดสังเคราะห์ ประยุกต์เพื่อสร้างสิ่งใหม่
แบบฝึกที่ 2 ฝึกคิดสังเคราะห์ ส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงสังเคราะห์
แบบฝึกที่ 3 ฝึกคิดสังเคราะห์ลักษณะหลอมรวม
แบบฝึกที่ 4 ฝึกคิดสรุป ให้เหตุผล และคาดการณ์
แบบฝึกที่ 5 ฝึกคิดสังเคราะห์ สรุป และคาดการณ์
3) แบบฝึกกระบวนการคิดมีวิจารณญาณ ไตร่ตรอง มี 5 แบบฝึก ใช้เวลาในการฝึก
แบบฝึกละ 1 ชั่วโมง รวม 5 ชั่วโมง มีลักษณะดังนี้
แบบฝึกที่ 1 ฝึกการคิดพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูล
แบบฝึกที่ 2 ฝึกการคิดอย่างมีศิลปะและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
แบบฝึกที่ 3 ฝึกทดลองตัดสินใจด้วยตนเอง ทักษะในการร่วมพิจารณา
ตัดสินใจ ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล และใช้
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
แบบฝึกที่ 4 ฝึกคิดมีวิจารณญาณ โดยฝึกทักษะการจัดกลุ่มและการจำแนก
แบบฝึกที่ 5 ฝึกคิดมีวิจารณญาณในการสรุป
4) แบบฝึกกระบวนการคิดสร้างสรรค์ มี 5 แบบฝึก ใช้เวลาในการฝึกแบบฝึกละ
1 ชั่วโมง รวม 5 ชั่วโมง มีลักษณะดังนี้
แบบฝึกที่ 1 ฝึกการจินตนาการ วิเคราะห์ สร้างสรรค์
แบบฝึกที่ 2 ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ที่กำหนดให้ พร้อมให้เหตุผลประกอบ
และเขียนแผนภูมิ Cycle Map
แบบฝึกที่ 3 ฝึกออกแบบเครื่องใช้ อธิบายระบบทำงานและประโยชน์ที่ได้รับ
แบบฝึกที่ 4 ฝึกคิดแนวข้างใช้รูปทรงเรขาคณิต ออกแบบจากรูปเรขาคณิตที่
กำหนดให้
แบบฝึกที่ 5 ฝึกแสดงความคิดเห็นจากการทดลองที่กำหนดให้และสรุปเป็น
แผนผังความคิด
5) แบบฝึกกระบวนการคิดมีวิสัยทัศน์ มี 5 แบบฝึก ใช้เวลาในการฝึกแบบฝึกละ
1 ชั่วโมง รวม 5 ชั่วโมง มีลักษณะดังนี้
แบบฝึกที่ 1 ฝึกคิดเชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับคน แสดงความคิดอย่างสมเหตุสมผล
โดยสรุปลงใน Venn Diagram
แบบฝึกที่ 2 ฝึกคิดเชิงมโนทัศน์ แบบอุปนัย
แบบฝึกที่ 3 ฝึกจัดกรอบความคิดเชิงมโนทัศน์ในรูปแบบของ Web Diagram
แบบฝึกที่ 4 ฝึกการคิดเชิงมโนทัศน์ในรูแบบของ Mind Map
แบบฝึกที่ 5 ฝึกคิดเชิงมโนทัศน์ในรูปแบบของ Venn Diagram
5. สรุปผลการดำเนินงาน
5.1 ปริมาณ
นักเรียนในช่วงชั้นที่ 2 (ป. 4 – 6) ในปีการศึกษา 2552 จำนวน 45 คน มี
ทักษะในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ ไตร่ตรอง คิดสร้างสรรค์
และคิดมีวิสัยทัศน์ดีขึ้น
5.2 คุณภาพ
นักเรียนมีพัฒนาการกระบวนการคิดอยู่ในระดับดี
6. ปัญหา อุปสรรคแนวทางแก้ไข และข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน
โครงการ
1. เวลาฝึกมีน้อยเพราะนักเรียนต้องเรียนสาระวิชาต่าง ๆ หลายวิชา
2. ควรมีการบูรณาการกระบวนการคิดไว้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของ
เนื้อหาวิชา
3. ควรมีการพัฒนา ปรับปรุง แบบฝึกกระบวนการคิดที่มีรูปแบบต่าง ๆ โดยอาศัย
เทคโนโลยีมาช่วย เช่น จัดทำเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ภาพกิจกรรมการพัฒนากระบวนการคิดสำหรับนักเรียน ปีการศึกษา 2552
โรงเรียนวัดหนองยวง
ผู้เขียน : สุคนธ์ กาสุยะ
หน่วยงาน : โรงเรียนวัดหนองยวง
ศุกร์ ที่ 5 เดือน มีนาคม พ.ศ.2553