สรุปสาระสำคัญ ขั้นตอนการดำเนินการ และเป้าหมายของงาน
สรุปสาระสำคัญ
นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 กลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำคู่มือการตรวจสอบด้านการเงิน การบัญชีของสถานศึกษา โดยกำหนดแนวทางการตรวจสอบให้ผู้ตรวจสอบภายใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ใช้สำหรับตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชีของสถานศึกษา โดยมีประเด็นการตรวจสอบรวมทั้งสิ้น 10 ประเด็น ได้แก่ การตรวจสอบแผนปฏิบัติการประจำปี การควบคุมเงินคงเหลือ การเก็บรักษาเงิน การควบคุมการรับเงิน การควบคุมการจ่ายเงิน การจัดทำบัญชีการจัดทำรายงานการเงิน การตรวจสอบการรับ-จ่ายประจำวัน การควบคุมเงินยืม และการควบคุมใบเสร็จรับเงิน เพื่อให้ผู้ตรวจสอบภายใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม สามารถประเมินผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษาทุกแห่งที่ดำเนินการตรวจสอบ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และครอบคลุมการปฏิบัติงาน ทุกระบบงาน รวมทั้งสามารถนำผลการประเมินจัดทำรายงานการตรวจสอบภายในได้อย่างครบถ้วน กำหนดเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชีของสถานศึกษา เพื่อให้ผู้ตรวจสอบภายใน ใช้สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษา รวมคะแนน 100 คะแนน ตามประเด็น ดังนี้ 1) การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2) การควบคุมเงินคงเหลือ 3) การเก็บรักษาเงิน 4) การควบคุมการรับเงิน 5) การควบคุมการจ่ายเงิน 6) การจัดทำบัญชี 7) การจัดทำรายงานการเงิน 8) การตรวจสอบรับ-จ่ายประจำวัน 9) การควบคุมเงินยืม และประเด็นที่ 10) การควบคุมใบเสร็จรับเงิน โดยมีการจัดลำดับผลการปฏิบัติงานตามค่าคะแนนที่ประเมินได้ 85-100 คะแนน ระดับผลการปฎิบบัติงานดีมาก 70-84 คะแนน ระดับผลการปฎิบบัติงานดี 60-65 คะแนน ระดับผลการปฎิบบัติงานพอใช้ และต่ำกว่า 60 คะแนน ระดับผลการปฎิบบัติงานปรับปรุง
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. การวางแผน (P : Plan) ผู้อำนวยการหน่วยตรวจสอบภายใน ดำเนินการวางแผนการตรวจสอบภายในประจำปี 2565 ก่อนสิ้นเดือนกันยายน โดยมีการ
1.1 การศึกษา วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจเบื้องต้น
1.2 ประเมินระบบการควบคุมภายในของงานที่ตรวจ
1.3 ประเมินความเสี่ยงงานที่ตรวจ
1.4 จัดทำแผนการตรวจสอบประจำปี เสนอผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 พิจารณา และส่งแผนการตรวจสอบภายในประจำปีให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายในเดือนตุลาคม 2564
2. การดำเนินการ (D : Do)
2.1 ก่อนเริ่มปฏิบัติงานตรวจสอบ เป็นการเตรียมการ เช่น
1) ศึกษากฎหมาย ระเบียบ คู่มือการตรวจสอบด้านการเงิน การบัญชีของสถานศึกษา หรือแนวทางในการตรวจสอบ ติดตามประเมินการปฏิบัติงานการเงินการบัญชีของสถานศึกษา
2) จัดทำบันทึกและหนังสือแจ้งปฏิทินการตรวจสอบภายใน ขอบเขตการตรวจสอบ พร้อมทั้งขอให้ส่งข้อมูลการเบิกจ่ายเงินจากทะเบียนคุมใบสำคัญคู่จ่ายให้หน่วยตรวจสอบภายใน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าตรวจสอบภาคสนามไปยังโรงเรียนเป้าหมาย
3) นำข้อมูลการเบิกจ่ายเงินของโรงเรียนเป้าหมายส่งมาให้พิมพ์ใส่กระดาษทำการแยกตามประเภทเงิน พร้อมทั้งพิมพ์กระดาษทำการ
4) นำข้อมูลผลการประเมินครั้งก่อนของโรงเรียนเป้าหมายมาจัดทำกระดาษทำการสรุปการประเมินการปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชีในปีปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบผลการประเมินของครั้งก่อน
5) จัดเตรียมกระดาษทำการอื่น ๆ เพื่อให้ในการจัดเก็บข้อมูลจากการตรวจสอบเพื่อใช้ประกอบการประเมินการปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชี
6) จัดทำบันทึกและหนังสือจัดทำหนังสือส่งผู้ตรวจสอบภายใน ออกปฏิบัติราชการภาคสนามตามปฏิทินงานที่กำหนดไปยังโรงเรียนเป้าหมาย
7) บันทึกขออนุญาตเดินทางไปราชการ พร้อมขอใช้รถยนต์ราชการ
2.2 ระหว่างการปฏิบัติงานตรวจสอบ
1) ผู้อำนวยการหน่วยตรวจสอบภายใน เปิดการตรวจสอบ และแนะนำทีมต่อผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งเป็นผู้รับตรวจสอบ
2) ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานการตรวจสอบที่โรงเรียนเตรียมไว้ตามขอบเขตการตรวจสอบที่แจ้งพร้อมปฏิทินการตรวจสอบ
3) ดำเนินการตรวจสอบตามที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 9 ประเด็น ได้แก่ การตรวจสอบแผนปฏิบัติการประจำปี การควบคุมเงินคงเหลือ การเก็บรักษาเงิน การควบคุมการรับเงิน การจัดทำบัญชี การจัดทำรายงานการเงิน การตรวจสอบการรับ-จ่ายประจำวัน การควบคุมเงินยืม และการควบคุมใบเสร็จรับเงิน โดยใช้ประสบการณ์ในการตรวจสอบ และเทคนิคในการตรวจสอบ เช่น 1)การตรวจดู 2)การสังเกต 3)การตรวจนับ 4)การยืนยันยอด 5)การตรวจสอบเอกสารใบสําคัญ 6) การคํานวณใหม่ 7) การตรวจสอบการผ่านรายการ 8) การตรวจหารายการผิดปกติ 9) การสอบถาม 10)การติดตามรายการ 11) การวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อให้ทราบว่ามีการปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย แนวทางที่กำหนดไว้ถูกต้อง ครบถ้วน หรือไม่ พร้อมทั้งสรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจพบ ข้อเสนอแนะไว้ในกระดาษทำการที่เกี่ยวข้อง
2.3 การปฏิบัติงานเมื่อเสร็จสิ้นงานตรวจสอบ เช่น การรวบรวมเอกสาร ข้อมูล ข้อเท็จจริง และสรุปผลการตรวจสอบเบื้องต้น
2.4 สรุปผลการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินการปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชีของโรงเรียนเป้าหมาย ให้ผู้อำนวยการหน่วยตรวจสอบภายในพิจารณา สอบทานผลการตรวจสอบ
2.5 ผู้อำนวยการหน่วยตรวจสอบภายใน ประชุมปิดการตรวจสอบ แจ้งผลการตรวจสอบและเมินการปฏิบัติงานให้โรงเรียนรับทราบเบื้องต้น
2.6 รวบรวม สรุป และจัดทำร่างรายงานผลการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินการปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี เสนอผู้อำนวยการหน่วยตรวจสอบภายในพิจารณา สอบทานการรายงาน
2.7 เสนอรายงานผลการตรวจสอบ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
2.8 ส่งรายงานผลการตรวจสอบภายใน ผ่านระบบ ARS และ Smart Obec ไปให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภายในกำหนดเวลา
3. การติดตาม ประเมินผล (A: Action)
3.1 สรุปผลการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินการปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชีของแต่ละ โรงเรียน
3.2 แจ้งผลการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินการปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชีให้โรงเรียนทราบและดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะ(ถ้า)
เป้าหมายของผลงาน
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จำนวน 42 แห่ง
ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณ/คุณภาพ)
เชิงปริมาณ
1. ตรวจสอบโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จำนวน 42 แห่ง
2. รายงานผลการตรวจสอบภายใน ประจำปีงบประมาณ 2565
เชิงคุณภาพ
1. โรงเรียนในสังกัดได้รับการตรวจสอบการปฏิบัติงานการเงิน การบัญชี และข้อเสนอแนะ(ถ้ามี)
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ได้รับทราบผลการปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชีของโรงเรียน
3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับทราบผลการปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชีของโรงเรียนในสังกัด(แต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา)
การนำไปใช้ประโยชน์/ผลกระทบ
1. โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ได้รับการกำกับ ดูแล ด้านการปฏิบัติงานการเงินการบัญชีทุกแห่ง
2. โรงเรียนได้รับการแนะนำระเบียบ กฎหมาย วิธีปฏิบัติด้านการเงินการบัญชีของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544 3. ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงโรงเรียนเพื่อวางแผนการตรวจสอบภายในประจำปี ถัดไป
ความยุ่งยากและซับซ้อนในการดำเนินการ
1. เนื่องจากบุคลากรของหน่วยตรวจสอบภายใน มีจำนวนน้อย แต่กำหนดขอบเขตการตรวจสอบภายในมีจำนวนมาก หากผู้ตรวจสอบภายในคนใดคนหนึ่งที่มีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติในช่วงที่มีปฏิทินการตรวจสอบภาคสนาม ต้องแจ้งเลื่อนวันการเข้าตรวจสอบโรงเรียน
2. การประสานขอข้อมูลจากโรงเรียน เพื่อจัดทำกระดาษทำการ ได้รับข้อมูลล่าช้า
3. การตรวจสอบภาคสนาม เมื่อไปถึงโรงเรียนเป้าหมายแล้ว ผู้บริหารหรือครูผู้รับผิดชอบไปไม่อยู่ และหรือ เอกสาร ข้อมูลของโรงเรียนไม่พร้อมให้ตรวจสอบ ทำให้ต้องใช้เวลาตรวจสอบที่โรงเรียนนานเกินจำเป็น
4. การรวบรวม สรุปผลการตรวจสอบจากกระดาษทำการบันทึกผลการตรวจสอบภาคสนามและจัดทำรายงาน มีรายละเอียดมากและการบันทึกข้อมูลกระดาษทำการไม่ชัดเจนต้องร่วมกันทบทวนเพื่อให้ได้รายงานตามความเป็นจริง
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ
1. ไม่สามารถเดินทางไปปฏิบัติงานภาคสนามเพื่อตรวจสอบตามปฏิทินที่กำหนดได้ เนื่องจากผู้ตรวจสอบภายใน ติดงานราชการอื่น และหรือโรงเรียนขอเลื่อนการตรวจสอบ
2. โรงเรียนบางแห่งตั้งอยู่ห่างไกล ทำให้ต้องใช้เวลาเดินทางไกลไปยังหน่วยรับตรวจ
3. โรงเรียนบางแห่งบันทึกทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณ ทั้งรายการด้านรับเงิน ด้านจ่ายเงิน ไม่ถูกต้องครบถ้วน และไม่เป็นปัจจุบัน ทำให้เงินคงเหลือของเงินแต่ละประเภทไม่ถูกต้องตรงกับเงินฝากธนาคาร ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบหาสาเหตุ ส่งผลให้การตรวจสอบไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
4. ผู้ตรวจสอบภายใน และหรือหน่วยรับตรวจ มีงานราชการเร่งด่วนตรงกับวันออกภาคสนาม ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการเข้าตรวจสอบ ส่งผลให้งานไม่แล้วเสร็จตามปฏิทินที่กำหนดไว้
5. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สั่งการเร่งด่วนให้ตรวจสอบอื่นนอกเหนือจากการตรวจสอบที่กำหนดไว้ในแผนการตรวจสอบภายในประจำปี ทำให้ต้องรับภาระงานเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้การตรวจสอบภายในที่กำหนดไว้เสร็จล่าช้ากว่ากำหนด และต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้การตรวจสอบสามารถเสร็จสิ้นและจัดทำรายงานภายในก่อนสิ้นปีงบประมาณ
ข้อเสนอแนะ
1. โรงเรียนควรมีการจัดทำเอกสารหลักฐานประกอบการรับเงิน จ่ายเงิน พร้อมทั้งบันทึกทะเบียนคุมที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบัน เพื่อลดความเสี่ยงในการละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย ที่กำหนด
2. ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องมีการกำกับ ติดตามการจัดทำเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายและการบันทึกทะเบียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน