ชื่อเรื่อง การพัฒนาครูภาษาไทยระดับประถมศึกษาในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PDRCAS
ผู้จัดทำ นางจิราพร ไกรพล ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
ปีพุทธศักราช 2564
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PDRCAS มีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อการพัฒนาครูภาษาไทยระดับประถมศึกษาในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PDRCASวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูภาษาไทยระดับประถมศึกษาในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PDRCAS เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อปัจจัยส่งเสริมสนับสนุนในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการพัฒนาครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อพัฒนาการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PDRCAS ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรมและเอกสารประกอบการอบรมการการพัฒนาครูภาษาไทยระดับประถมศึกษาในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PDRCAS และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบสอบถามครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็น และแบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการนิเทศการพัฒนาครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PDRCAS การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์การการพัฒนาครูภาษาไทยระดับประถมศึกษาในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PDRCAS
1.1 ผลการทดสอบความรู้ของครูผู้สอน ก่อนการอบรมได้คะแนนเฉลี่ย 22.87
จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.39 คะแนนเฉลี่ย หลังการอบรมได้คะแนนเฉลี่ย 33.26 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.86 เมื่อเปรียบเทียบความก้าวหน้า หลังการอบรม มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น 10.40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 26.00
1.2 การนำสาระและองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้
สมองเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 ผลการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้
ภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
1.4 ครูผู้สอนที่เปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย 5 ลำดับแรก ได้แก่ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยตามขั้นตอนกระบวนการสอน BBL (5 ขั้นตอน) ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันผลิตสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการอ่านการเขียน (ร้อยละ 89.02) ใช้สื่อ GO (Graphic Organizers) เพื่อสรุปองค์ความรู้ จัดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ Active Learning และให้นักเรียนนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
1.5 ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนหลังครูผู้สอนจัดการ
เรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ สามารถอ่านเรื่องและสรุปใจความสำคัญได้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถเขียนสื่อความตามระดับชั้นที่ตนเองเรียนได้ สามารถคิดพิจารณาอย่างรอบครอบโดยใช้เหตุผล ประกอบการตัดสินใจ และสามารถอ่านวิเคราะห์และตีความได้
2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อปัจจัยส่งเสริมสนับสนุน
ในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน
ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อปัจจัยส่งเสริมสนับสนุน ครูผู้สอนจัดการ
เรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ผู้บริหารให้การส่งเสริม/สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน
ภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน การสนับสนุนด้านงบประมาณในด้านการจัดซื้อจัดหาสื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูผู้สอนเข้ารับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการ BBL และมีสนามเด็กเล่น ปรับเปลี่ยนห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการนิเทศครูผู้สอนในการจัด
การเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PDRCAS โดยภาพรวมอยู่ใน
ระดับมากที่สุด