บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานผลการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารคุณภาพแบบ PDRCAS โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารคุณภาพแบบ PDRCAS โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 เพื่อศึกษาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 หลังผ่านกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารคุณภาพแบบ PDRCAS และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการบริหารคุณภาพแบบ PDRCAS โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
พื้นที่ศึกษา คือ โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จำนวน 80 แห่ง ระยะเวลาในการศึกษา คือ ปีงบประมาณ 2562-2563 ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2562 ถึง เดือน เมษายน 2563 กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 80 คน ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ระดับการศึกษาปฐมวัย จำนวน 79 คน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 81 คน รวม 240 คน
เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นเอง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโดยมีดังนี้ 1) แบบติดตามการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 2) แบบติดตามการเตรียมความพร้อมรับการประเมินภายนอกรอบสี่สถานศึกษาในสังกัดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 3) แบบถอดประสบการณ์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้เข้มเข็งสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PDRCAS โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามโดยการหาค่าเฉลี่ยค่าร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปและสังเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การวิเคราะห์สร้างข้อสรุป (Analytic Induction) จากผลการดำเนินงาน
สรุปและรายงานผล
ผลการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PDRCAS โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 นำเสนอข้อสรุปและรายงานผล โดยแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ผลการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PDRCAS โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ตอนที่ 2 ผล การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 หลังผ่านกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PDRCAS ตอนที่ 3 ผลการประเมินความพึงพอใจของสถานศึกษาที่มีต่อการขับเคลื่อน การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PDRCAS โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ดังรายละเอียดตามลำดับต่อไปนี้
ตอนที่ 1 ผลการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PDRCAS โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสังเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การวิเคราะห์สร้างข้อสรุป (Analytic Induction) จากผลการดำเนินงาน มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
P : Plan วางแผนการสร้างคุณภาพการศึกษา
ได้โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
D : Do ดำเนินงานตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้อย่างเป็นระบบ
1) ผู้บริหารสถานศึกษารับทราบนโยบายการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
2) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 สามารถกำหนดมาตรฐานและค่าเป้าหมายได้เหมาะสมกับสภาพบริบทของสถานศึกษา
- จัดทำโครงการ กิจกรรม แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ลงสู่แผนการปฏิบัติการประจำปีได้สอดคล้องกับประเด็นพิจารณาคุณภาพตามมาตรฐาน
- สามารถจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (SAR) ได้สะท้อนภาพผลการพัฒนาของสถานศึกษา
R : Reinforce การเสริมสร้าง สนับสนุน ให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ
1) โรงเรียนมีแผนและใช้งบประมาณเพื่อสนับสนุนระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามมาตรฐานทั้ง 3 มาตรฐาน
2) ผู้บริหารและครูได้รับการนิเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมและใช้การนิเทศหลายช่องทาง เช่น เว็บไซด์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 กลุ่ม Facebook และกลุ่ม Line ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 เป็นต้น
3) โรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและได้รับรางวัล IQA Awards ทั้งระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับ สพฐ.
C : Check ตรวจสอบติดตาม ประเมินผล
1) โรงเรียนในสังกัดได้รับการติดตาม และตรวจสอบคุณภาพการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และสามารถจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (SAR) สะท้อนภาพรวมการพัฒนาของสถานศึกษาได้
2) โรงเรียนได้รับการติดตาม และตรวจสอบจากเขตพื้นที่การศึกษาตามปฏิทินกำหนด ครบ 80 โรงเรียน และพบว่าโรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่เข้มแข็งและมีระดับคุณภาพดีขึ้นไปทุกโรงเรียน
A : Action ปรับปรุง พัฒนา สรุปรายงาน
1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการถอดประสบการณ์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างเข้มแข็ง 17 โรงเรียน ที่ผ่านการประเมินภายนอกรอบสี่ จาก สมศ. เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการแก่สถานศึกษาอื่นในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
2) โรงเรียนนำผลการประเมินตนเอง (SAR) ผลจาก
การสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองจากสถานศึกษา และผลการประเมินผลการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ. ไปวางแผนดำเนินงาน (P) นำสู่การปฏิบัติ (D) การเสริมสร้างสนับสนุน (R) การตรวจสอบ (C) การปรับปรุงพัฒนาตามคำแนะนำ ข้อเสนอแนะของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและ สมศ. (A)
S : Share แลกเปลี่ยน เผยแพร่ผลงาน
1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ได้เผยแพร่ผลการถอดประสบการณ์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้แก่สถานศึกษาในสังกัด แล้วนำเสนอไว้ในเว็บไซด์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
2) จัดพิธีมอบรางวัล IQA Awards ให้กับโรงเรียนที่ได้รับรางวัลเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ และเผยแพร่ผลงานทางสื่อสังคมออนไลน์
ตอนที่ 2 ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 หลังผ่านกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PDRCAS
ผลการประเมินระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ระดับการศึกษาปฐมวัย ปีการศึกษา 2562 พบว่า มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยมี 3 มาตรฐาน ในภาพรวมพบว่าโรงเรียนในสังกัดมีคุณภาพในภาพรวมระดับดีขึ้นไปทุกโรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมี 3 มาตรฐาน ในภาพรวม พบว่า โรงเรียนในสังกัดมีคุณภาพในภาพรวมระดับดีขึ้นไปทุกโรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 100
ตอนที่ 3 ผลการประเมินความพึงพอใจของสถานศึกษาที่มีต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PDRCASโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
พบว่าสถานศึกษามีความพึงพอใจต่อการขับเคลื่อนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PDRCAS อยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้าน คือ การวางแผน การดำเนินงาน การเสริมสร้าง สนับสนุน การตรวจสอบ ประเมิน และการปรับปรุงพัฒนา สรุปรายงาน ส่วนด้านการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเผยแพร่ผลงานนั้นสถานศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
รายงานผลการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PDRCAS โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ได้มีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม และสังเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์สร้างข้อสรุป จากผลการดำเนินงาน จึงมีข้อค้นพบที่สำคัญและนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะในเชิงปฏิบัติ และข้อเสนอแนะในเชิงวิชาการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1.1 สร้างความตระหนักให้กับผู้บริหารสถานศึกษาในการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
1.2 ควรพัฒนาผู้บริหารและครูให้มีความตระหนักและมีความรู้ความเข้าใจระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน
1.3 บริหารระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน โดยเน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีการกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน
1.4 การบริหารการเปลี่ยนแปลงระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ผู้บริหารและครูต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา ที่มุ่งเน้นคุณภาพการศึกษา พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อระบบงานประกันคุณภาพภายในและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกและการดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษา
1.5 การพัฒนาคุณภาพการจัดศึกษาควรมีผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และเสริมสร้างขวัญและกำลังใจและความสัมพันธ์ระหว่างครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.6 สถานศึกษาควร เผยแพร่ประชาสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้การประกันคุณภาพการศึกษากับหน่วยงานหรือองค์กรอื่น เพราะการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะเกิดการเปรียบเทียบระหว่างหน่วยงานและสามารถนำสิ่งดีๆจากหน่วยงานอื่นมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนเองรวมทั้งได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานของหน่วยงานของตนเองด้วย
2. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ
2.1 การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PDRCAS โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต้องคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2.2 การนำรายงานผลการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ PDRCAS โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ไปใช้ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพทั้งในระดับโรงเรียน ระดับห้องเรียน และรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง
3. ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ
3.1 ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสำเร็จของระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันและควรเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
3.2 ศึกษาปัจจัยส่งเสริมและอุปสรรคในการดำเนินงานบริหารจัดการระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา