1. ชื่อและสาระสำคัญของผลงาน
ชื่อผลงาน การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
สาระสำคัญ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรงชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมานานกว่า ๓๐ ปี ดังจะเห็นได้ว่า ปรากฏความหมายเป็นเชิงนัยเป็นครั้งแรกในพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี ๒๕๑๗ ที่พระองค์ได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนา บนหลักแนวคิดพึ่งตนเอง เพื่อให้เกิดความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ของคนส่วนใหญ่ โดยใช้หลักความพอประมาณ การคำนึงถึงการมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชา และการมีคุณธรรมเป็นกรอบในการปฏิบัติและการดำรงชีวิต
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงเปรียบเสมือนแสงเทียนที่ส่องสว่างให้เห็นหนทางที่จะก้าวเดินต่อไปของแต่ละบุคคล ชุมชน และของประเทศชาติ โดยเป็นแนวทางที่เน้นการเจริญเติบโตที่ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นตามศักยภาพที่มีอยู่จริง อย่างมีเหตุมีผล เป็นขั้นเป็นตอนด้วยความมั่นคง และเตรียมพร้อมด้วยความไม่ประมาทในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งทางบวกและทางลบ นับเป็นกระบวนการมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง มากกว่าการสร้างความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดที่ลอกเลียนแบบมาจากรูปแบบการพัฒนาของสังคมอื่น ๆ โดยไม่พิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งการมุ่งเน้นแต่ผลลัพธ์ในระยะสั้น มากกว่าความยั่งยืนของการพัฒนา เป็นการเสี่ยงต่อความไม่แน่นอนทั้งหลายที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้มาก
กระทรวงศึกษาธิการในฐานะหน่วยงานหลักในการพัฒนาคนและสร้างเยาวชนให้มีคุณภาพของประเทศ ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าในภารกิจดังกล่าว จึงมีนโยบายที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยอัญเชิญมาใช้เป็นหลักในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพสามารถพึ่งตนเองได้ เกิดความพอมี พอกิน พอใช้ พออยู่ ในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และมีคุณธรรมกำกับความรู้เป็นกรอบในการดำรงชีวิต และเป็นพลเมืองดีของชาติ โดยร่วมกับคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งมี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นประธาน ภายใต้คณะทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านสถาบันการศึกษาและเยาวชน สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้สามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมและปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ในการดำรงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับ แนวทางการพัฒนาด้วยการกำหนดนโยบายด้านการศึกษา โดยนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือ ระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา และองค์กรภาคส่วนต่าง ๆ ให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต ๒ มีภารกิจหลักในการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมสนับสนุนประชากรทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเสมอภาค พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ บริหารจัดการโดยยึดหลักการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีเป้าประสงค์ เพื่อให้ประชากร วัยเรียนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงเสมอภาค มีคุณธรรมนำความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและยั่งยืน
ข้าพเจ้า ในฐานะผู้รับผิดชอบหลัก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต โดยยึดหลักพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี บนพื้นฐานจิตใจที่มีคุณธรรม และใช้ความรู้อย่างรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง เพื่อให้ชีวิตสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม รวมถึงการนำนโยบาย ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต ๒ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อให้โรงเรียนทุกแห่งตระหนักถึงคุณค่าการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา นำไปสู่การบ่มเพาะให้ผู้เรียน ครู และผู้บริหารมีอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงและดำรงตนตามวิถีของศาสตร์พระราชา
2. เพื่อสนับสนุนให้สถานศึกษานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล เกิดการปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์ในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
3. เพื่อสนับสนุน และพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงผ่านการประเมินแล้วให้คงสภาพ รักษามาตรฐาน สร้างความยั่งยืน และเกิดประโยชน์ในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
4. เพื่อส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
5. เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยศึกษาแหล่งเรียนรู้ โดยเฉพาะโครงการพระราชดำรงในชุมชน และจังหวัด
ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ได้นำหลักการ แนวคิดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษา มาประยุกต์ใช้ ดังต่อไปนี้
1. การขยายผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
- สถานศึกษาพอเพียง : เพื่อขยายผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สู่สถานศึกษากลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ผ่านการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง
- ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา : ในเขตพื้นที่การศึกษา ที่ยังไม่มีศูนย์การเรียนรู้ฯ ให้มีการส่งเสริมและพัฒนาให้มีศูนย์การเรียนรู้ฯ ครบทุกเขตพื้นที่
2. การรักษามาตรฐานและสร้างความยั่งยืนการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา
- สถานศึกษาทุกแห่ง : กำหนดและส่งเสริมให้ทุกสถานศึกษาจัดกิจกรรม/ชุมนุม/กิจกรรม “เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง” ที่เน้นกระบวนการ Active Learning
- สถานศึกษาพอเพียง และศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา : เพื่อรักษามาตรฐานและสร้างเสริมความยั่งยืนแก่สถานศึกษาพอเพียง ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดกลไกสร้างเสริมความยั่งยืนในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาให้แก่ทุกสถานศึกษาในสังกัด เช่น การพัฒนาเครือข่ายเชิงวิชาการ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ได้แนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
3. เพื่อการประเมินสถานศึกษาพอเพียง /นิเทศ ติดตามโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน ในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สู่สถานศึกษา ดังต่อไปนี้
1. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ ข้อมูล แนวคิด แนวทางและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2. จัดทำแผนงาน โครงการ เพื่อขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โดยนำนโยบาย ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมาเป็นแนวทางการดำเนินงาน
2.1 ถ้ามีการแก้ไข ให้ดำเนินการปรับปรุงแผนงาน โครงการ และนำเสนอผู้บังคับบัญชา
2.2 ถ้าไม่มีการแก้ไข ให้ดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ ที่กำหนดไว้
3. การสร้างความตระหนัก ให้สถานศึกษาในสังกัดเห็นความสำคัญและดำเนินการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกลไกสร้างเสริมความยั่งยืนในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาให้แก่ทุกสถานศึกษาโดยผ่านวิธีการที่หลากหลาย เช่น การประชุมผู้บริหารสถานศึกษา การประชุมผู้รับผิดชอบ เป็นต้น
4. สำรวจสถานศึกษาที่ต้องการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา (ศรร.)
5. ดำเนินการพัฒนาสถานศึกษาที่ต้องการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา (ศรร.) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
6. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานฯ
7. ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนกำกับ ติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ขอรับการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ
8. กำกับ ติดตาม การดำเนินงานของสถานศึกษาพอเพียงที่ขอรับการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ โดย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ และนักวิชาการศึกษา ตลอดจนคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
9. นิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินกิจกรรมของสถานศึกษาพอเพียง โดย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ และนักวิชาการศึกษาตลอดจนคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
10. ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริม สนับสนุนการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในสังกัด
11. นิเทศ กำกับ ติดตาม การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ และนักวิชาการศึกษา รวมถึงคณะกรรมการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง)
12. สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผู้บังคับบัญชา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผลการดำเนินงาน
1. โรงเรียนทุกแห่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 (คิดเป็นร้อยละ 100.00) ได้มีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการในการจัดการเรียนการสอนครบทุกกลุ่มสาระฯ และจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ผู้เรียน ทั้งนี้ ผู้บริหารและคณะครู มีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะส่งเสริม พัฒนาผู้เรียนสามารถปฏิบัติตนได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
2. โรงเรียนทุกแห่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 (คิดเป็นร้อยละ 100.00) มีการจัดทำแผนงาน โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อชุมชน สังคม สาธารณประโยชน์
3. โรงเรียนทุกแห่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 (คิดเป็นร้อยละ 100.00) ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และความร่วมมือจากชุมชน ภาคีเครือข่าย รวมถึงหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียน สามารถพึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกันที่ดี เห็นคุณค่า ภูมิใจ และร่วมเชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทย/ท้องถิ่น และหลักคำสอนทางศาสนา
4. โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ผ่านการประเมินเป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ตั้งแต่ปี 2550 – 2559 ทั้งหมดจำนวน 86 โรง ปัจจุบันไม่มีการเรียนการสอน จำนวน 4 โรง ได้แก่
- โรงเรียนบ้านหนองเขียด ไปเรียนรวมโรงเรียนบ้านหนองปลาสะวาย
- โรงเรียนบ้านไร่ ไปเรียนรวมโรงเรียนบ้านแม่เทย
- โรงเรียนบ้านเหล่าดู่ ไปเรียนรวมโรงเรียนห้วยปันจ้อย
- โรงเรียนบ้านแม่หาด ไปเรียนรวมโรงเรียนวัดวังหลวง
คงเหลือโรงเรียนจำนวน 82 โรง คิดเป็นร้อยละ 100.00 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
4.1 สถานศึกษาที่ผ่านการประเมินเป็น “สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ประจำปี 2550 ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 จำนวน 1 โรง
4.2 สถานศึกษาที่ผ่านการประเมินเป็น“สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ประจำปี 2553 ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2552 จำนวน 6 โรง
4.3 สถานศึกษาที่ผ่านการประเมินเป็น “สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง 2554)” ประจำปี 2554 ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2555 จำนวน 16 โรงเรียน
4.4 สถานศึกษาที่ผ่านการประเมินเป็น สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง“สถานศึกษาพอเพียง 2555”(รอบ 2) ประจำปี 2555 ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 จำนวน 4 โรงเรียน
4.5 สถานศึกษาที่ผ่านการประเมินเป็น สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง“สถานศึกษาพอเพียง 2556” ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 21 เมษายน 2557 จำนวน 25 โรงเรียน
4.6 สถานศึกษาที่ผ่านการประเมินเป็น สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง“สถานศึกษาพอเพียง 2557” ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2558 จำนวน 23 โรงเรียน
4.7 สถานศึกษาที่ผ่านการประเมินเป็น สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง“สถานศึกษาพอเพียง 2559” ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 20 กันยายน 2560 มีจำนวน 11 โรงเรียน
5. โรงเรียนบ้านแม่เทย โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง โรงเรียนบ้านไม้ตะเคียน และโรงเรียนชุมชน
บ้านป่าไผ่ได้รับโล่และเกียรติบัตรต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน จากจังหวัดลำพูน
2. ประโยชน์ที่เกิดจากผลงาน
จากการส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษา ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประพฤติปฏิบัติเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่น และคนในชุมชน ตลอดจนการปลูกฝังเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียน รักการเรียนรู้ รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทัน ใช้สติปัญญาก่อนตัดสินใจและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อจะเป็นภูมิคุ้มกัน ที่ดีในการดำเนินชีวิตภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ส่งผลให้
ประโยชน์ต่อข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน หน่วยงาน และสถานศึกษา
1. ข้าราชการครู บุคลากรทางศึกษา และนักเรียนในสังกัด ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย
ไม่ฟุ้งเฟ้อมีการแก้ไขปัญหาของตนเองด้วยเหตุและผล เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนาเข้ามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง (ความพอประมาณ)
2. ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสังกัด มีการตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผล ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ (ความมีเหตุผล)
3. ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน สามารถเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
4. นักเรียนสามารถพึ่งตนเองได้ตามหลักความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว มีคุณธรรม จริยธรรมเป็นกรอบในการดำรงชีวิต ประพฤติแต่สิ่งที่ดีงาม เมื่อมีปัญหา รู้จักปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครู หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้คำปรึกษาไม่ตัดสินใจโดยพลการ
5. ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสังกัด เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่น และชุมชน ส่งผลให้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติและได้รางวัลจากหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องติดต่อกันหลายปี
ประโยชน์ต่อชุมชน
1. ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสังกัดมีการขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ผู้ปกครอง และคนในชุมชน
2. ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสังกัดมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างกลไกความร่วมมือและความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในชุมชน อำเภอ จังหวัด และประเทศ เช่น โรงเรียน วัด ชุมชน ที่ว่าการอำเภอ วัด และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เป็นต้น
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 และโรงเรียนในสังกัด ได้รับความร่วมมือ และสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคชุมชน ในการขับเคลื่อนโครงการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น จังหวัดลำพูน ที่ว่าการอำเภอ วัด ชุมชน แหล่งเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น ทั้งการจัดสรรงบประมาณ การให้ความรู้ เอกสาร/คู่มือต่าง ๆ และพันธุ์พืช
3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
1) ปลูกฝังสร้างจิตสำนึกในเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดความยั่งยืนในสถานศึกษา และขยายผลสู่ชุมชน
2) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาพอเพียง ได้รับการพัฒนา และผ่านการประเมินให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
๓) ควรดำเนินการต่อเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็กและเยาวชน
4. ผู้ร่วมดำเนินการ (ถ้ามี)
1) ชื่อ..........................-..........................ตำแหน่ง..........-.............สัดส่วนของผลงาน.-..%
2) ชื่อ..........................-..........................ตำแหน่ง..........-.............สัดส่วนของผลงาน.-..%