รายงานการประเมินตนเองตามมาตรฐานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2557
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
1.ความสำคัญของผลงานที่นำเสนอ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 มีบทบาท อำนาจหน้าที่ ในการจัดส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ผู้จัดทำรายงานได้ปฏิบัติงานกลุ่มนโยบายและแผนของเขตพื้นที่การศึกษา จากการนำนโยบายคณะรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัดและจังหวัด และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นำนโยบายสู่การปฏิบัติ มาจัดทำรายละเอียดโครงการกิจกรรม และการกำกับติดตาม รายงานผลการดำเนินงานให้สาธารณะชนได้ทราบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้ขับเคลื่อนนโยบายตามที่สอดคล้องกับมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
ขับเคลื่อนภารกิจการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานเขตพื้นที่การศึกษา
3.กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
การขับเคลื่อนนโยบายเริ่มจากการวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายบายกลุ่มจังหวัด จังหวัดและความต้องการของท้องถิ่น มาเป็นนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 มีรายงานการประเมินผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาทั้งนี้มีการกระบวนบริหารจัดการ PDCA โดยมีกระบวนการดังนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์นโยบายรัฐบาลและแนวทางการพัฒนาด้านการศึกษาของหน่วยงานทุกระดับและสภาพบริบท โดยวางแผนการดำเนินการจากผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนทุกระดับ องค์คณะบุคคลทั้งสามองค์คณะ
2. ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีและนโยบายจุดเน้นสำคัญ โดยกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม ใช้หลักธรรมาธิบาลในการบริหารจัดการ
3. การกำกับ ติดตาม ประเมินผล เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข
4. กำหนดแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาต่อไปจากข้อมูลระบบรายงานผลรอบ 6,9,12 เดือน ตามคู่มือการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน ตามแผนปฏิบัติการประจำปี มาตรฐานสำนักงาน คู่มือ KRS และ ARS โดยใช้กระบวนการ PDCA รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้ทราบโดยทั่วกันและนำผลการดำเนินงาน ประกอบการวางแผนการดำเนินงานในปีถัดไป
4.ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
มาตรฐานที่ 1 การบริหารจัดการองค์ความรู้สู่ความเป็นเลิศ 30 คะแนน ระดับดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้ที่ 1 การบริหารจัดการที่ดี คะแนนที่ได้รับ 40 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้ที่ 2 การพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ คะแนนที่ได้รับ 40 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้ที่ 3 การกระจายอำนาจและการส่งเสริมการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม คะแนนที่ได้รับ 35 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้ที่ 4 การติดตามตรวจสอบประเมินผลและนิเทศการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ คะแนนที่ได้รับ 35 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
มาตรฐานที่ 2 การบริหารและการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ 30 คะแนน ระดับดีเยี่ยม
ตัวบ่งชี้ที่ 1 การบริหารงานด้านวิชาการ คะแนนที่ได้รับ 30 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้ที่ 2 การบริหารงานด้านงบประมาณ คะแนนที่ได้รับ 30 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้ที่ 3 การบริหารงานด้านบริหารงานบุคคล คะแนนที่ได้รับ 30 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้ที่ 4 การบริหารงานด้านการบริหารทั่วไป คะแนนที่ได้รับ 30 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้ที่ 5 การขับเคลื่อนนโยบายไปสู่ การปฏิบัติ คะแนนที่ได้รับ 30 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
มาตรฐานที่ 3 ผลการบริหารและการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 35
คะแนน ระดับดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้ที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีผลงานที่แสดงความสำเร็จและ เป็นแบบอย่างได้ คะแนนที่ได้รับ 25 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้ที่ 2 สถานศึกษามีคุณภาพ ตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา คะแนนที่ได้รับ 25 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้ที่ 3 ผู้เรียนทุกระดับการศึกษามีคุณภาพตามหลักสูตรคะแนนที่ได้รับ 5 ระดับปรับปรุง ตัวบ่งชี้ที่ 4 ผู้เรียน มีคุณภาพตามจุดเน้นและสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 คะแนนที่ได้รับ 20 ระดับดีมาก ตัวบ่งชี้ที่ 5 ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คะแนนที่ได้รับ 25 ระดับดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้ที่ 6 ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิต ที่ดีคะแนนที่ได้รับ 25 ระดับดีเยี่ยมตัวบ่งชี้ที่ 7 ประชากรวัยเรียนได้รับสิทธิและโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่าเทียมกันและส่งเสริมการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น คะแนนที่ได้รับ 25 ระดับดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้ที่ 8 ความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คะแนนที่ได้รับ 25 ระดับดีเยี่ยม รวม 3 มาตรฐาน 17 ตัวบ่งชี้ คะแนนที่ได้รับ 95.00 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
5.ปัจจัยความสำเร็จ
ผู้นำองค์กรเป็นหลักในการขับเคลื่อนภารกิจ ทำงานโดยการมีส่วนร่วมจากบุคลากร ปลูกจิตสำนึกที่ดีให้กับบุคลากรในการทำงาน ด้วยหลักคุณธรรม มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
6.บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ได้ดำเนินการขับเคลื่อนภารกิจด้านการศึกษาสอดคล้องกับมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 3 มาตรฐาน 17 ตัวบ่งชี้ คะแนน 95.00 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ได้รับรางวัลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีผลงานโดดเด่น ประจำปีงบประมาณ 2558 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 200,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
........................................