1. วิเคราะห์ความเสี่ยง
ขั้นตอนแรกในการเตรียมจัดทำแผนป้องกัน และแผนรับมือต่างๆ ก็คือ การวิเคราะห์ความเสี่ยง ของที่ตั้งสานักงาน หรือโรงเรียน เพื่อประเมินสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ในภาคเหนือมีความเสี่ยงของสถานการณ์ โดย สพป.ลาพูนเขต 2 วิเคราะห์ความเสี่ยง จากสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ครั้งล่าสุด ณ จ.เชียงรายที่ผ่านมาจึงกาหนด การฝึก ซ้อมอพยพในสถานการณ์ แผ่นดินไหว
2. มองหาความร่วมมือ
ในการดำเนินการเพื่อรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้นมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอก เช่น โรงพยาบาล สถานีตำรวจ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อำเภอ และชุมชนรอบๆ โรงเรียน เป็นต้น เนื่องจากแต่ละฝ่ายอาจจะต้องให้ความช่วยเหลือกับเราเมื่อเกิดสภาวะ คับขันที่เราไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ทั้งนี้ในการฝึกซ้อมของ สพป.ลาพูน เขต 2 ได้ประสานขอความร่วมมือจากบุคลากรและขอความอนุเคราะห์ใช้อุปกรณ์เข้าร่วมฝึกซ้อมจากหน่วยงานดังนี้ สานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำพูน, ที่ทาการปกครองอาเภอบ้านโฮ่ง, เทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง, สถานีตารวจอำเภอบ้านโฮ่ง, โรงพยาบาลอำเภอบ้านโฮ่ง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอบ้านโฮ่ง, ชุมชนบ้านดอยก้อม
3.ลองร่างแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย + แต่งตั้งคณะทางานตามแผน + กำหนดสถานการณ์สมมติและลำดับเหตุการณ์การฝึกซ้อม
การจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นขั้นตอนที่มีความสาคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะแผนป้องกันฯ คือวิธีการตอบโต้กับสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น จึงต้องมีการวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ ของผู้ปฏิบัติตามแผนให้ครอบคลุมรอบด้าน ทั้งนี้ต้องมีการแต่งตั้งคณะทางานซึ่งเป็นบุคลากรภายใน และบุคคลจากหน่วยงานภายนอกซึ่งต้องร่วมกันดำเนินการตามแผนป้องกันฯ ดังกล่าวไว้ด้วย หลังจากนั้นทดลองกำหนดสถานการณ์สมมติการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติตามการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่ได้ดำเนินการไว้
4. พูดคุย+วางแผน สู่ การสรุปแผนให้ชัดเจน
หลังจากได้ร่างแผนป้องกันฯ แล้วก็มาสู่ขั้นตอน การพูดคุยเพื่อพิจารณาคุณภาพของร่างแผนป้องกันฯ ดังกล่าวว่าใช้ได้หรือไม่ ครอบคลุมรอบด้านแล้วหรือไม่ โดยบุคคลผู้ที่จะเชิญมาร่วมพูดคุยพิจารณาแผนป้องกันฯ นั้นก็คือ คณะทำงานตามแผนที่ได้แต่งตั้งไว้ โดยในขั้นตอนนี้ สพป.ลาพูน เขต 2 ได้ดาเนินการประชุมคณะทางานตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสานักงานเขตและฝึกซ้อมแผนอพยพ (Table Top Exercise : TTX) ของสพป.ลาพูน เขต 2 ประจำปี 2558 จำนวน 2 ครั้ง โดยครั้งแรกได้เชิญคณะทางานมาพูดคุยเพื่อรับฟังแผนและให้คณะทำงานได้ช่วยกันอภิปรายถึงจุดที่ต้องแก้ไขปรับปรุง ส่วนในครั้งที่ 2 เป็นการสรุปย้ำขั้นตอนตามแผนป้องกันฯ และสถานการณ์การฝึกซ้อมให้ชัดเจนเพื่อนาไปสู่การฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนด
5. ซักซ้อมความเข้าใจ
เมื่อได้แผนป้องกันฯ และสถานการณ์สมมติที่มีความขัดเจนแล้ว ลำดับต่อไปจึงนำวิธีการปฏิบัติตัวในขณะเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ การปฏิบัติตามแผนป้องกันฯ และลำดับขั้นตอนการฝึกซ้อมอพยพ ไปซักซ้อมความเข้าใจแก่บุคลากรในสังกัดทุกคน เพื่อให้ทุกคนเกิดองค์ความรู้ และมีแนวทางการปฏิบัติตนเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ถูกต้อง
6. จัดเตรียมอุปกรณ์
ในการฝึกซ้อมจำเป็นต้องมีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นอุปกรณ์ ที่ใช้จริง อาทิ ป้ายจุดรวมพล ป้ายแสดงจุดต่างๆ กล่องปฐมพยาบาล กระดานสำหรับจดรายชื่อผู้ประสบภัยที่บาดเจ็บ หรือสูญหาย และอุปกรณ์สาหรับการแสดงบทบาทสมมติ เช่น ป้ายแขวนคอสำหรับระบุอาการผู้บาดเจ็บ เพื่อให้ฝ่ายพยาบาลจำแนกการให้ความช่วยเหลือได้ถูกต้อง น้ำแดงแทนเลือด เป็นต้น หรืออุปกรณ์อื่นๆ ตามที่เห็นสมควร
7.ซ้อมจริง...ทำจริง...รู้จริง
หลังจากซักซ้อมความเข้าใจของทุกฝ่ายให้ตรงกันแล้ว (ฝึกซ้อมแผนอพยพบนโต๊ะ Table Top Exercise : TTX) ก็ถึงคราวการฝึกซ้อมอพยพแบบเต็มรูปแบบ (Full Scale Exercise : FSX) โดยมีการจำลองสถานการณ์ให้สมจริงและลงมือตอบโต้สถานการณ์ตามที่นัดหมายกันไว้ ทั้งนี้ สพป.ลาพูน เขต 2 ได้จัดการฝึกซ้อมอพยพตามแผนป้องกันฯ โดยมีผู้อำนวย สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ร่วมฝึกซ้อม เป็นผู้อานวยการสถานการณ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตาบลบ้านโฮ่ง เป็นผู้อานวยการท้องถิ่น และนายอาเภอบ้านโฮ่ง เป็นผู้อำนวยการอำเภอ