[x] ปิดหน้าต่างนี้
KMOBECMAXSITE 1.2.1
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
เรื่อง : รายงานผลการพัฒนาครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ต (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้กระบวนการนิเทศเชิงระบบ


TOP HIT
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

- การใช้หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 [ 6918 ]
- ผลการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ [ 2104 ]
- รายงานการนิเทศ ติดตามผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE [ 1951 ]
- รายงานผลการพัฒนาครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ต (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้กระบวนการนิเทศเชิงระบบ [ 1833 ]
- การนิเทศครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อยกระดับการเรียนการสอน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สพป.ลำพูน เขต 2 [ 1062 ]

 ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ต (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้กระบวนการนิเทศระบบ ผู้เขียน นายธนากร อาทะเดช ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ปีพุทธศักราช 2557 บทคัดย่อ รายงานผลการพัฒนาครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ต (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้กระบวนการนิเทศเชิงระบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อ รายงานผลที่ได้จากการศึกษา ผลการพัฒนาครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ต เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ผลการศึกษาความคิดเห็นในด้านเจตคติ ปัจจัยส่งเสริมสนับสนุน และปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ต เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการนิเทศการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ต โดยใช้กระบวนการนิเทศเชิงระบบ รวมถึงผลการศึกษาความรู้ ทักษะและพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการบูรณาการใช้แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จำนวนทั้งสิ้น 98 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จำนวนทั้งสิ้น 1,305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ หลักสูตรและคู่มือการอบรมปฏิบัติการพัฒนาครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ต เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมฯ แบบนิเทศติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานและสังเกตการสอน แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความพึงพอใจของครู และแบบประเมินความรู้ ทักษะและพฤติกรรมของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป นำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบคำบรรยาย ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการศึกษาการพัฒนาครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ต (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 พบว่า การทดสอบความรู้ของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการอบรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการอบรมคิดเป็นร้อยละ 97.42 ผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้านการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ และด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการใช้แท็บเล็ต ในการจัดการเรียนการสอน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ต เพื่อยกระดับการเรียนการสอน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในด้านเจตคติ ปัจจัยส่งเสริม สนับสนุนและปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ต (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 พบว่า ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ส่วนมากมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แท็บเล็ต ปัจจัยส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ตที่สำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร การปรับปรุงระบบอินเทอร์เน็ต การสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรสำหรับการจัดการเรียนการสอน รวมถึงการพัฒนาระบบการนิเทศ ติดตามอย่างต่อเนื่อง ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ ครูไม่มีแท็บเล็ต สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ดี ขาดงบประมาณในการซ่อมบำรุง แท็บเล็ตใช้เวลาชาร์ตนาน ใช้งานยาก เกมส่งเสริมการศึกษาในแท็บเล็ตมีน้อยเกินไป และนักเรียนบางส่วนยังขาดทักษะและไม่ระมัดระวังในการใช้แท็บเล็ต 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการนิเทศการจัดการเรียนรู้ด้านบูรณาการใช้แท็บเล็ต (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้กระบวนการนิเทศเชิงระบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการศึกษาความรู้ ทักษะและพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการบูรณาการใช้แท็บเล็ต (Tablet) เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความรู้และทักษะ โดยภาพรวม อยู่ในระดับดี นักเรียนมีพฤติกรรมในการเรียนรู้ที่ดีขึ้น โดยมีความกระตือรือร้น สนใจและขยันเรียนเพิ่มมากขึ้น กล้าซักถามเมื่อไม่เข้าใจบทเรียน มีความสามารถในการอ่านและสะกดคำได้ถูกต้องมากขึ้น 

 

ผู้เขียน : ธนากร อาทะเดช
หน่วยงาน : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 
ศุกร์ ที่ 31 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2557
เข้าชม : 6019 

| เข้าชม : 1832 |
ผู้เขียน : พงศ์พล ห่อตระกูล
หน่วยงาน : สพป.ลำพูน เขต 2
พฤหัสบดี ที่ 19 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558
3 stars เฉลี่ย : 3 จาก 696 ครั้ง.


เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์จัดการความรู้
สิทธิของสมาชิก สามารถบันทึกขุมความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดาวน์โหลดได้