1. ชื่อผลงาน การดำเนินงานการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคลนักเรียนโรงเรียนเอกชน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
2. ระยะเวลาที่ดำเนินการ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559
3. ความรู้ทางวิชาการหรือแนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 มีโรงเรียนเอกชนในระบบตั้งอยู่
ในเขตพื้นที่จำนวน 6 โรงเรียน จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอลี้ อำเภอทุ่งหัวช้าง และอำเภอเวียงหนองล่อง ขึ้นตรงต่อกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน ซึ่งเป็นส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการแบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน 2553 และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายใน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546 เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานให้สถานศึกษา
เอกชน จัดการศึกษาได้ตามศักยภาพเป็นไปตามนโยบายและมาตรฐานการจัดการศึกษาของรัฐบาลมีอำนาจ
หน้าที่ดังนี้
1. กำกับ ดูแล ประสาน ส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
2. ดำเนินการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนและการเปลี่ยนแปลงกิจการโรงเรียนเอกชน
3. ดำเนินการเกี่ยวกับการสงเคราะห์ และเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและกฎหมายอื่นกำหนด
4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
การส่งเสริมและสนับสนุนการอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคลของโรงเรียนเอกชนในสังกัด เป็น
มาตรการในการดำเนินงานอย่างหนึ่งที่ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การบริหารจัดการด้านงบประมาณระหว่าง
หน่วยงานภาครัฐและสถานศึกษาเอกชน มีประสิทธิภาพ และความคล่องตัวได้มากขึ้น โดยส่งเสริมให้เกิด
ความเชื่อมโยงด้านการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2
กับโรงเรียนเอกชนในสังกัด ที่ได้ขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุนให้มีการดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง
และมีประสิทธิภาพ
การดำเนินงานด้านการอุดหนุนเป็นเงินค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนโรงเรียนเอกชน รัฐบาล
มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาเอกชนในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดมา เช่น การอุดหนุนด้าน
วิชาการ ด้านสื่ออุปกรณ์ ด้านบุคลากร และด้านการเงิน โดยเฉพาะการอุดหนุนด้านการเงินแก่โรงเรียน
เอกชนที่จัดการศึกษาประเภทสามัญศึกษานั้น ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัย
มาโดยตลอด จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนแปลงการอุดหนุนจากเงินสมทบ
เงินเดือนครูใหญ่และครู เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว และเงินเพิ่มวุฒิ มาเป็นการอุดหนุนเป็นเงินค่าใช้จ่าย
รายบุคคลนักเรียน ตามรูปแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยอาศัยมติคณะรัฐมนตรีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ
อุดหนุน
5. สรุปสาระและขั้นตอนการดำเนินการ
การดำเนินงานการขอรับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคล มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานจำนวน 3 ขั้นตอนคือ 1. การขอรับเงินอุดหนุนรายปี (ข้อมูล 10 มิถุนายน ) 2. การขอเบิก
จ่ายเงินอุดหนุนรายเดือน และ 3 การนิเทศติดตามการดำเนินเงินอุดหนุน โดยมีรายละเอียดดังนี้
5.1 การขอรับเงินอุดหนุนรายปี (ปีละ 1 ครั้ง)
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 การขอเข้าใช้งานระบบ PSIS โดยโรงเรียนหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จัดทำคำสั่งแต่งตั้งผู้ใช้งานในระบบสารสนเทศสถานศึกษาและการบริหารจัดการเงินอุดหนุน (PSIS) แจ้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เพื่อขอเข้าใช้งานระบบภายในระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด
1.2 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน แจ้งรหัสผู้ใช้งานและรหัสผ่านให้สถานศึกษา หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทางอีเมล์ psis.opec@hotmail.com เพื่อให้เข้าใช้งานในระบบได้
1.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งโรงเรียนเอกชนดำเนินการจัดทำข้อมูล โรงเรียน ครู
บุคลากรและนักเรียนผ่านระบบสารสนเทศสถานศึกษาและการบริหารจัดการเงิน
อุดหนุน (PSIS) โดยใช้ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2559
2. ขั้นดำเนินการ
2.1 โรงเรียนเอกชนบันทึกข้อมูลโรงเรียน ครู บุคลากร และนักเรียนผ่านระบบสารสนเทศ
สถานศึกษาและการบริหารจัดการเงินอุดหนุน (PSIS)
2.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องใน
ระบบ PSIS ให้กับโรงเรียนเช่น บันทึกผู้รับใบอนุญาตหรือผู้แทนผู้รับใบอนุญาต
เลขที่บัญชีธนาคาร ผู้รับมอบอำนาจ ใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ยืนยันนักเรียนพิการ
ตัดสินนักเรียนซ้ำซ้อนที่ยังไม่ได้ข้อยุติ
2.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
โรงเรียน ครู บุคลากรและนักเรียนในระบบ หากพบข้อผิดพลาดแจ้งให้โรงเรียนแก้ไข
เมื่อข้อมูลถูกต้องแล้ว ให้โรงเรียนประมวลผล จัดทำรายงานตามแบบ อน.ต่าง ๆ ส่ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
2.4 โรงเรียนเอกชน จัดทำคำร้องตามแบบคำร้องขอรับเงินอุดหนุน (อน.1-3) และ
เอกสารประกอบต่าง ๆ เช่นใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ผู้รับใบอนุญาต ใบอนุญาต
ต่าง ๆ หลักฐานยืนยันความพิการ
3. ขั้นสรุปผลการดำเนินงาน
3.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สรุปรวบรวมข้อมูลโรงเรียน จำนวนนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนตามแบบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนของโรงเรียน
3.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา วิเคราะห์และตรวจสอบแบบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนของโรงเรียน (อน.1-3) และเอกสารประกอบกับระบบ PSIS สรุปจำนวนโรงเรียน จำนวนนักเรียน ที่มีสิทธิรับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคลประจำปีการศึกษา 2559 (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2559) ตามแบบที่สำนักงาน
กำหนด และรายงานภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2559
5.2 การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคลรายเดือน
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำหนดปฏิทินการจัดทำข้อมูล
ประกอบการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนประจำเดือน ตามที่สำนักงานกำหนด
1.2 โรงเรียนจัดทำข้อมูลโรงเรียน ครู บุคลากร และนักเรียน ผ่านระบบสารสนเทศ
สถานศึกษาและการบริหารจัดการเงินอุดหนุน ทุกเดือน
2. ขั้นดำเนินการ
2.1 โรงเรียนบันทึกข้อมูลประจำเดือนตามแบบ PSIS ประมวลผลทุกวันสิ้นเดือน
2.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลความต้องการ
ในระบบสารสนเทศโรงเรียน
1.2 โรงเรียนจัดทำคำร้องขอรับเงินอุดหนุนตามระบบ (แบบคำร้อง อน.4 – 6) และ
เอกสารประกอบ ส่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตามกำหนดเวลา
1.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สรุปจำนวนนักเรียน จำนวนเงิน
ประจำเดือน รายงานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เพื่อพิจาณา
จัดสรรงบประมาณทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน
1.4 เมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บันทึก
ขออนุมัติเบิกจ่ายงบประมาณจากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษา ไม่เกินวันที่ 25 ของทุกเดือน
1.5 เมื่อได้รับการอนุมัติเบิกจ่ายงบประมาณแล้ว มอบให้กลุ่มบริหารการเงินและ
สินทรัพย์ เป็นผู้ดำเนินการโอนเงินให้โรงเรียน
3. ขั้นสรุปผลการดำเนินงาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา รายงานผลการเบิกจ่ายประจำเดือนให้
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป
5.3 การนิเทศติดตามการดำเนินงานเงินอุดหนุนรายบุคคล
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจ ติดตาม การใช้จ่ายเงินอุดหนุน จำนวน 1 คณะ
1.2 จัดทำเครื่องมือในการตรวจติดตามการใช้เงินอุดหนุนโรงเรียนเอกชนปีงบประมาณ
พ.ศ.2559 จัดเตรียมระเบียบ/เอกสาร/แนวปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการและ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการไปตรวจติดตาม
การใช้เงินอุดหนุนโรงเรียน
1.3 กำหนดปฏิทินการตรวจ ติดตามให้ทุกโรงเรียนทราบล่วงหน้าตามระบบ E-filling
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 เพื่อให้โรงเรียนได้
จัดเตรียมเอกสารพร้อมรับการตรวจติดตาม
2. ขั้นดำเนินการ
คณะกรรมการ ดำเนินการออกตรวจ ติดตาม ตามปฏิทินที่กำหนด ทุกโรงเรียน
ตามขั้นตอนดังนี้
2.1 การตรวจสอบคุณสมบัติของโรงเรียน
1. ชื่อโรงเรียน ที่ตั้ง ประเภท ลักษณะ และใบอนุญาตของโรงเรียน/ตราสารของโรงเรียน
2. ชื่อผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ผู้อำนวยการของโรงเรียน
3. ระดับชั้นที่เปิดสอนและระดับชั้นที่ขอรับการอุดหนุน
4. การอนุญาตให้รับนักเรียนตั้งแต่อายุ.........ปี ถึง..........ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา...........
5. ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นที่โรงเรียนประกาศใช้
6. ความจุนักเรียน จำนวนนักเรียนรวมทั้งหมดจะต้องไม่เกินความจุของโรงเรียน
ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต/ตราสาร
7. ตรวจเอกสารเกี่ยวกับโรงเรียน
2.2 การตรวจสอบคุณสมบัติของนักเรียน
1. ตรวจแบบรายงานจำนวนนักเรียนและจำนวนครู จาก อน.2
2. ตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนนักเรียน ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2559
3. การปรับลดจำนวนนักเรียน ให้กระทำได้โดยบันทึกความจำเป็นของคณะกรรมการ และจัดทำแบบสรุปจำนวนนักเรียนที่ปรับลด เสนอสำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
3. ขั้นสรุปประเมินผล
1. ในเบื้องต้นของการสรุปผลการตรวจติดตาม จะเชิญผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนหรือ
ผู้อำนวยการโรงเรียน รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานเงินอุดหนุน มาร่วมรับฟังสรุปผลการตรวจ
ติดตาม เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานของโรงเรียน ทั้งนี้ สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาจะจัดทำรายละเอียดผลการตรวจติดตามแจ้งให้โรงเรียนทราบ
เป็นอีกครั้งหนึ่ง
2. รวบรวมแบบตรวจและรายงานผลการตรวจติดตามโรงเรียนเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุน โดยนำแบบตรวจติดตามการขอรับเงินอุดหนุนและการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของโรงเรียนมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นภาพรวมรายโรงเรียน เพื่อจัดทำรายงานผลการตรวจติดตามแจ้งกลับไปโรงเรียนและรายงานผู้บังคับบัญชา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตรวจติดตามโรงเรียนในครั้งต่อไป
3. สรุปปัญหา อุปสรรค ในการตรวจติดตามการใช้เงินอุดหนุนโรงเรียนเอกชน
5. ผู้ร่วมดำเนินการ
-
6. สัดส่วนของงานที่ผู้เสนอเป็นผู้ปฏิบัติ
6.1 ผู้เสนอผลงาน เป็นผู้ปฏิบัติงานในฐานะผู้รับผิดชอบงานการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนค่าใช้จ่าย
รายบุคคลนักเรียนโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน
เขต 2 สัดส่วน 100%
6.2 ผู้เสนอผลงาน ปฏิบัติงานในตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ ได้รับมอบหมายให้
รับผิดชอบงานเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคลนักเรียนโรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จำนวน 6 โรงเรียน จำนวนเงินที่เบิกจ่ายเงิน
อุดหนุนในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 เป็นจำนวนเงิน 19,925,946.58 บาท
(สิบเก้าล้านเก้าแสนสองหมื่นห้าพันเก้าร้อยสี่สิบหกบาทห้าสิบแปดสตางค์) คิดเป็นร้อยละ
100 โดยเบิกจ่ายถูกต้อง ตามระเบียบ และรายงานผลการเบิกจ่ายให้สำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นประจำทุกเดือน
7. ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ)
เชิงปริมาณ
1. ตรวจสอบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคลนักเรียน พร้อมเอกสารประกอบอื่น ๆ ประจำปี พ.ศ.2559 จำนวน 6 โรงเรียน
2. ตรวจสอบคำร้องขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคลนักเรียน เป็นประจำทุกเดือน จำนวน 12 เดือน 6 โรงเรียนๆ ละ 1 ชุด รวม 72 ชุด
3. โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ที่ขอรับเงินอุดหนุน จำนวน 6 โรงเรียน แยกเป็น
3.1 ระดับก่อนประถมศึกษา จำนวน 2 โรงเรียน
3.2 ระดับก่อนประถมและระดับประถมศึกษา จำนวน 4 โรงเรียน
4. จำนวนนักเรียนที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคล(ข้อมูล 10 มิถุนายน 2559)
จำนวน 1,659 คน แยกเป็น
4.1 ระดับก่อนประถมศึกษาปกติ จำนวน 626 คน , พิการ จำนวน 1 คน
4.2 ระดับประถมศึกษาปกติ จำนวน 1,031 คน , พิการ จำนวน 1 คน
5. จำนวนเงินที่ได้รับการจัดสรร งบประมาณปี พ.ศ.2559 (ตุลาคม 2558–กันยายน 2559)
จำนวน 19,925,946.58 บาท (สิบเก้าล้านเก้าแสนสองหมื่นห้าพันเก้าร้อยสี่สิบหกบาท-
ห้าสิบแปดสตางค์)
6. ได้นิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินงานเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคล ครบทุกโรงเรียน
จำนวน 6 โรงเรียน
เชิงคุณภาพ
1. เอกสารคำร้องขอรับเงินอุดหนุน ทั้งรายปี และรายเดือน พร้อมเอกสารประกอบของโรงเรียนเอกชนทุกโรงเรียนถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปตามกำหนดเวลา และเป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จัดส่งข้อมูลจำนวนโรงเรียน จำนวนนักเรียนที่มีสิทธิ์ขอรับเงินอุดหนุน ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ตามระยะเวลาที่กำหนด (ส่งประจำปีภายในวันที่ 10 กรกฎาคม ของปี และประจำเดือนส่งทุกวันที่ 10 ของเดือน)
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 มีข้อมูลนักเรียนโรงเรียนเอกชนที่เป็นปัจจุบัน ถูกต้อง ตรงตามระบบข้อมูลนักเรียนในระบบสารสนเทศโรงเรียนเอกชน PSIS
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ดำเนินการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนและโอนเงินอุดหนุนเข้าบัญชีโรงเรียนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ภายใน 5 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับโอนเงินจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
5. ผลการนิเทศ ติดตาม เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคล พ.ศ.2558 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชน
เป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559
8. การนำไปใช้ประโยชน์
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
1. ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเงินอุดหนุน ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับโรงเรียนเอกชนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เกิดความคล่องตัวและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ใช้กำกับ ติดตาม การดำเนินงานเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับโรงเรียนเอกชน ของผู้บริหารระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งในระดับโรงเรียนและระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาได้อย่างถูกต้องตามระเบียบ กฎหมายที่กำหนด
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ปฏิบัติงานตามขอบข่ายภารกิจงานในการประสาน ส่งเสริมและสนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 มีข้อมูล สารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาเอกชนในสังกัด ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อหน่วยงานได้
5. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สามารถนำข้อมูลไปจัดทำรายละเอียดแผนการใช้จ่ายเงินอุดหนุน เพื่อให้ทราบจำนวนเงินงบประมาณรายจ่าย หมวดเงินอุดหนุนการศึกษา งานสนับสนุนด้านการเงินแก่สถานศึกษาเอกชนทุก
โรงเรียน ในปีงบประมาณถัดไป เสนอสำนักงบประมาณ
ระดับโรงเรียนเอกชน
1. การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคลนักเรียน มีความถูกต้อง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และดำเนินการได้ตามระเบียบ และแนวปฏิบัติที่วางไว้
2. โรงเรียนเอกชนได้รับการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคลนักเรียน เป็นประจำทุกเดือน สามารถนำเงินอุดหนุนไปใช้จ่ายในการบริหารกิจการโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง และตรงตามวัตถุประสงค์
3. โรงเรียนนำเงินค่าใช้จ่ายรายบุคคลนักเรียน ไปจ่ายเป็นเงินเดือนครู
4. ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องในโรงเรียนเอกชน ใช้เป็นฐานข้อมูลด้านการบริหารงบประมาณ ใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผนการขอรับการสนับสนุนงบประมาณในปี
ถัดไปได้
9. ความยุ่งยากในการดำเนินการ /ปัญหา/อุปสรรค
1. ระบบสารสนเทศและการบริหารจัดการเงินอุดหนุน(PSIS) ไม่เสถียรเปลี่ยนแปลงบ่อย
และต้องทำงานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการ
ส่งเสริมการศึกษาเอกชน เนื่องจากมีผู้เข้าใช้บริการจำนวนมากทำให้ระบบงานช้า การ
ประมวลผลช้า หรือระบบขาดหายออกจากระบบ มีผลต่อระยะเวลาในการจัดทำข้อมูล
ของโรงเรียนและผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการตรวจสอบข้อมูลของ
โรงเรียนเอกชนจากระบบงาน
2. ครู/บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนบางส่วน ขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน
เงินอุดหนุนรายบุคคล
3. ครู/บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน มีการย้าย ลาออก หรือสับเปลี่ยนการทำงานบ่อยครั้ง ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน
4. ครู/บุคลากร ที่ปฏิบัติงานเรื่องเงินอุดหนุนรายบุคคลโรงเรียน มีภาระการสอนและหน้าที่อื่นค่อนข้างมาก จึงทำให้การบันทึกข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน เช่นการย้ายออกของนักเรียนต้องบันทึกภายในวันที่จำหน่ายนักเรียนออก แต่ครูจะทำการบันทึกการเปลี่ยนแปลงในวันเวลาอื่น ๆ
5. นักเรียนมีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา (เข้า/ออก) ทุกเดือน
6. ปัญหาความซ้ำซ้อนของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนกับโรงเรียนในสังกัดของรัฐ ตรวจสอบโดยศูนย์เทคโนโลยีและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พบปัญหาความซ้ำซ้อน
7. ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนบางโรงเรียน ขาดการกำกับ ติดตามตามปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเงินอุดหนุนอย่างจริงจัง เกิดผลกระทบต่อการบริหารโรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
10. ข้อเสนอแนะ
1. ด้านการดำเนินงานขั้นตอนและกระบวนการงานเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคล
ผู้ปฏิบัติงานทั้งในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและโรงเรียน ควรมี
การศึกษาทำความเข้าใจในข้อกำหนดด้านกฎหมาย ระเบียบ/ประกาศ/คำสั่ง/เงื่อนไข และ
แนวปฏิบัติที่ใช้ในการดำเนินงานอยู่เสมอ และทำการรวบรวมเป็นเอกสารโดยเฉพาะ เพื่อ
ความสะดวกและง่ายต่อการนำไปใช้ อีกทั้งเพื่อให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จและมี
ประสิทธิภาพสูงสุด
2. ด้านระบบสารสนเทศสถานศึกษาและการบริหารจัดการเงินอุดหนุน (PSIS) สำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ควรปรับปรุงโครงสร้างของระบบให้มีความเสถียร
มากขึ้น เช่นมีการประมวลผลเร็วขึ้น บันทึกอัตโนมัติทันทีหลังกรอกข้อมูลเสร็จ แก้ไข
ข้อมูลได้ตลอดเวลาบันทึกแบบ Real time จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์/แม่ข่ายและ
อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อรองรับปริมาณของผู้เข้าใช้งาน
3. รัฐควรสนับสนุนเงินอุดหนุนให้ใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายจริงหรือเทียบเท่ากับโรงเรียน
ของรัฐบาล
4. รัฐควรส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนภาคเอกชน
ในการจัดการศึกษา ตลอดจนเข้าไปมีบทบาทร่วมในการส่งเสริมการบริหารจัดการที่เป็น
บทบาทขององค์กร เช่น การสนับสนุนงบประมาณ หรือบุคลากรที่มีความสามารถ
เฉพาะทางจากหน่วยงาน
5. รัฐควรจัดสรรค่าใช้จ่ายในด้านการซื้อบริการระบบ Internet ให้กับโรงเรียนเอกชนด้วย
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสัญญาณ Internet ให้เร็วและแรงขึ้น
6. การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ตามระบบการบริหารงบประมาณการเบิกจ่ายเงินอุดหนุน
ควรเพิ่มความถี่ในการจัดการอบรม และจัดตามภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อความสะดวก
ข้อเสนอแนวคิด/วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เรื่อง การพัฒนาองค์กรเพื่อเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศ (excellence organization)
การพัฒนาองค์กรเพื่อเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศ (excellence organization) หรือที่เรียกว่า
องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization : HPO) หมายถึง องค์กรที่เก่งในการทำงานมีแผนรองรับกับสภาวะต่าง ๆ อย่างชัดเจน มีการวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการทำงานด้านต่างๆ
มุ่งเน้นการปฏิบัติภารกิจให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามเวลาผลงานดีมีคุณภาพเยี่ยมและเป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้ องค์กรสมรรถนะสูง ประกอบด้วย 7 มิติ กล่าวคือ 1) การนำองค์กร 2) การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ 3) การให้ความสำคัญกับผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) การวัด การวิเคราะห์ การจัดการความรู้ 5) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 6) การจัดการกระบวนการ และ
7) ผลลัพธ์การดำเนินการ
การจะนำพาองค์กรไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง (HPO) องค์กรจำเป็นต้องเข้าใจ
ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กร จึงจะสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) โดยมีการจัดทำแผนพัฒนาไปปฏิบัติได้ พร้อมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติตามแผน หากปฏิบัติแล้วดีให้พัฒนาต่อไปแต่เมื่อนำมาปฏิบัติแล้วมีปัญหาต้องแก้ไขปัญหาโดยการปรับแผนแล้วนำแผนนั้นไปปฏิบัติ คือมีการวางแผนแล้วนำแผนไปปฏิบัติ และประเมินผล ถ้าดีนำไปปฏิบัติต่อและพัฒนา
ต่อไป หากมีปัญหาต้องทำการแก้ไขปรับปรุงแผนแล้วจึงนำไปปฏิบัติ (Plan Do Check Act)
ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ให้เป็น
องค์กรแห่งความเป็นเลิศ และมีการจัดกระบวนงานที่เป็นระบบ จนเกิดผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการนำผลการดำเนินงานมาพัฒนาการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง ข้าพเจ้าฯ ในฐานะผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จึงมีข้อเสนอแนวคิดในการพัฒนางานหรือปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยมีกระบวนการ
และขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนดำเนินงาน (Plan : P)
1. ศึกษา วิเคราะห์ แนวทางการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มาตรฐานตัวบ่งชี้ กรอบการติดตาม หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผล รวมถึงภารกิจอำนาจหน้าที่ของกลุ่มในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2. นำผลการวิเคราะห์ตามข้อ 1. มาวางแผนและกำหนดแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานเขตพื้นที่การศึกษา โดยการจัดทำเป็นคู่มือแนวการดำเนินงาน
ตามมาตรฐานเขตพื้นที่การศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการ (DO : D)
1. กำหนดเป้าหมายและผลผลิตที่คาดหวัง สอดคล้องกับบริบทสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษา นโยบายเป้าหมายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และอื่นๆ
2. จัดทำรายละเอียด (ร่าง) คู่มือแนวการดำเนินงานตามมาตรฐานเขตพื้นที่
การศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ประกอบไปด้วยคำอธิบายชี้แจงความหมาย เกณฑ์การประเมิน โดยเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดและแนวทางการประเมินที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน
เขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560 เพื่อมุ่งเน้นหลักการ “หลอมรวมและบูรณาการร่วมกัน”
3. สื่อสารและสร้างความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานตามคู่มือฯ ที่ได้จัดทำ
ขึ้นเพื่อให้คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบ มีความรู้ความเข้าใจและ ตระหนักถึงความสำคัญของมาตรฐาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
4. ส่งเสริมให้บุคลากร และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา มีความรู้และทักษะในการวางแผนก่อนการปฏิบัติงาน เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรและเจ้าหน้าที่ เกิดกระบวนการคิดอย่างมีระบบและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการวางแผนงานก่อนการปฏิบัติงาน นำไปสู่การปฏิบัติส่งผลการดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เพิ่มสูงขึ้น โดยยึดหลัก “หลอมรวมและบูรณาการร่วมกัน”
5. กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานให้คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบขับเคลื่อน
ดำเนินการรายงานผลตามปฏิทินปฏิบัติงานที่กำหนด
6. ติดตาม กำกับ การดำเนินงานของบุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ให้
เป็นไปตามคู่มือแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเขตพื้นที่การศึกษา ให้บรรลุตามเป้าหมายและผลผลิตที่คาดหวัง
7. เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามแนวทางการดำเนินงานตาม
มาตรฐานเขตพื้นที่การศึกษา ที่สามารถปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ อาทิ การยกย่องเชิดชูเกียรติ การนำผล
การปฏิบัติงานดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาความดีความชอบ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบ (CHCEK : C)
1. ประเมินตนเองและจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ( Self Assessment
Report : SAR ) และผลผลิตที่ประสบผลสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2. สรุปประเด็นปัญหาในการดำเนินงานตามคู่มือแนวทางการดำเนินงานตาม
มาตรฐานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ไม่สามารถดำเนินการตามที่กำหนด รวมทั้งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
เป้าหมายและผลผลิตที่คาดหวัง
ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงและพัฒนา (ACTION : A)
1. นำผลการสรุปและรายงานผลตามขั้นตอนที่ 3 มาศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ หา
ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและเงื่อนไขในการดำเนินงานตามผลการประเมินตนเอง(Self Assessment Report : SAR ) ตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นข้อมูลย้อนกลับ( Feed Back ) เป็นข้อมูลฐาน
( Based Line Data ) สำหรับการปรับปรุง/พัฒนาการบริหารจัดการมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา และแผนการพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน
การพัฒนาองค์กรเพื่อเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศ (excellence organization) สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการ ตัวชี้วัดที่ 13 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระดับดีขึ้นไป ตัวชี้วัดที่ 14 หน่วยงานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีผลการประเมินตามคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับดีมากขึ้นไป สนองกลยุทธ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา องค์ประกอบที่ 3 ด้านประสิทธิภาพการบริหารการศึกษา จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ค่าคะแนนในการประเมินตนเองในแต่ละมาตรฐาน และแต่ละตัวบ่งชี้ มีพัฒนาการที่ดีขึ้น หรือสามารถรักษามาตรฐานเดิมที่ดีอยู่แล้วไว้ได้ และรวมถึงนโยบายด้านการบริหารกิจการบ้านเมือง
ที่ดี : Good Governance
การนำไปปฏิบัติได้จริง
1. ใช้เป็นคู่มือแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งประกอบไป
ด้วยคำอธิบายชี้แจงความหมาย เกณฑ์การประเมิน โดยเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดและแนวทางการประเมินที่กำหนดไว้ในมาตรฐานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560 เพื่อมุ่งเน้นหลักการ “หลอมรวมและบูรณาการ
ร่วมกัน”
2. ใช้เป็นแนวทางในการประเมินตนเองรวมทั้งการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่กำหนดเป้าหมายและผลผลิตที่คาดหวังตามบริบทของสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2 ได้อย่างชัดเจน